“ขอให้ถือผลประโยชน์ส่วนตัวเปนที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เปนกิจที่หนึ่ง ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศ จะตกมาแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพย์ไว้ให้บริสุทธิ” หากใครร่ำเรียนในรั้ว ม.อ. ต้องคุ้นเคยกับวลีนี้เป็นอย่างดี พระราโชวาทแห่งสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เป็นสิ่งที่ชาว ม.อ. ต่างน้อมนำเพื่อยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ
วันนี้ HatyaiFocus พาทุกคนมาร่วมรำลึกถึงพระราชบิดาและเรียนรู้ว่าทำไมต้องมีการจัดงาน ‘วันมหิดล’
หากย้อนไปเมื่อหนึ่งร้อยปีที่แล้ว มีพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์หนึ่ง นามว่า ‘สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมขุนสงขลานครินทร์’ แม้ทรงมีฐานะเป็นถึงพระโอรสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เมื่อทรงพระเยาว์มีโอกาสเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ ร่ำเรียนวิชาการหลากหลาย ทั้งประเทศอังกฤษ และเยอรมัน
สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงฉายพระฉายาลักษณ์ ร่วมกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ
ด้วยเห็นถึงความสำคัญของชีวิตเพื่อนมนุษย์และพสกนิกรชาวไทย ทรงเห็นว่าการแพทย์และการสาธารณสุขจะเป็นประโยชน์ต่อพสกนิกรยิ่งกว่า สมเด็จพระบรมราชชนก จึงเสด็จไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อเริ่มศึกษาด้านการแพทย์ การเสด็จไปครั้งนั้นนำมาซึ่งจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ของวงการแพทย์ไทย
ขณะทรงศึกษาวิชาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ทรงให้สัมภาษณ์กับสื่อของสหรัฐฯ ว่า “แม้ว่าข้าพเจ้าอาจจะไม่มีโอกาสได้ขึ้นครองราชย์ แต่นั่นมิได้เป็นสิ่งที่ข้าพเจ้ากังวลใจ เพราะความมุ่งมั่นของข้าพเจ้านั้น คือ การดำรงชีวิตอยู่อย่างทรงคุณค่า ข้าพเจ้าอาจมีชีวิตอยู่อย่างสะดวกสบายอย่างสมพระเกียรติในฐานะพระอนุชาขององค์พระมหากษัตริย์ แต่ข้าพเจ้าคิดว่า ข้าพเจ้ามิควรจะได้รับการยกย่องเพียงเพราะว่าข้าพเจ้าเป็นพระอนุชาของพระมหากษัตริย์เท่านั้น หากข้าพเข้าจะได้รับการยกย่องเชิดชู ข้าพเจ้าก็หวังว่าจะเป็นเพราะพระเกียรติของข้าพเจ้าเอง นั่นก็คือการอุทิศตน เพื่อทำประโยชน์ให้กับประชาชนและบ้านเมืองสยาม”
หลังจากทรงเรียนจบวิชาการแพทย์ และหวังจะทำหน้าที่แพทย์ ณ โรงพยาบาลศิริราช แต่ด้วยพระองค์ฐานันดรศักดิ์และพระราชประเพณีจึงไม่สามารถทำหน้าที่ได้ ท่านจึงทรงย้ายไปปฏิบัติหน้าที่แพทย์ที่นอกพระนคร โดยปฏิบัติงานอยู่ที่โรงพยาบาลแมคคอมิค จ.เชียงใหม่ ทรงปฏิบัติพระองค์อย่างหมอทั่วไป เวลาจ่ายใบสั่งยา ก็ทรงลงพระปรมาภิไธยคล้ายสามัญชนว่า “มหิดลสงขลา”
ท่านทรงทุ่มเทพระวรกาย พระสติปัญญา ในฐานะแพทย์ที่มีน้ำพระทัยเปี่ยมล้นด้วยเมตตา รวมทั้งเป็นผู้หนึ่งที่วางรากฐานวงการแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทรงเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาศิริราชให้เจริญก้าวหน้ามาถึงปัจจุบัน จึงได้มีการขนานนามพระองค์ว่าเป็น ‘พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย’
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงกำหนดให้วันที่ 24 กันยายนของทุกปีเป็น ‘วันมหิดล’ เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันเสด็จทิวงคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก กรมหลวงสงขลานครินทร์ ทุกปีจะจัดกิจกรรมวางพวงมาลาถวายสักการะพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระบรมราชชนก และวันประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง เป็นประจำทุกปี เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์
ขอบคุณรูป/ข้อมูล : psu.ac.th , VejthaniHospital
เขียนและเรียบเรียง : HatyaiFocus
ย้อนชมภูมิปัญญาการทำขวัญข้าว สู่การสร้างวงเวียนพระแม่โพสพ ศูนย์รวมจิตใจชาวระโนด
8 มิถุนายน 2568 | 709เปิดที่มาชุมชนประวัติศาสตร์ บ้านควนจง (นาหม่อม)
8 มิถุนายน 2568 | 992วิถีมุสลิมบ้านดอนขี้เหล็ก "ประเพณีการทูนพานอาหาร" ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 100 ปี
8 มิถุนายน 2568 | 668เปิดตำนาน...ที่มาชื่อบ้านบ่อแดง อ.สทิงพระ
25 พฤษภาคม 2568 | 1,400ของดีของหรอยท่าเลออก ตลาดริมทางของผู้สัญจรผ่าน ณ สามแยกบ่อทราย (ปากรอ)
25 พฤษภาคม 2568 | 3,703ตำนานทวดเข้...ทวดขุนดำ-ทวดแขนลาย แห่งสายน้ำคลองท่าม่วง อ.ควนเนียง
25 พฤษภาคม 2568 | 2,252ร่องรอยจากอดีต พิพิธภัณฑ์วัดท่าช้าง(บางกล่ำ)
18 พฤษภาคม 2568 | 973เจ้าบ่าวน้อยแห่งควนเขาสูง : วีรบุรุษชุมชนท้องถิ่น บ้านพรุเตาะ ต.ทุ่งใหญ่
18 พฤษภาคม 2568 | 2,467