ในที่ทำงาน แม้เกือบทุกคนจะมีพื้นเพเป็นคนถิ่นใต้ แต่ก็ตกลงกันว่าจะใช้ภาษาไทยมาตรฐานในการสื่อสารพูดคุยกัน เพราะจะได้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน แต่จะมีน้องคนหนึ่งที่มักจะโดนล้อแกมหยอกน่ารัก ๆ อยู่เสมอว่า ถ้าจะพูดทองแดงขนาดนี้ พูดใต้เลยก็ได้นะ โดนล้อบ่อย ๆ จนเราเองก็สงสัยว่า คำว่าทองแดง มาจากอะไร ทำไมต้องเรียกว่าทองแดง มีความหมายในแง่ดี หรือแง่ลบ ก่อนหน้านี้ ทางหาดใหญ่โฟกัสเคยบอกเล่าเรื่องราวเรื่อง คนใต้มาจากไหนไปแล้ว วันนี้ก็อยากจะเผยแพร่ เรื่องภาษาทองแดงมาจากไหน ให้ลองอ่านดูเพลิน ๆ
นายณัฐวุฒิ พงศ์จันทรเสถียร ได้อธิบาย ไว้ในเว็บ gotoknow ว่า "หลายท่านอาจสงสัยว่าทำไมจึงเรียกการใช้ภาษาลักษณะดังกล่าวว่า "ทองแดง" อัครา บุญทิพย์ (2535:213) ได้อธิบายไว้ว่า เกิดจากการเปรียบเทียบภาษากลางประหนึ่งมีค่า หรือทองคำ และการพูดภาษากลางไม่ถูกต้องเปรียบเป็นทองแดง ซึ่งไม่ใช่ทองแท้ เป็นคำต่ำต้อยด้อยค่า ผู้เขียนมีความเห็นว่าอาจจะเป็นด้วยความหมายในทางลบของภาษาทองแดงหรือเปล่าไม่ทราบ จึงส่งผลให้คนใต้ที่พูดภาษากลางไม่ถูกต้องนั้น จะถูกคนใต้ด้วยกันที่รู้ภาษาดีทั้งภาษาใต้และภาษากลาง ล้อเลียนเห็นเป็นเรื่องขบขัน รุนแรงกว่านั้นอาจถูกดูหมิ่นว่าเป็นคนบ้านนอก ไร้การศึกษา หรือไม่ประมาณตนในการใช้ภาษา แต่ถ้ามองในอีกแง่มุมหนึ่งของปฏิกิริยาดังกล่าว ก็อาจทำให้เขาเข้าใจค่านิยมของสังคมใต้ได้ว่า คนใต้เป็นคนที่มีความรู้สึกภาคนิยมสูง มีความหยิ่งและภูมิใจในภาษาถิ่นของตน เมืื่อคนใต้ด้วยกันทิ้งภาษาถิ่นของตนไปพูดภาษากลาง แล้วยังไม่พูดไม่ถูกต้อง จึงถูกมองอย่างติเตียน"
ส่วนในวิกิพีเดีย ให้ความหมายไว้อย่างน่าสนใจว่า ภาษาทองแดง เดิมเป็นชื่อของภาษาไทยถิ่นใต้ เป็นชื่อที่แปลมาจากเดิม คือ "ภาษาโพร" สันนิษฐานว่าการตั้งชื่อนี้มาจาก ชื่อของอาณาจักรตามพรลิงก์ (ตาม - พร - ลิง) ซึ่งคำว่า ตามพร (ะ) แปลว่า ทองแดง แต่ปัจจุบัน คำว่าทองแดง จะหมายถึง ผู้ที่มีภาษาแม่เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ เมื่อพูดภาษาไทยมาตรฐานแล้วสำเนียงจะไม่ชัด กล่าวคือ มีสำเนียงของภาษาไทยถิ่นใต้ มาปะปนอยู่กับภาษาไทยมาตรฐาน ชาวใต้จะเรียกอาการประมาณนี้ว่า