ครั้งหนึ่งเราเคยเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองจะนะ...เมืองแห่งสมรภูมิสงคราม จากประวัติศาสตร์เราจะทราบว่า เมืองจะนะ มีความเป็นมาที่น่าสนใจและยาวนาน อีกทั้งยังเคยเป็นเมืองขึ้นของพัทลุง เหมือนกับสงขลา ปะเหลียน และเทพา เมื่อสงขลาแยกตัวออกมา จะนะจึงขึ้นตรงกับเมืองสงขลา โดยมีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านทางตอนใต้ และเป็นเมืองที่มีการสู้รบสกัดกั้นหัวเมืองของมลายูอยู่ตลอด
วันนี้เราจะมาขอเจาะไปถึงตำบลหนึ่งของอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ซึ่งตั้งห่างจากตัวอำเภอประมาณ 14 กิโลเมตร เป็นตำบลที่เพื่อนในที่ทำงานคนหนึ่งพูดขึ้นว่า ชื่อมีที่มาจากอะไร นั่นก็คือ "ตำบลสะพานไม้แก่น" มาดูกันว่า เราจะเดาถูกกันไหมเอ่ย
ตำบลสะพานไม้แก่นเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอจะนะ ที่มาของชื่อจากการค้นหาข้อมูล พบว่า ที่นี่มีกลุ่มบ้านอยู่สองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ บ้านคลองยอ บ้านออก เป็น กลุ่มบ้านอยู่ซีกตะวันออก คลองต้นเปลียงซึ่งเป็นคลองที่ลึกไม่สามารถเดินลงข้ามไปมาได้ ระหว่างกลุ่มบ้านฝั่งตะวันตกคือบ้านแซะ การเดินทางสมัยก่อนใช้เดินทางเข้าไปมาระหว่างสองกลุ่มบ้าน โดยข้ามสะพานที่คลองต้นเปลียง มีสะพานข้ามคลองทำด้วยไม้ตะเคียนเป็นต้นไม้ใหญ่มีแก่นแข็งแรงมาก จนคนที่สัญจรไปมาถามกันตามประสาข่าวชนบทว่ามาทางไหน ตอบว่ามาทางพานไม้แก่น เดินทางไปมานานจนคนเรียกขานกันว่าไปไม้แก่น หรือพูดว่ามาทางไม้แก่น และต่อมาได้ใช้เป็นชื่อตำบลสะพานไม้แก่นจนถึงปัจจุบัน
หากใครมีโอกาสไปเที่ยวจะนะ ก็อย่าลืมไปสักการะ พระใหญ่ ปางห้ามมารบันดาลโชค ซึ่งตั้งโดดเด่นอยู่ที่ป่าช้าควนข้าวแห้ง ตำบลสะพานไม้แก่น
ขอบคุณข้อมูล : บัณฑิตแรงงานจังหวัดสงขลา
ขอบคุณภาพ : อบต.สะพานไม้แก่น
ชมภาพเก่าเมื่อ 89 ปีก่อน โรงงานแป้งสาคู ณ บ้านคลองแงะ (สะเดา)
13 กรกฎาคม 2568 | 159กว่า 161 ปี สุเหร่าบ้านพรุหมาก มัสยิดแห่งแรกของอำเภอเทพา
13 กรกฎาคม 2568 | 136ย้อนประวัติเรือพัทลุง เรือที่ใช้ติดต่อราชการระหว่างเมืองสงขลา-เมืองพัทลุง
13 กรกฎาคม 2568 | 151กัปตันวอสเบียน : ผู้ให้กำเนิดจักรยานพ่วงข้างคันแรกของปักษ์ใต้ ณ เชิงเขาตังกวน (สงขลา)
6 กรกฎาคม 2568 | 2,114ที่มาชื่อบ้านท่าช้าง อ.บางกล่ำ ย้อนรอยชม "เสาหงส์" ครั้งพม่ายกทัพตีหัวเมืองภาคใต้
6 กรกฎาคม 2568 | 395ย้อนตำนานเมื่อครั้งอดีต วงเวียนแยกหลาลุงแสง 3 ยุคสมัย 3 รูปแบบ
6 กรกฎาคม 2568 | 6,273ย้อนชมภูมิปัญญาการทำขวัญข้าว สู่การสร้างวงเวียนพระแม่โพสพ ศูนย์รวมจิตใจชาวระโนด
8 มิถุนายน 2568 | 1,228เปิดที่มาชุมชนประวัติศาสตร์ บ้านควนจง (นาหม่อม)
8 มิถุนายน 2568 | 1,373