ป.ป.ช. สงขลา ปักหมุดพื้นที่เสี่ยง ปัญหาการบุกรุกโบราณสถานเมืองสงขลาเก่า
วันที่ 12 มีนาคม 2568 นายราม วสุธนภิญโญผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสงขลา เป็นประธานใน กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการปักหมุดพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริตในพื้นที่จังหวัดสงขลา กรณีการบุกรุกพื้นที่โบราณสถานเมืองสงขลาเก่า ณ ห้องควีนส์เอ โรงแรมลากูน่า แกรนด์ แอนด์สปา สงขลา ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาทิ สำนักงานศิลปากรที่ 11 สำนักงานเทศบาลเมืองสิงหนคร สำนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา สาขาสิงหนคร ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสงขลา สำนักงาน ป.ป.ท. ภาค 9 สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 13 (สงขลา) กอ.รมน.จังหวัดสงขลา สถานีตำรวจภูธรสิงหนคร สอบสวนคดีพิเศษ และเครือข่ายภาคประชาชน
จากการประชุมดังกล่าว ปรากฏข้อเท็จจริงจากสภาพปัญหาว่า การบุกรุกเขตโบราณสถานเมืองสงขลาเก่า ปรากฏการบุกรุกลักษณะดังนี้
1. บริเวณป้อมหมายเลข 9 และเจดีย์เขาน้อย พบการบุกรุกที่ดินทำประโยชน์ โบราณสถานเขาน้อย (ใกล้ป้อม 9) มีการบุกรุกเพื่อเข้าทำประโยชน์ และขุดดินนอกเหนือจากเขตครอบครองตามโฉนดที่ดิน และโบราณสถานเขาแดง พบการบุกรุกลักลอบขุดทำลายและปรับไถส่วนของภูเขาเป็นทางเดินรถ มีจุดเริ่มต้นใกล้เคียงกับต้นทางขึ้นไปยังพื้นที่ขออนุญาตก่อสร้างสถานีเรดาร์ของกองทัพเรือ โดยลักลอบก่อสร้างเป็นทางประชิดแนวเขตของกองทัพเรือขึ้นไปตามไหล่เขา ซึ่งกรณีดังกล่าวอยู่ระหว่างการดำเนินการกระบวนการยุติธรรม อีกทั้งพบการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ และการก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้ขออนุญาตจากอธิบดีกรมศิลปากร ซึ่งอยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณา
2.บริเวณป้อมเมืองสงขลา 1 -3 พบการบุกรุกลักษณะ ก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยในลักษณะถาวรและไม่มีเอกสารสิทธิ์ ในแนวเขตโบราณสถาน ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ราชพัสดุ โดยสำนักงานธนารักษ์จังหวัดสงขลาอยู่ระหว่างการดำเนินการตรวจสอบ
3.บริเวณป้อมเมืองสงขลา 7 มัสยิดสุลต่านสุลัยมานชาห์ ป้อมเมืองสงขลา 8 พบการบุกรุกพื้นที่ภายใต้แนวเขตโบราณสถาน ลักษณะการก่อสร้างอาคาร ร้านค้า ที่อยู่อาศัยโครงสร้างถาวรโดยไม่มีเอกสารสิทธิ์
อนึ่ง การจะก่อสร้างอาคารในเขตโบราณสถานและการจะซ่อมแซมหรือดำเนินการใด ๆ กับตัวโบราณสถานหรือส่วนต่าง ๆ ของโบราณสถาน จะต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีผู้มีอำนาจตามกฎหมายก่อน (พรบ. โบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ พ.ศ. 2535 )
ประเด็นปัญหาการบุกรุกพื้นที่แนวเขตโบราณสถาน สะท้อนให้เห็นถึงการบังคับใช้ พ.ร.บ.โบราณสถานฯ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องและทับซ้อนกัน ดังนั้นเพื่อให้กฎหมายศักดิ์สิทธิ์ จะต้องให้ความเป็นธรรมที่สุดทั้งกับแหล่งโบราณสถาน และผู้ต้องสงสัย กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งการคำนึงถึงการบังคับใช้กฏหมายในบริบทของแต่ละหน่วยงานอย่างเคร่งครัด เพื่อเร่งยุติปัญหาโดยเร็ว จากนั้นจึงคำนึงถึงการลดผลกระทบต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง กำหนดมาตรการฟื้นฟู การแก้ปัญหาอย่างผ่อนหนักให้เป็นเบา และกำหนดมาตรการในการป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโบราณสถาน อีกทั้ง การจัดการกับกลุ่มผู้มีอิทธิพล รวมถึงประชาชนที่ยังไม่เข้าใจคุณค่าของการอนุรักษ์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องการทำงานเชิงรุกเพื่อสื่อสารกับประชาชนในพื้นที่ให้มากขึ้น และรับทราบว่าในพื้นที่ของตนอยู่ในเขตโบราณสถาน เมื่อเห็นคุณค่าก็จะนำไปสู่การอนุรักษ์อย่างยั่งยืน
นอกเหนือจากนี้ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งที่หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันทบทวนอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานตนเอง เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมนี้ ซึ่งเกิดจากปัญหาของโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมที่สั่งสมมายาวนาน โดยเฉพาะระบบอุปถัมภ์และระบบพวกพ้องในพื้นที่ จนทำให้ระบบผู้มีอิทธิพลยิ่งใหญ่เหนือกฎหมายและความถูกต้อง การจะแก้ไขเรื่องนี้จึงไม่ง่าย สำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดสงขลา จึงร่วมกับทุกภาคส่วน เพื่อให้ได้คำตอบของเรื่องนี้ที่ชัดเจนเพื่อวางมาตรการแก้ไขในอนาคต
สทิงพระ | ในหลวงฯ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล 7 วัน
17 มีนาคม 2568 | 2,791หาดใหญ่ | เจ้าบ้านผวา! โจรย่องงัดบ้านกลางวันแสกๆ
17 มีนาคม 2568 | 9,731สงขลา | ชมรม STRONG ต้านทุจริตเผยข้อมูล 3.6 ล้าน
17 มีนาคม 2568 | 5,224สะเดา | กระบะขนแรงงานเถื่อนซิ่งหนีด่าน ปล่อยทิ้งแรงงานพม่า 6
17 มีนาคม 2568 | 3,261หาดใหญ่ | เปิดใจคนขับช่วยยายขณะได้ยินเสียงตะโกน
17 มีนาคม 2568 | 5,669ปัตตานี | รองโฆษก กอ.รมน.ภาค 4 ชี้แจงกรณีนัดส่งตัว 5
16 มีนาคม 2568 | 4,808สงขลา | จับแล้ว! โจรดึงขโมยสายไฟใส่กระสอบไปขายหน้ารพ.เก่าสงขลา
16 มีนาคม 2568 | 5,142หาดใหญ่ | รพ.หาดใหญ่จัดกิจกรรมเดิน-วิ่งการกุศล “Smart Heart Forever
16 มีนาคม 2568 | 5,121