เมืองจะนะ มีหลักฐานปรากฏอยู่ในพงศาวดาร แต่เดิมเมืองจะนะเป็นเมืองขึ้นของเมืองพัทลุง เฉกเช่นเดียวกับสงขลา ปะเหลียน และเทพา ต่อมาเมื่อสงขลาแยกตัวออกมา เมืองจะนะจึงไปขึ้นตรงอยู่กับเมืองสงขลา โดยมีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านทางตอนใต้ และเป็นเมืองที่มีการสู้รบสกัดกั้นหัวเมืองของมลายูอยู่ตลอด
วันนี้จึงหยิบยกประวัติศาสตร์ตำบลหนึ่งในอำเภอจะนะ มาบอกเล่าเรื่องราวกัน ตำบลที่มีปรากฎในบันทึกทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเมืองจะนะไว้ นั่นก็คือ ตำบลนาทับ นาทับเป็นชุมชนดั้งเดิมตั้งแต่ประมาณ 200 กว่าปีมาแล้ว เอกสารทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับตําบลนาทับ อําเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ไม่ได้มีปรากฏอย่างชัดเจน หากแต่บันทึกทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเมืองจะนะไว้ ดังปรากฏในพงศาวดารเมืองสงขลา ของพระยาวิเชียรคีรี (บุญสังข์) ตอนที่ 1 ซึ่งแต่ง ขึ้ึนเมื่อปีเถาะ จุลศักราช 1207 ความตอนหนึ่งบันทึกไว้ว่า
“พระสงขลา เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เลื่อน พระสงขลาเป็นพระยาสงขลา ตั้งพ่อซีนเป็นพระพิเรนทร์ ตั้งพ่อเถียนเซงเป็นพระสุนทรานุรักษ์ ผู้ช่วยราชการให้พระอนันตสมบัติเป็นเจ้าเมืองจนะ พระยาสงขลากราบบังคมลา พาบุตรภรรยากลับ ออกเมืองสงขลา มาเรือสองลํา ต้องพยุงที่ีหัวถนอมจมเสียลําหนึ่ง เสียผู้คนข้าวของไปเป็นอันมาก
เรือพระยาสงขลาแล่นเลยมาถึงสงขลา อยู่สองปีพระอนันตสมบัติถึงแก่กรรม ได้ฝังศพพระอนันต สมบัติไว้ ณ เขาแหลมสน จารึกอักษรไว้ในศิลาหน้าศพแล้ว แล้วพระยาสงขลาบอกเข้าให้ไปนําขึ้น กราบบังคมทูลว่า พระอนันตสมบัติถึงแก่กรรม บุตรชายพระอนันตสมบัติมีอยู่สามคน ดํารัสว่าจะได้เป็นเจ้าเมืองจนะ พระยากลาโหมกราบบังคมทูลให้ทิดเพ็ดเป็นพระจนะ คุมไพร่ส่วยดีบุกขึ้นกับเมืองสงขลา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งทิดเพ็ดเป็นพระจนะ ออกมาอยู่เมืองจนะฯ (เริงวุฒิ มิตรสุริยะ, 2552) จนถึงรัชกาลที่ 5 ได้มีกํานันตําบลเป็นผู้ปกครองฝ่ายพลเรือน ซึ่งในยุคแรกจะมีศักดิ์เป็น “ท่านขุน” และกำนันคนแรกคือ ท่านขุนสมาน หรือ นายเกษม หนิโส๊ะ"
ส่วนที่มาของชื่อนาทับนั้น ในเว็บไทยตำบล บอกไว้ว่า ในสมัยก่อนมีหัวเมืองตั้งอยู่ที่บ้านจะโหนง ชื่อว่าเมืองหนะ เจ้าเมืองในขณะนั้นมีชื่อว่า "พระยาหนะ" ในสมัยหนึ่งได้มีข้าศึกยกทัพมาตีเมืองสงขลา เจ้าเมืองสงขลาได้สั่งให้เจ้าเมืองหนะ นำกำลังทหารยกทัพไปเป็นทัพหน้า สะกัดกั้นข้าศึก โดยเดินทัพมาตามลำคลอง จากเมืองหนะ มาตามลำคลองนาทับ และตั้งค่ายอยู่บริเวณริมคลองนาทับ ชาวบ้านเรียกว่าค่าย หรือหน้าค่าย ต่อมาได้เรียกชื่อเพี้ยนเป็น "นาทับ" มาจนถึงปัจจุบัน
ที่มา : อุสมาน หวังสนิ, (2554). การพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง : กรณีศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนชุมชน ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา.วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (พัฒนามนุษย์และสังคม))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ , ThaiTambol , เพจ เรื่องเก่าๆ มาเล่าใหม่ ประวัติสงขลา
ขอบคุณภาพ : siamfishing , เทศบาลตำบลนาทับ
ชมภาพเก่าเมื่อ 89 ปีก่อน โรงงานแป้งสาคู ณ บ้านคลองแงะ (สะเดา)
13 กรกฎาคม 2568 | 216กว่า 161 ปี สุเหร่าบ้านพรุหมาก มัสยิดแห่งแรกของอำเภอเทพา
13 กรกฎาคม 2568 | 174ย้อนประวัติเรือพัทลุง เรือที่ใช้ติดต่อราชการระหว่างเมืองสงขลา-เมืองพัทลุง
13 กรกฎาคม 2568 | 209กัปตันวอสเบียน : ผู้ให้กำเนิดจักรยานพ่วงข้างคันแรกของปักษ์ใต้ ณ เชิงเขาตังกวน (สงขลา)
6 กรกฎาคม 2568 | 2,135ที่มาชื่อบ้านท่าช้าง อ.บางกล่ำ ย้อนรอยชม "เสาหงส์" ครั้งพม่ายกทัพตีหัวเมืองภาคใต้
6 กรกฎาคม 2568 | 419ย้อนตำนานเมื่อครั้งอดีต วงเวียนแยกหลาลุงแสง 3 ยุคสมัย 3 รูปแบบ
6 กรกฎาคม 2568 | 6,372ย้อนชมภูมิปัญญาการทำขวัญข้าว สู่การสร้างวงเวียนพระแม่โพสพ ศูนย์รวมจิตใจชาวระโนด
8 มิถุนายน 2568 | 1,322เปิดที่มาชุมชนประวัติศาสตร์ บ้านควนจง (นาหม่อม)
8 มิถุนายน 2568 | 1,432