หลัง HatyaiFocus พาทุกคนไปสัมผัสกับบรรยากาศของ วันที่ญี่ปุ่นบุกมายังสงขลา เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดขึ้นและลุกลามบานปลายเข้ามา ส่งผลให้วิถีชีวิตของชาวเมืองสงขลาต้องเปลี่ยนแปลงไป สงครามได้นําภัยพิบัติ การสูญเสียชีวิต ทรัพย์สิน และการเผชิญกับความอดอยาก ขาดแคลนเครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค อาหาร มาสู่ชาวสงขลา
ช่วงเวลานั้นเครื่องอุปโภค บริโภคต่าง ๆ ล้วนราคาสูงกว่าแต่ก่อน ทั้งนํ้ามัน เชื้อเพลิง เสื้อผ้า ยารักษาโรค นํ้าตาลทราย เกลือ สบู่ ยาสีฟัน เครื่องเขียน บุหรี่ ข้าวสาร ไม้ ขีดไฟ ด้าย เข็มเย็บผ้า ฯลฯ พวกพ่อค้าต่างฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้า รวมไปถึงกักตุนสินค้า ข้าวสาร น้ำตาล เสื้อผ้า ต้องแบ่งปันกัน
เศรษฐกิจตกต่ำทำให้ชาวบ้านต่างยากจน ร้านค้าและโรงงานอุตสาหกรรมในครัวเรือนต่างก็ต้องปิดตัวลงจนเกิดสภาวการณ์ ขาดแคลนอาหาร เครื่องอุปโภคบริโภค นํ้ามันเชื้อเพลิง เสื้อผ้าสวมใส่ขาดแคลน บางคนใส่เพียงผ้าโสร่งผืนเดียว
ตัวอย่างปัญหาการลักเล็กขโมยน้อย เกิดขึ้นในช่วงระหว่างที่ชาวสงขลา ต้องอพยพหนีภัยสงครามเพื่อไปอาศัยอยู่กับญาติที่ห่างไกลจากตัวเมืองสงขลา บางบ้านไม่มีคนเฝ้าดูแลในเวลากลางคืน ทําให้พวกพวกโจรฉวยโอกาสครอบครองหรือลักขโมยอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ ต่าง ๆ โดยเฉพาะย่านชุมชนชาวจีนในเขตถนนนครนอก - นครใน หากบ้านใดไม่มีผู้คนอาศัยอยู่จะต้องพบกับ การงัดแงะและขโมยเครื่องมือเครื่องใช้จนหมด
สาเหตุหนึ่งที่โจรผู้ร้าย ชุกชุม เพราะบ้านเมืองอยู่ในความวุ่นวาย ไม่ได้รับการดูแลรักษาความปลอดภัยจากบรรดา เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง เพราะทุกฝ่ายนั้นต่างก็ต้องยังชีพเพื่อความอยู่รอดในครอบครัวของตน
สําหรับโจรผู้ร้ายเท่าที่ปรากฏและได้ยินชื่อ คือ เสือเมฆและเสือหมอก ซึ่งเป็นโจรที่เลื่องชื่อมาตั้งแต่ก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัญหาการลักเล็กขโมยน้อยในสงขลา ของโจรทั้งสองสร้างความลําบากให้แก่ทหารญี่ปุ่น แต่ทหารญี่ปุ่นก็มิวิธีในการลงโทษ คือ ถ้าหากจับได้ว่าผู้ใดเป็นขโมยและมีหลักฐานอย่างชัดทหารญี่ปุ่นก็จะนํานํ้าสบู่มากรอก ปาก นับเป็นวิธีลงโทษที่ชาวบ้านต่างหวาดกลัวมากนั่นเอง
*ภาพที่ใช้เป็นเพียงภาพประกอบเท่านั้น
ขอบคุณภาพ/ข้อมูล : แปลก ศิลปกรรมพิเศษ , ความสำคัญของชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีนเขตเมืองสงขลาเก่า จากอดีตถึงปัจจุบัน : (อภิเชษฐ กาญจนดิฐ ศุภการ สิริไพศาล) , Chris Turner , ภาคีคนรักสงขลา
ชมภาพเก่าเมื่อ 89 ปีก่อน โรงงานแป้งสาคู ณ บ้านคลองแงะ (สะเดา)
13 กรกฎาคม 2568 | 169กว่า 161 ปี สุเหร่าบ้านพรุหมาก มัสยิดแห่งแรกของอำเภอเทพา
13 กรกฎาคม 2568 | 149ย้อนประวัติเรือพัทลุง เรือที่ใช้ติดต่อราชการระหว่างเมืองสงขลา-เมืองพัทลุง
13 กรกฎาคม 2568 | 160กัปตันวอสเบียน : ผู้ให้กำเนิดจักรยานพ่วงข้างคันแรกของปักษ์ใต้ ณ เชิงเขาตังกวน (สงขลา)
6 กรกฎาคม 2568 | 2,124ที่มาชื่อบ้านท่าช้าง อ.บางกล่ำ ย้อนรอยชม "เสาหงส์" ครั้งพม่ายกทัพตีหัวเมืองภาคใต้
6 กรกฎาคม 2568 | 401ย้อนตำนานเมื่อครั้งอดีต วงเวียนแยกหลาลุงแสง 3 ยุคสมัย 3 รูปแบบ
6 กรกฎาคม 2568 | 6,300ย้อนชมภูมิปัญญาการทำขวัญข้าว สู่การสร้างวงเวียนพระแม่โพสพ ศูนย์รวมจิตใจชาวระโนด
8 มิถุนายน 2568 | 1,243เปิดที่มาชุมชนประวัติศาสตร์ บ้านควนจง (นาหม่อม)
8 มิถุนายน 2568 | 1,381