"ตำบลพังลา" หนึ่งในหมู่บ้านของจังหวัดสงขลา หมู่บ้านที่ทำการเกษรเป็นส่วนใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอสะเดา วันนี้แอดมินหาดใหญ่โฟกัสจะขอหยิบยก เรื่องราวที่ครั้งหนึ่งเจ้าอาวาสวัดพังลาเคยเล่าให้ฟังว่า ย้อนหลังกลับไปในช่วงรัชกาลที่ 3 กบฏแขกมลายูเริ่มเหิมเกริม จนทำให้เกิดศึกปราบกบฏไทรบุรีเกิดขึ้น โดยมีการเกณฑ์ทัพจากนครศรีธรรมราช พัทลุง เพื่อมาสมทบกับทัพหลวง ที่กำลังตั้งทัพรออยู่ที่จังหวัดสงขลา เมื่อมีการรวบรวมกองทัพไพร่พลเสร็จสรรพ ก็ได้ฤกษ์ยามมหาพิชัยยุทธ์ กองทัพได้เริ่มเดินทางผ่านเส้นทางบก ตามเส้นทางเดินโบราณ ผ่านหมู่บ้านหลายๆแห่ง รวมทั้งบ้าน "ทุ่งหาดใหญ่" (พงศาวดารสงขลา) หรือ "บ้านทรายใหญ่" (หนังสือประพาสต้นรัชกาลที่ 5) ส่วนทางน้ำกองทัพได้เดินเรือทวนน้ำเข้าทางคลองอู่ตะเภา ที่ไหลมาจากมาเลย์ทางทิศใต้ออกทางทิศเหนือ ณ ทะเลสาบสงขลา ซึ่งหลายๆคนบอกว่านั้นคือหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เมืองหาดใหญ่มีชื่อเดิมว่า "อำเภอเหนือ"
การทำศึกปราบกบฏไทรบุรีในครั้งนี้ต้องมีการเตรียมสร้างเรือและแพ ไว้เพื่อขนทหารกับเสบียง โดยมีการตัดไม้มาทำเรือที่บ้านคลองแงะและบ้านทุ่งลุง ดังปรากฏซากเรือโบราณในละแวกนี้หลายลำ รวมถึงตำนานเล่าขานของชาวบ้านที่เล่าต่อๆกันมาว่า มีช้างคู่หนึ่งอาศัยอยู่ ณ บริเวณนี้ เมื่อเกิดศึกสงครามในครั้งนั้น ทัพหลวงจึงจำเป็นต้องเกณฑ์ไพร่พล รวมไปถึงช้างม้าวัวควาย จากบ้านคลองแงะและทุ่งลุง เพื่อนำไปทำศึกสงคราม ช้างทั้งคู่ต้องถูกพลัดพรากในที่สุด
"วันที่จากลาก็มาถึง พี่ต้องเดินทัพไปทางใต้ ตอนเหนือของไทรบุรี หรือ รัฐเกดาห์ น้องต้องจากพี่แล้ว การศึกถ้าเสร็จสิ้น พี่ไม่ตาย เราคงต้องพบกันอีก" เสียงร่ำลาครวญครางของทั้งสอง ชาวบ้านและนายทหารนายกองต่างรับรู้และสงสาร จึงตั้งนามหมู่บ้าน ณ ที่แห่งนี้ว่า "บ้านพังลา" ช้างพัง บอกลา ช้างพลาย แต่นั้นมา เรื่องราวเหล่านั้นเป็นเพียงตำนานที่เล่าขานต่อๆกันมาเท่านั้น แต่น้ำหนักและความเป็นไปได้ของชื่อและที่มาของ "บ้านพังลา" มีอยู่ว่า ในอดีตได้มีราษฎรกลุ่มหนึ่งอพยพมาตั้งถิ่นฐานบริเวณนี้ ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนทำไร่ และปลูกกล้วย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกล้วยพังลา (กล้วยตานี) โดยมีการนำใบตองมาห่อขนมพื้นบ้านจึงเรียกบ้านพังลา ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งตำบลจึงใช้ชื่อว่า "ตำบลพังลา"
กล้วยพังลา หรือ กล้วยตานี
ชุมชนรังมดแดงสู่บ้านรำแดง(สิงหนคร)
20 ตุลาคม 2567 | 172ความทรงจำข้างกำแพงเมือง...182 แห่งการสถาปนาเมืองสงขลา(บ่อยาง)
20 ตุลาคม 2567 | 161ย้อนชมที่มา...ประเพณีลากพระของชาวปักษ์ใต้ "พระน้ำดูไปตามชายหลิง พระบกเพริศพริ้งบนหลิงแว็บวับ"
20 ตุลาคม 2567 | 169ตำนานศาลาทวดหัวสะพานพรุเตียว ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านในพื้นที่
22 กันยายน 2567 | 295พาชมถ้ำเขาจังโหลน 1 ในตำนานภูผา ณ อำเภอรัตภูมิ
22 กันยายน 2567 | 379ย้อนประวัติที่ฝังศพชาวฮอลันดา เมืองสงขลา
22 กันยายน 2567 | 412ชุมชนโบราณบ้านปะโอ ชุมชนเก่าแก่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์สงขลา
1 กันยายน 2567 | 547ลุ่มน้ำคลองภูมี ลำน้ำหล่อเลี้ยงและยึดโยงชีวิตของผู้คน 4 อำเภอในพื้นที่จังหวัดสงขลา
1 กันยายน 2567 | 1,597