นางณัฏฐวีกรณ์ ทิพยวาศรี รองศึกษาธิการจังหวัดฯ ตัวแทนผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และเป็นประธานการประชุม ณ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา ได้นำเสนอสถานการณ์เด็กนอกระบบในแต่ละอำเภอ พร้อมทั้ง ร่วมกันกำหนดแผนงานเพื่อค้นหา ส่งต่อ และช่วยเหลือเด็กนอกระบบการศึกษา โดยมีเป้าหมายค้นหา 80 % ภายในเดือนมีนาคม และส่งต่อเด็กนอกระบบเพื่อเข้าถึงการช่วยเหลือด้านการศึกษา และการเรียนรู้ต่อไป
โดยในระยะแรกนี้ มีพื้นที่นำร่องที่สนใจร่วมค้นหาเด็กนอกระบบทั้นที ได้แก่ อบต. บ่อแดง เทศบาลเมืองสิงหนคร นอกจากนี้ สพป. เขต 2 ยังได้เสนอให้ใช้พื้นที่อำเภอหาดใหญ่ เป็นพื้นที่นำร่องรำดับอำเภอ โดยจะจัดงาน MOU ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ร่วมกัน
เมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา จังหวัดสงขลาได้มีการจัดเวทีเสวนา ในงาน Mobile School เข้าเรียนไม่ได้ ให้โรงเรียนไปหา ณ โรงสีแดง หับ โห้ หิ้น อำเภอเมือง จังหวัดสงขลาทำให้เห็นภาพความร่วมมือของเครือข่ายในการขับเคลื่อนความร่วมมือกันไปสู่เป้าหมาย “เด็กทุกคนต้องได้เรียน”
จังหวัดสงขลามีจำนวนเด็กและเยาวชนอยู่นอกระบบการศึกษาในฐานข้อมูล Thailand Zero Dropout 23,681 คน เท่ากับประชากรทั้งอำเภอนาหม่อม ข้อมูลนี้ทำให้ภาคประชาสังคมเข้ามาร่วมขับเคลื่อนไปกับภาครัฐ จากการเห็นภาพความเสี่ยงที่สังคมต้องเผชิญกับอนาคตกับประชากรไร้คุณภาพเพราะขาดโอกาสทางการศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลาได้เริ่มต้นด้วยการทำหน้าที่ “ค้นหา” เด็กและเยาวชนที่อยู่นอกระบบ ด้วยการดำเนินการร่วมกับทุกภาคส่วน ลงพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ทั้ง 10 แห่ง และเตรียมขั้นตอนการ “ช่วยเหลือ” ร่วมกับเครือข่ายตามปัญหาของเด็กและเยาวชนที่ได้ค้นพบด้วยการคัดกรองเบื้องต้น
คุณนิพนธ์ รัตนาคม ผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้เยาวชนสร้างสุข หนึ่งในภาคีเครือข่ายของจังหวัดสงขลา อธิบายถึงขั้นตอนในการ “ช่วยเหลือ” เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาที่ได้ “ค้นพบ” แล้ว ต้องมาคัดกรองว่าจะต้อง “ช่วยเหลือ” อย่างไรให้ตรงตามความต้องการ ถ้าต้องการกลับไปเรียนในระบบก็จะช่วยให้เข้าไปเรียน และจัดการปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการกลับไปเรียน เช่น ค้างค่าเทอม หรือถ้าไม่ต้องการไปโรงเรียน อาจจะนำเสนอว่าเรียนกับ สกร. (สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย) หรือถ้าต้องทำงานไปเรียนไปศูนย์การเรียนรู้หลายแห่งจะตอบโจทย์ได้ ด้วยการเรียนผ่านมือถือหรือออนไลน์
แต่ปัญหาด้านการเรียนไม่ใช่ปัญหาเดียวที่เด็กและเยาวชนเหล่านี้ต้องเผชิญ ปัญหาชีวิตในหลาย ๆ ด้าน เช่น ปัญหาครอบครัว พ่อแม่ติดคุก เสพยา ต้องดูแลคนในครอบครัว เป็นสถานการณ์ที่ต้องร่วมมือกัน เพื่อเดินหน้าในการแก้ไขปัญหาต่อไป
ภาพ/ข่าว : -ศูนย์อาสาสร้างสุข-ภาคใต้
-กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
สงขลา | ชาวสงขลา เห็นด้วยหรือไม่ ?
3 ตุลาคม 2567 | 3,921หาดใหญ่ | ม.อ. มหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์ อันดับ 1 ของภาคใต้
12 กันยายน 2567 | 3,849หาดใหญ่ | ครบรอบ 70 ปี โรงเรียนพลวิทยา มองอนาคตพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
9 สิงหาคม 2567 | 8,563สงขลา | เดินหน้าติดตาม! เด็กนักเรียนออกกลางคันกลับสู่โรงเรียน
5 สิงหาคม 2567 | 4,290หาดใหญ่ | เคาะวันจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ม.อ. วันที่ 8-10 สิงหาคม
17 กรกฎาคม 2567 | 8,869หาดใหญ่ | เดินหน้าขับเคลื่อน! หลักสูตรต้านการทุจริตระดับโรงเรียน
9 กรกฎาคม 2567 | 3,831สงขลา | วิกฤต! เด็กและเยาวชนจังหวัดสงขลา หลุดออกจากระบบการศึกษากว่า
11 มิถุนายน 2567 | 6,160หาดใหญ่ | ผลักดัน! การศึกษาเด็กหาดใหญ่
4 มิถุนายน 2567 | 12,069