"เขาคอหงส์" เทือกเขาและผืนป่าใหญ่แห่งเมืองหาดใหญ่ เป็นเสมือนปอดฟอกอากาศและมลพิษให้แก่ชาวเมืองหาดใหญ่มาเป็นเวลายาวนาน เขาคอหงส์ทอดตัวอยู่ในแนวทิศเหนือ-ใต้ โดยมีพื้นที่ครอบคลุม ตำบลคอหงส์และตำบลทุ่งใหญ่ โดยมีเนื้อที่ประมาณ 13 ตารางกิโลเมตร มีความยาวประมาณ 5.6 กิโลเมตร และบริเวณยอดเขาคอหงส์มีความสูงถึง 371 เมตร ซึ่งมีความสูงกว่าตึกใบหยกอีกด้วย (ตึกใบหยกสูง 328 เมตร)
"เขาคอหงส์" มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ไม่แน่นอน ไม่ได้มีการบันทึกเอกสารเกี่ยวกับเขาลูกนี้เสียเท่าไหร่ รู้เพียงว่าปู่ย่าตายายที่เกิดมา ก็เห็นภูเขาลูกนี้ตั้งตระหง่านอยู่ ณ เมืองหาดใหญ่แล้ว จึงไม่ได้มีใครให้ความสำคัญกับเขาลูกนี้เท่าไหร่นัก มีการเล่าต่อๆกันถึงประวัติที่มาของชื่อเขาคอหงส์ว่า เมื่อประมาณกว่าร้อยปีที่แล้ว มีพระภิกษุรูปหนึ่งมีนามว่า "พระหนอน" เป็นพระวัดศาลาหัวยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ได้ไปก่อเจดีย์องค์หนึ่งบนเขาคอหงส์ เชื่อว่าอาจจะเป็นเจดีย์เดียวกันกับเรื่องราว "ควนเจดีย์" ที่ทาง หาดใหญ่โฟกัส ได้เคยนำเสนอไปก่อนหน้านี้ แต่บางคนก็บอกว่าเป็นเจดีย์คนละองค์กัน เนื่องจากเจดีย์โบราณนั้นมีอายุไล่เลี่ย โดยเจดีย์ที่พระหนอนได้ขึ้นไปสร้างบนเขาคอหงส์นั้น เป็นเจดีย์ที่มีการก่อรูปหงส์ล้อมรอบเจดีย์ทั้งสี่ทิศ ต่อมาชาวบ้านจึงขนานชื่อที่นี้ว่า "เจดีย์เขาก่อหงส์" เรียกกันสั้นๆว่า "ก่อหงส์"
ภาษาสำเนียงพื้นเมืองเรียกคำว่า "ก่อหงส์" เป็น "คอหงส์" เมื่อเวลาผ่านล่วงเลยมานานคำว่า "ก่อหงส์" ได้ถูกเรียกผิดเพี้ยนมาเป็น "คอหงส์" เรืิ่อยๆมาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งปัจจุบันเจดีย์และรูปหงส์บนเขาคอหงส์ได้สูญหายไป เหลือเพียงแต่ซากวัตถุก่อสร้างที่พอจะเชื่อถือได้ ด้วยเหตุนี้ตำบลคอหงส์จึงถูกขนานชื่อโดยปริยายว่า "ตำบลคอหงส์" อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากประวัติของเขาก่อหงส์นั่นเอง
เขียน: หาดใหญ่โฟกัส
ภาพ: Tannarin Such
ชมภาพเก่าเมื่อ 89 ปีก่อน โรงงานแป้งสาคู ณ บ้านคลองแงะ (สะเดา)
13 กรกฎาคม 2568 | 28กว่า 161 ปี สุเหร่าบ้านพรุหมาก มัสยิดแห่งแรกของอำเภอเทพา
13 กรกฎาคม 2568 | 38ย้อนประวัติเรือพัทลุง เรือที่ใช้ติดต่อราชการระหว่างเมืองสงขลา-เมืองพัทลุง
13 กรกฎาคม 2568 | 40กัปตันวอสเบียน : ผู้ให้กำเนิดจักรยานพ่วงข้างคันแรกของปักษ์ใต้ ณ เชิงเขาตังกวน (สงขลา)
6 กรกฎาคม 2568 | 1,948ที่มาชื่อบ้านท่าช้าง อ.บางกล่ำ ย้อนรอยชม "เสาหงส์" ครั้งพม่ายกทัพตีหัวเมืองภาคใต้
6 กรกฎาคม 2568 | 344ย้อนตำนานเมื่อครั้งอดีต วงเวียนแยกหลาลุงแสง 3 ยุคสมัย 3 รูปแบบ
6 กรกฎาคม 2568 | 5,839ย้อนชมภูมิปัญญาการทำขวัญข้าว สู่การสร้างวงเวียนพระแม่โพสพ ศูนย์รวมจิตใจชาวระโนด
8 มิถุนายน 2568 | 1,154เปิดที่มาชุมชนประวัติศาสตร์ บ้านควนจง (นาหม่อม)
8 มิถุนายน 2568 | 1,302