หลายวันก่อนไปงานทอดกฐินที่วัดบางเหรียง งานปีนี้ไม่ได้คึกคักเหมือนทุกปี ส่วนเราก็เป็นคนอยู่ในวัดนาน ๆ ไม่ได้ ทำบุญเสร็จก็ออกมานอกรั้ววัดเดินดูของที่บรรดาพ่อค้าแม่ขายมาตั้งขายกับเจ้าหลานชายตัวน้อย เดินไปถึงหน้าประตูวัด หลานชายตัวน้อยงอแงบอกอยากทานยาหนม ก็ควักเงินซื้อไป 2 ห่อ แล้วก็เอาขนมวางไว้ใต้เบาะรถ ขี่รถกลับบ้านอย่างสบายใจ ผ่านไป 1 สัปดาห์ โดยไม่ได้เตะเจ้าสองล้อคันเก่ง เมื่อวานนำรถมอ'ไซค์ ไปเติมน้ำมันเปิดเบาะถึงกับอึ้ง เจ้ายาหนมยังนอนสงบเสงี่ยมอยู่ใต้เบาะรถ เอาออกมาดู เห้ยย ยังทานได้
ที่เกริ่นมาตั้งยาวไม่ใช่อะไรหรอก ด้วยความสงสัยของตัวเองว่า ทำไมถึงเรียกเจ้าขนมมเหนียว ๆ คล้ายกาละแม ว่า ยาหนม วันนี้หาดใหญ่โฟกัส มีคำตอบอีกแล้วจ้า
ยาหนม หรือ กาละแมนั้น เป็นขนมตระกูลเดียวกัน ว่ากันว่ายาหนมน่าจะมีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2470 ชาวบ้านจะทำยาหนม เมื่อมีงานใหญ่ ๆ เช่น งานแต่ง งานบวชนาค หรืองานวัด การกวนยาหนมต้องใช้คนจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ จึงเรียกขนมชนิดนี้ว่า ยาหนม ซึ่งมาจากคำว่า พญาขนม หรือ พระยาขนมนั่นเอง การที่เรียกขนมชนิดนี้ว่า พระยาขนม เพราะเชื่อว่า ขนมชนิดนี้เป็นยอดแห่งขนม หรือเจ้าแห่งขนมทั้งหลาย
รู้หรือเปล่าพระยาขนมที่เราซื้อทานกัน ห่อ 20 , 30 บาทนั่น ใช้เวลาทำนานหลายชั่วโมงเลยทีเดียว ผู้เขียนลองไปค้นหาการทำยาหนมมา ไม่ได้จะเอาไปทำหรอก แต่พออ่านวิธีการทำก็รู้เลยว่า ทำไมเจ้าแป้งกวนถึงถูกเรียกว่า พระยาขนม หรือยอดแห่งขนมทั้งปวง
ยาหนมทำมาจากแป้งข้าเหนียว (ในสมัยก่อนใช้ข้าวสารเหนียว แช่น้ำ 1 คืน แล้วบด) น้ำตาลปี๊บ (บางที่ก็ใช้น้ำตาลโตนดเพิ่มความหอม) น้ำกะทิสด ผสมกันลงในกระทะใบบัว ขยำแป้งและน้ำตาลให้เข้ากัน ตั้งบนเตาไฟ ต้องใช้ไฟอ่อน ๆ ในการกวน ซึ่งต้องใช้เวลาถึง 5 ชั่วโมง อาจมากกว่านั้น หรือกวนจนนขนมเป็นสีน้ำตาลแก่ปนดำ เมื่อสีได้ที่ ก็ตักใส่ภาชนะ แม้จะมีวิธีการทำที่ไม่ยุ่งยากมาก แต่การอดทนกว่า 5 ชั่วโมง จึงเข้าใจเลยว่า ทำไมถึงยกให้ยาหนม เป็นยอดแห่งขนมทั้งหลาย
หลายครั้งที่เราไปเที่ยวจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดพัทลุง หรือตามงานวัดต่าง ๆ ในบ้านเรา ก็มักจะซื้อกาละแมหรือยาหนมกลับมาฝากคนที่บ้าน ซึ่งทางภาคใต้เชื่อว่า การให้ยาหนมแกกันนั้น เพราะเปรียบความเหนียวของขนมเสมือนเยื่อใยต่อกัน และตอนนี้กำลังกำลังกินกาละแมที่ซื้อมาจากวัดบางเหรียงอย่างเพลิดเพลิน
บัวของคนภาคใต้...ที่ไม่ได้หมายถึงดอกบัว
11 พฤษภาคม 2568 | 263ร่องรอยเจดีย์บนเกาะหนู โบราณสถานสำคัญสมัยอาณาจักรอยุธยา
11 พฤษภาคม 2568 | 287ศาลาตาเล่อเท่อ ที่พึ่งของชาวบ้านเมื่อของสำคัญสูญหาย
27 เมษายน 2568 | 599จากอดีตบ้านทุ่งเหม็นขี้ สู่บ้านทุ่งขมิ้น(นาหม่อม)
27 เมษายน 2568 | 344บุกป่าหาน้ำตกลับ...น้ำตกโตนหน้าผี ณ เขาพระ อ.รัตภูมิ
27 เมษายน 2568 | 593ศาลเจ้าแม่กวนอิมสวนหมาก ศาลเจ้าแห่งแรกที่ริเริ่มทำโรงทานเจในสงขลา
20 เมษายน 2568 | 495พาชม...บ้านขุนตระการตะเครียะเขต บ้านเก่าโบราณนับร้อยปี "บ้าน 108 เสา"
30 มีนาคม 2568 | 1,234รู้หม้ายว่า? สงขลาเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีวันประจำจังหวัด
30 มีนาคม 2568 | 1,044