แหลงทองแดง (ทองแดงหล่น) ตัวอย่างเช่น การออกเสียง ฮ. แทน ง. การออกเสียง ควฺ. ขวฺ. แทนเสียง ฟ. ฝ. (การจับผิดว่าชาวใต้คนหนึ่งคนใด "แหลงทองแดง" หรือพูดไม่ได้สำเนียงมาตรฐาน ชาวใต้ถือ เป็นการดูแคลน จะอนุญาตให้จับผิดได้ เฉพาะชาวใต้ด้วยกัน หรือเป็นคนที่สนิทสนมเท่านั้น) ปัจจุบันผู้ที่พูดภาษาใต้ไม่ชัด หรือออกสำเนียงใต้ไม่ชัดเจน ก็เรียกว่าแหลงทองแดงเช่นกัน
ส่วนตัวผู้เขียนมองว่า การพูดทองแดงไม่ใช่เรื่องที่เป็นข้อบกพร่อง หรือน่าตำหนิติเตียน และเห็นด้วยกับนายณัฐวุฒิ พงศ์จันทรเสถียรว่า "อย่างไรก็ตาม ในสังคมปัจจุบันซึ่งเป็นยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้อิทธิพลของการศึกษา ทำให้คนใต้ใช้ภาษากลางได้ถูกต้องมากขึ้น ภาษาทองแดงจึงเกือบแทบไม่มีให้ได้ยิน ในทางกลับกันคนที่พูดภาษากลางได้ถูกต้องมักจะแกล้งพูดภาษาทองแดง หรือรับเอาข้อบกพร่อง ข้อที่น่าติเตียนของคนที่พูดภาษาทองแดงมาล้อเลียนเพื่อสร้างอารมณ์ขัน มีตัวอย่างให้เห็นมากมาย โดยเฉพาะนักแสดง และดาราตลกหลายท่านที่มักอาศัยภาษาทองแดงเป็นบุคลิกลักษณะหรือเอกลักษณ์ของตน จนเป็นที่นิยมของผู้ชม ด้วยเหตุนี้จึงอาจทำให้ปฏิกิริยาในทางลบที่มีต่อผู้พูดภาษาทองแดงจึงค่อย ๆ ลดลงในปัจจุบัน
ใช้เป็นเพียงภาพประกอบเท่านั้น
ขอบคุณข้อมูลจาก : wikipedia , gotoknow
ขอบคุณภาพ : oknation
ศาลาตาเล่อเท่อ ที่พึ่งของชาวบ้านเมื่อของสำคัญสูญหาย
27 เมษายน 2568 | 304จากอดีตบ้านทุ่งเหม็นขี้ สู่บ้านทุ่งขมิ้น(นาหม่อม)
27 เมษายน 2568 | 278บุกป่าหาน้ำตกลับ...น้ำตกโตนหน้าผี ณ เขาพระ อ.รัตภูมิ
27 เมษายน 2568 | 337ศาลเจ้าแม่กวนอิมสวนหมาก ศาลเจ้าแห่งแรกที่ริเริ่มทำโรงทานเจในสงขลา
20 เมษายน 2568 | 265พาชม...บ้านขุนตระการตะเครียะเขต บ้านเก่าโบราณนับร้อยปี "บ้าน 108 เสา"
30 มีนาคม 2568 | 1,005รู้หม้ายว่า? สงขลาเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีวันประจำจังหวัด
30 มีนาคม 2568 | 798เปิดตำนานความเชื่อ พ่อปู่ภุชงค์-แม่ย่าทองคำ วัดโคกเปี้ยว สงขลา
30 มีนาคม 2568 | 657ศาลเจ้าพ่อทวดหมอน สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ตำบลคูขุด อ.สทิงพระ
2 มีนาคม 2568 | 932