หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

เรื่องราวหาดใหญ่

เปิดภาพ ‘คฤหาสน์สะเดา’ ทิ้งร้างมากว่า 100 ปี
13 กันยายน 2560 | 99,975

ทุกคนทราบหรือไม่ว่า เมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว มีผู้บุกเบิกทำสวนยางรุ่นแรก ๆ คือ หนึ่งในสี่ขุนพลผู้สร้างเมืองหาดใหญ่ 'ขุนนิพัทธ์จีนนคร' ท่านเปรียบเสมือนผู้ให้ กำเนิดยางพารา @หาดใหญ่ ต้นแรก ๆ ในหาดใหญ่ นับจากวันนั้นยางพาราถูกปลูกอย่างแพร่หลาย เริ่มจากบ้านพรุ จรด เมืองสะเดา

วันนี้ HatyaiFocus พาทุกคนมาเยือน สะเดา เมืองที่ไม่ธรรมดา เรามากันที่นี่ 'คลองรำ' หมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักมากนัก โดยเฉพาะคนต่างถิ่น แต่สืบทราบมาว่าที่นี่มี 'คฤหาสน์โบราณนับร้อยปี' ตั้งตระหง่าอยู่กลางสวนยางพารา หลังสถานีรถไฟคลองรำ (ปัจจุบันไม่มีแล้ว) ติดกับโรงพักทุ่งหมอ หลัง ต.ทุ่งหมอ อ.สะเดา จ.สงขลา

HatyaiFocus ได้รับการบอกเล่าจากนายชาติชาย พุทธกูล อายุ 50 ปี ชาวบ้านคลองรำ ต.ทุ่งหมอ อ.สะเดา อาชีพทนายความ ว่า บริเวณกลางป่ายางพารา มีบ้านโบราณขนาดใหญ่ปลูกในเนื้อที่หลายไร่ สร้างด้วยไม้สักและไม้ท้องถิ่น สภาพบ้านชำรุดทรุดโทรม แต่ยังคงแสดงให้เห็นถึงความรุ่งเรืองในอดีต

เดิมบ้านหลังนี้เป็นของนางฉ้าย เจริญ ชาว ต.ป่าขาด อ.สิงหนคร สงขลา (มีศักดิ์เป็นคุณทวดของ นายศักระ กปิลกาญจน์ ปลัดจังหวัดสงขลา) ซึ่งคือต้นตระกูลเจริญ และได้ตกทอดมาถึงรุ่นลูกหลาน ซึ่งท่านปลัดจังหวัดสงขลาก็เป็นลูกหลานตระกูล เจริญ (ฝั่งคุณแม่) กับ กปิลกาญจน์ (ฝั่งคุณพ่อ)

บ้านหลังนี้มีภาพบรรพบุรุษของเจ้าของบ้านติดอยู่ รวมถึงภาพพระบรมฉายาลักษณ์ รัชกาลที่ 9 แบบนูนต่ำ มีตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์ติดที่เนื้อประตู ภายในบ้านชั้น 2 เป็นห้องต่าง ๆ 3 ห้องนอน มีรูปภาพรวมญาติถ่ายตั้งแต่ พ.ศ. 2465 หลายรูป นับได้ว่าบ้านหลังนี้มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เป็นหลักฐานชั้นต้นที่สื่อถึงความรุ่งเรืองของเศรษฐกิจยางพาราในจังหวัดสงขลา 

หากย้อนไปเมื่อ 100 ปีที่แล้ว นางฉ้าย เจริญ ท่านมีสามีเป็นคหบดีชาวสงขลา ได้ริเริ่มปลูกยางพาราเป็นเจ้าแรกในระบบอุตสาหกรรมการเกษตร มีการนำเข้าต้นยางพาราพันธุ์มาเลเซีย มาปลูกในเนื้อที่ 5 พันไร่

 

ต่อมาการปลูกยางพาราได้แพร่หลายไปสู่ชาวบ้าน ซึ่งครอบคลุมพื้นที่บ้านคลองรำ พร้อมทั้งนำญาติพี่น้องชาวป่าขาด อพยพมาด้วยนับ 100 คน เพื่อมาทำสวนยางพารา นอกจากนี้ยังมีเรือนพักคนงานหรือกงสีด้านหลังกว่า 30 ห้อง

 

ที่นี่มีเครื่องจักรไอน้ำยี่ห้อ Tangyes Patents จากเมืองเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ เพื่อนำมาฉุดเครื่องรีดยางพาราแผ่นจำนวนหลายเครื่องในโกดัง และเครื่องรีดยางพารา บางตัวมีเครื่องยนต์ยุคแรกติดตั้งแยกต่างหาก

 

 เบื้องต้นทราบว่าที่นี่เป็นแหล่งผลิตยางพาราคุณภาพสูง สำหรับส่งในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศ เป็นระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าสูงในยุคสมัยนั้น

นอกจากนี้ที่นี่ยังเป็นสถานที่ถ่ายทำ ภาพยนตร์ไทยเรื่อง ปุลากง เมื่อปี พ.ศ.2532 ซึ่งแสดงโดยอำพล ลำพูน ด้วย

ปัจจุบันสวนยางพาราได้รับการดูแลโดยครอบครัว กปิลกาญจน์ ส่วนเครื่องจักรทุกชนิดยังคงอยู่ที่บ้านหลังนี้ ถูกทิ้งร้างได้รับความเสียหายจากธรรมชาติ ถือเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์สวนยางพาราสวนแรก ๆ ในจังหวัดสงขลา

 

ขอบคุณข้อมูล/ภาพ : เอกราช วงศ์ทอง

เรียบเรียง : HatyaiFocus

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง