หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

ข่าวเศรษฐกิจและการเงิน

สงขลา | 10 อันดับโรงพยาบาลภาคใต้ขาดทุนสะสมมากที่สุด รพ.สะบ้าย้อยอันดับที่2 ขาดทุน 25.46 ล้านบาท รพ.คลองหอยโข่งอันดับที่8 ขาดทุน 11.88 ล้านบาท
11 พฤศจิกายน 2567 | 7,408
สงขลา | 10 อันดับโรงพยาบาลภาคใต้ขาดทุนสะสมมากที่สุด รพ.สะบ้าย้อยอันดับที่2 ขาดทุน 25.46 ล้านบาท รพ.คลองหอยโข่งอันดับที่8 ขาดทุน 11.88 ล้านบาท

วันนี้(11/11/67) จากกรณีที่เพจ South States ได้มีการเปิดเผยอันดับ 10 โรงพยาบาลภาคใต้ที่ขาดทุนสะสมมากที่สุด 

อันดับที่ 1 โรงพยาบาลระนอง จังหวัดระนอง ขาดทุนสะสม 118.86 ล้านบาท

อันดับที่ 2 โรงพยาบาลสะบ้านย้อย จังหวัดสงขลา ขาดทุนสะสม 25.46 ล้านบาท

อันดับที่ 3 โรงพยาบาลปะเหลียน จังหวัดตรัง ขาดทุนสะสม 21.39 ล้านบาท

อันดับที่ 4 โรงพยาบาลจะแนะ จังหวัดนราธิวาส ขาดทุนสะสม 18.17 ล้านบาท

อันดับที่ 5 โรงพยาบาลศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ขาดทุนสะสม 15.71 ล้านบาท 

อันดับที่ 6 โรงพยาบาลมะนัง จังหวัดสตูล ขาดทุนสะสม 13.35 ล้านบาท

อันดับที่ 7 โรงพยาบาลรัษฎา จังหวัดตรัง ขาดทุนสะสม 13.08 ล้านบาท

อันดับที 8 โรงพยบาลคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา 11.88 ล้านบาท

อันดับที่ 9 โรงพยาบาลทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ขาดทุนสะสม 7.82 ล้านบาท

อันดับที่ 10 โรงพยาาลเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ขาดทุนสะสม 6.77 ล้านบาท

จากสถานการณ์ปัญหาโรงพยาบาลขาดสภาพคล่องทางการเงินหรือขาดทุนเป็นเรื่องสำคัญที่หน่วยงานทุกภาคส่วนร่วมหารือและแก้ปัญหามาโดยตลอดตั้งแต่ประเทศไทยมี 30 บาทรักษาทุกโรค โดยปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ กล่าวตอนหนึ่งในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ปี 2567 ถึงสถานการณ์รพ.ขาดทุน และโอกาสความยั่งยืนของสาธารณสุขไทยว่า กระทรวงสาธารณสุขมีข้าราชการในระบบ 4-5 แสนคน ดูแลประชาชนในการบริการผู้ป่วยนอกประมาณ 1 ล้านคน ผู้ป่วยในวันละ 1 แสนคน

จากปัญหารพ.ขาดสภาพคล่องทางการเงิน โรงพยาบาลมีเงินไม่เพียงพอในการบริหารจัดการ การบริหารในองค์กรอย่างเงินสดสำรองต้องมีอย่างต่ำ 3-6 เดือน ซึ่งตัวเลขที่องค์กรขนาดใหญ่ใช้กันคือ 6 เดือน แสดงว่าต้องมีเงินอย่างต่ำ 6 หมื่นล้านบาท แต่กระทรวงฯมีเงินบำรุงอยู่ 4 หมื่นล้านบาทแต่ในนั้นกลายเป็นเงินสดเพียง 2 หมื่นล้านบาท อีก 2 หมื่นล้านบาทเป็นตัวเลขทางบัญชีอย่างหนี้สินระหว่างกัน สรุปว่ามีเหลือ 2 หมื่นล้านบาท ถ้าต้องการพัฒนาระบบสาธารณสุขไปอีกขั้น นอกจากเรื่องของทรัพยากรที่เพียงพอ เป้าหมายต้องเปลี่ยนไปด้วย ถึงเวลาแล้วที่จะต้องปรับเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข เพิ่มยกระดับการบริการให้ประชาชนในประเทศ และเพิ่มศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจ ดึงเม็ดเงินจากต่างประเทศ

อ้างอิงข้อมูลข่าว : - South States
-Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ
-กระทรวงสาธารณะสุข


เรื่องที่เกี่ยวข้อง