นายจรูญศักดิ์ เพชรศรี ผู้ตรวจราชการกรมประมง พร้อม นายเจริญ โอมณี ประมงจังหวัดสงขลา นาย สุรเดช นิลอุบล นายกสมาคมประมงสงขลา และ ตัวแทนศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล หรือ ศรชล.ภาค 2 และ ภาค 3 ร่วมกันต้อนรับเรือประมงเครื่องมืออวนครอบปลากระตัก 6 ลำ ที่ท่าเทียบเรือประมงสงขลา ซึ่งเป็นเรือจากจังหวัดภูเก็ตและพังงา โดยเรือประมง 4 ใน 6 ลำ ถูกเจ้าหน้าที่ชายฝั่งของมาเลเซีย จับกุมเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา เนื่องจากเข้าเขตน่านน้ำชั้นในใกล้ชายฝั่งของมาเลเซีย
ซึ่งนายจรูญศักดิ์ เพชรศรี ผู้ตรวจราชการกรมประมง เปิดเผยว่า หลังจากกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศหลักเกณฑ์การเปลี่ยนพื้นที่ทำการประมง หลังจากประกาศฉบับเดิม จำกัดพื้นที่ทำการประมง ซึ่งผู้ประกอบการเรือประมงที่ทำการประมงอยู่ในทะเลฝั่งอันดามัน ก็ไม่สามารถเคลื่อนย้ายมาทำการประมง ในฝั่งอ่าวไทยได้
ซึ่งชาวประมงได้ยื่นคำร้องต่อ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อขอย้ายพื้นที่ทำการประมงในบางฤดูกาล ซึ่งร้อยเอกธรรมนัสพรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบหมายให้กรมประมง ออกประกาศกรมประมง เรื่องหลักเกณฑ์ในการเปลี่ยนพื้นที่ทำการประมง พ.ศ 2567 ลงวันที่ 8 กรกฎาคมที่ผ่านมา และคาดว่าไม่เกินวันที่ 15 กรกฎาคมนี้ จะประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้เรือชาวประมง ยื่นคำร้องขอย้ายทำการประมงข้ามฝั่ง และหากตรวจสอบว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้สูงสุด ของเครื่องมือประเภทนั้นๆ ก็ย้ายฝั่งทำการประมงได้ ซึ่งเรือประมงทั้ง 6 ลำ เป็นกลุ่มแรก ที่ยื่นคำร้องขอย้ายฝั่งทำการประมง เครื่องมืออวนครอบปลากะตัก จากทะเลฝั่งอันดามัน มายังฝั่งอ่าวไทย เนื่องจากในช่วงนี้ทะเลฝั่งอันดามันอยู่ในช่วงมรสุม
แต่ปรากฏว่าขณะที่ เรือกำลังแล่นผ่านน่านน้ำในประเทศมาเลเซีย เรือลูกเจี๊ยบ 99 ซึ่งเป็นเรือประมง ขนาดใหญ่ 9 ตันกรอส เครื่องยนต์ใบจักรขัดข้อง เรือประมงอีก 3 ลำ จึงเข้าไปช่วยเหลือ แต่เข้าไปในเขตทะเลชั้นใน ของประเทศมาเลเซีย ซึ่งตามกฎหมาย ระบุว่าต้องห่างจากชายฝั่ง 5 ไมล์ทะเล ทำให้เจ้าหน้าที่ชายฝั่งของมาเลเซีย เข้าควบคุม เรือทั้ง 4 ลำ และจับกุมไต้ก๋งเรือ กับลูกเรือทั้งหมดรวม 30 คน จากนั้น กรมประมงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้ง เจ้าหน้าที่กองทัพเรือภาคที่ 3 เจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล หรือ ศรชล.ภาค 3 และ ภาค 2 เจ้าหน้า สำนักงานประสานงานชายแดนไทย-มาเลเซีย ได้เร่งประสานงาน กับสถานทูตไทย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
ได้ประสานงานและแจ้งความประสงค์การเดินเรือทั้ง 4 ลำ ที่ต้องเดินเรือฝ่ามรสุม จนเครื่องยนต์ขัดข้อง รวมทั้งแสดงเจตนาบริสุทธิ์ ไม่ได้ตั้งใจรุกล้ำหน้าน้ำชั้นในของมาเลเซีย เพียงแต่เคลื่อนย้ายเรือประมงข้ามฝั่งมายังน่านน้ำอ่าวไทยเพื่อทำการประมง กระทั่ง ทางการมาเลเซียเชื่อในหลักฐานที่ทางการไทยได้แจ้ง และวันที่ 8 กรกฎาคมที่ผ่านมา ทางการมาเลเซีย ก็ปล่อยตัวไต้ก๋งและลูกเรือ พร้อมเรือทั้ง 4 ลำ ให้เดินทางเข้าสู่น่านน้ำไทยทั้งนี้ตัวแทนของเรือประมง ขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานที่ให้การช่วยเหลือในการประสานงานกับทางการมาเลเซีย จนได้รับการปล่อยตัวทั้งหมด
เนื่องจากเรือประมงที่ใช้ทำมาหากินมีความสำคัญกับครอบครัวอย่างมาก สำหรับการออกประกาศให้เรือประมง ข้ามฝั่งทำการประมง นอกพื้นที่เดิมนั้น เป็นการเปิดโอกาส ให้ชาวประมงได้เข้าถึงทรัพยากรทางทะเลได้มากขึ้น เพราะประกาศฉบับเดิมชาวประมง ไม่สามารถทำการประมงได้ตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในฝั่งอันดามันที่ฤดูมรสุมจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนพฤศจิกายน
รัตภูมิ | เอาจริง! เร่งปราบยาเสพติด-สิ่งผิดกฎหมาย
11 กรกฎาคม 2568 | 1,326หาดใหญ่ | คาหนังคาเขา รวบโจรแสบย่องลักมังคุดสวนเพื่อน
11 กรกฎาคม 2568 | 1,739สงขลา | อควาเรียมหอยสังข์ 1,400 ล้าน อนุสรณ์ทุจริตครั้งมโหฬาร
10 กรกฎาคม 2568 | 5,976สงขลา | เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งสงขลาเข้าพบผู้ว่าฯ
10 กรกฎาคม 2568 | 4,236ปัตตานี | ตำรวจขยายผลเพิ่ม จับกุมขบวนค้าเฮโรอีนริมถนน 4 ราย
10 กรกฎาคม 2568 | 4,807ระโนด | โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำคลองไผ่ งบ 106,203,000 บาท
10 กรกฎาคม 2568 | 3,741หาดใหญ่ | โจรระบาดหนัก…
10 กรกฎาคม 2568 | 4,947สะเดา | ตำรวจทางหลวงสกัดจับรถตู้ต้องสงสัย
10 กรกฎาคม 2568 | 5,197