หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

ข่าววิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม

สงขลา | เปิดปฏิบัติการ! ล่าปลาหมอคางดำ ปลาเอเลียนสปีชีส์ทำลายล้างระบบนิเวศ เตรียมปล่อยปลาผู้ล่าหวังป้องกันการระบาด
12 กรกฎาคม 2567 | 4,651
สงขลา | เปิดปฏิบัติการ! ล่าปลาหมอคางดำ ปลาเอเลียนสปีชีส์ทำลายล้างระบบนิเวศ เตรียมปล่อยปลาผู้ล่าหวังป้องกันการระบาด

วันนี้(12/6/67) สำนักงานประมงจังหวัดสงขลา โดยนายเจริญ โอมณี ประมงจังหวัดสงขลา มอบหมายให้เจ้าหน้าที่กลุ่มบริหารจัดการด้านการประมง ร่วมกับเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งสงขลา และประมงอำเภอกระแสสินธุ์ สำรวจความชุกชุมของปลาหมอคางดำ ก่อนปล่อยปลาผู้ล่า ตามแผนการดำเนินงาน มาตรการที่ 2 การกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการปล่อยปลาผู้ล่าอย่างต่อเนื่อง โดยใช้วิธีการสุ่มทอดแห 

ผลการสุ่ม 5 ครั้ง  จำนวนปลารวมทั้ง 5 ครั้ง  ดังนี้              

จุดที่1.คลองบางแขยง อ.ระโนด  พบปลาหมอคางดำ 1 ตัว                                        
จุดที่2.คลองปากระวะ อ.ระโนดไม่พบ                                                                  
จุดที่3.คลองปากแค อ.ระโนด พบปลาหมอคางดำ 2 ตัว                                      
จุดที่4.ตลาดน้ำคลองแดน อ.ระโนด พบปลาหมอคางดำ 6 ตัว    

จุดที่5.คลองปากแตระ อ.ระโนด ไม่พบ                                                                  
จุดที่6.คลองพังยาง พบปลาหมอคางดำ 30 ตัว                                                
จุดที่7.คลองยมราช ต.เกาะใหญ่ อ.กระแสสินธุ์ ไม่พบ                                                          
จุดที่8.คลองรี ต.คลองรี อ.สทิงพระ ไม่พบ

อย่าางไรก็ตาม สำนักงานประมงจังหวัดสงขลา เน้นย้ำถึงมาตราการป้องกันและกำจัดปลาหมอคางดำ เพื่อไม่ให้มีการแพร่ระบาดและขยายพันธ์ไปมากกว่า โดยมีการเตรียมการปล่อยปลาผู้ล่า อย่างเช่น ปลากะพงขาว ปลาอีกง เพื่อกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติ 

ทั้งนี้ สำนักงานประมงจังหวัดสงขลา ขอเชิญชวนประชาชนแจ้งตำแหน่งที่มีการพบปลามองคางดำเพิ่มเติมพร้อมถ่ายรูปและแจ้งพิกัด เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาการระบาดของปลาหมอคางดำ ซึ่งงลักษณะของปลาหมอคางดำ ภายนอกคล้ายคลึงกับปลาหมอเทศ พบได้ทั้งน้ำจืด บริเวณปากแม่น้ำที่เป็นน้ำกร่อย ป่าชายเลนและในทะเล เพศผู้จะมีสีดำบริเวณหัว และบริเวณแผ่นปิดเหงือกมากว่าเพศเมีย


เรื่องที่เกี่ยวข้อง