หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

ข่าวการศึกษา

สงขลา | วิกฤต! เด็กและเยาวชนจังหวัดสงขลา หลุดออกจากระบบการศึกษากว่า 23,681 ราย ถือเป็นอันดับที่ 10 ของประเทศ
11 มิถุนายน 2567 | 6,003
สงขลา | วิกฤต! เด็กและเยาวชนจังหวัดสงขลา หลุดออกจากระบบการศึกษากว่า 23,681 ราย ถือเป็นอันดับที่ 10 ของประเทศ

วันที่ (10/6/2567) เวลา 09.30 น. นายศังกร รักชูชื่น ผอ.สพป.สงขลา เขต 3 มอบหมายให้นางสาวรัชนี  พรหมมา ผอ.กลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกลฯ สพป.สงขลา เขต 3 เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการสมัชชาการศึกษาจังหวัดสงขลา ณ ห้องประชุมเก้าเส้ง ชั้น 2 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา โดยมี ดร.กมล  รอดคล้าย เป็นประธานในการประชุม และดร.ชนภรณ์  อือตระกูล ศึกษาธิการจังหวัดสงขลา เป็นคณะทำงานและเลขานุการ 

ที่ประชุมได้รายงานสถานการณ์เด็กนอกระบบการศึกษาจังหวัดสงขลา ภายใต้โครงการ Thailand Zero Dropout ฐานข้อมูล ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566

จังหวัดสงขลามีเด็กและเยาวชนอายุ 3-18 ปี จำนวน 295,625 คน อยู่นอกระบบการศึกษา จำนวน 23,681 คน คิดเป็นร้อยละ 8.01 อยู่ในลำดับที่ 10 ของประเทศ เด็กและเยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษาจำนวนมากจะส่งผลต่อสถานการณ์ปัญหาด้านสังคมและเศรษฐกิจในระยะยาว จึงจำเป็นต้องได้รับการค้นหา และกำหนดมาตรการช่วยเหลือต่อไป 

จึงเห็นสมควรจัดตั้งสมัชชาการศึกษาจังหวัดสงขลา โดยโครงสร้าง ประกอบไปด้วยคณะกรรมการอำนวยการ และคณะทำงานประสานและขับเคลื่อน  ซึ่งที่ประชุมได้นำเสนอตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัดสงขลา และได้จัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา สำหรับรายละเอียดมอบให้ฝ่ายเลขานุการ ได้ดำเนินการให้เป็นไปตามมติที่ประชุม และหากคณะกรรมการมีข้อเสนอแนวคิดใดเพิ่มเติมสามารถแจ้งฝ่ายเลขานุการได้ ภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2567

ข้อมูลจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ระบุว่า สังคมไทยได้เข้าสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์แล้ว ปัจจุบันเด็กไทยเกิดเพียงปีละประมาณ 500,000 คน เด็กและเยาวชน เหลือน้อยลงทุกปี 409 ล้านบาทต่อปี คือตัวเลขที่ประเทศไทยเสียโอกาสทางเศรษฐกิจจากการที่นักเรียนยากจนและยากจนพิเศษหลุดจากระบบการศึกษาจำนวน 33,547 คน ในช่วงชั้น ม.3 ขึ้น ม.4 และเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ รวมทั้งการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา (SDG4) ธนาคารแห่งประเทศไทยประเมินว่าด้วยอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ย 3.5% 30 ปี คือเวลาที่ประเทศไทยจะหลุดจากปัญหากับดักรายได้ปานกลาง องค์การยูเนสโกประเมินว่าหากบรรลุเป้าหมาย ZERO Dropout ได้สำเร็จตาม SDG4 ประเทศไทยจะมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) เพิ่มขึ้น 3%

ภาพข่าว : สพป.สงขลา เขต 3 


เรื่องที่เกี่ยวข้อง