HatyaiFocus พาทุกคนมารู้จักไม้ผลชนิดหนึ่ง ปัจจุบันหากินได้ยากและน้อยคนนักที่จะรู้จัก ยิ่งเด็กในเมืองคงไม่รู้จักแน่นอน ไม้ผลทีี่เราจะมาตามล่าหาที่มากันในวันนี้ คือ ฉิ่ง หรือ ลูกฉิ่ง เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทตี 1 ชุดมี 2 ฝา บัญญัติอยู่ในพยัญชนะไทย 44 ตัว “ ฉ ฉิ่ง ตีดัง ช ช้างวิ่งหนี “ ผู้เขียนคิดว่าหลาย ๆ คนคงจะรู้จักและเชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเคยตี ฉิ่ง เป็นแน่ …. เขียนมาตั้งนานไหนสาระ !!!
งั้นมาเข้าเรื่องกันดีกว่า ฉิ่ง ไม่ใช่เป็นเพียงชื่อเครื่องดนตรีนะ แต่เป็นชื่อเรียกไม้ผลชนิดหนึ่ง ภาษาพื้นฐานใช้คำว่า มะเดื่อป่า ภาษาบ้าน ๆ จะเรียก ลูกฉิ่ง จัดเป็นไม้ป่าที่นิยมนำผลมารับประทานทั้งผลสด และผลตากแห้ง รสชาติ ออกหวานอมฝาดปัจจุบันกลายเป็นพืชที่หากินยาก
แล้วหน้าตาเป็นอย่างไร...มารู้จักกัน
ลักษณะต้นเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นแตกกิ่งมากเป็นทรงพุ่มแผ่กว้าง ลำต้นสูงประมาณ 3 - 10 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีเทาอมน้ำตาล และมียางสีขาว ส่วนแก่นไม้เป็นไม้เนื้ออ่อน ไม่นิยมใช้ในการก่อสร้างหรือแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์
ผลมะเดื่อป่า ออกเป็นผลเดี่ยว มีลักษณะเกือบทรงกลม ขั้วผลสอบแคบ ซึ่งไม่ใช่ผลจริง เพราะเป็นผลที่ไม่ได้เกิดจากการผสมเกสร แต่เป็นผลที่พัฒนามาจากฐานรองดอกที่เป็นก้านช่อดอกโค้งเข้าหากัน แต่ก็มีมะเดื่อฝรั่งชนิดผลจริงที่เกิดจากการผสมเกสร ดังนั้น ผลที่เราเห็นก็คือส่วนของก้านช่อดอกที่มีลักษณะพองใหญ่ห่อหุ้มผลด้านในไว้ เพราะผลจริงคือเมล็ดที่มีขนาดเล็กอยู่ด้านใน ในแต่ละผลจะมีเมล็ดประมาณ 1000 - 1,500 เมล็ดต่อผล ผลสุกมีสีแดง
มารู้คุณประโยชน์ทางยากันสักนิด...
ผลอ่อน
- รับประทานเป็นอาหาร
เปลือกต้น
- มีรสฝาด
- รับประทานแก้ท้องร่วง
- ชะล้างบาดแผล เป็นยาสมานดี
ราก
- เป็นยาแก้ไข้ กระทุ้งพิษไข้ แก้ไข้หัว ไข้กาฬ ไข้พิษทุกชนิด
- กล่อมเสมหะ และโลหิต
ที่สำคัญภาคใต้บ้านเราจะนำผลมะเดื่อป่ามากินกับขนมจีน หรือน้ำพริก เป็นผักเหนาะที่คู่กัน หากเลือกซื้อร้านชนบท จะยังหาลูกฉิ่งทานได้ เพราะไม้ผลประเภทนี้พบได้ในสวนยางพาราหรือในป่าที่ยังคงหลงเหลือความเป็นธรรมชาติอยู่
ขอบคุณภาพจาก : Stalkture,บ้านสวนพอเพียง
เรียบเรียง : HatyaiFocus
ชมภาพเก่าเมื่อ 89 ปีก่อน โรงงานแป้งสาคู ณ บ้านคลองแงะ (สะเดา)
13 กรกฎาคม 2568 | 124กว่า 161 ปี สุเหร่าบ้านพรุหมาก มัสยิดแห่งแรกของอำเภอเทพา
13 กรกฎาคม 2568 | 113ย้อนประวัติเรือพัทลุง เรือที่ใช้ติดต่อราชการระหว่างเมืองสงขลา-เมืองพัทลุง
13 กรกฎาคม 2568 | 122กัปตันวอสเบียน : ผู้ให้กำเนิดจักรยานพ่วงข้างคันแรกของปักษ์ใต้ ณ เชิงเขาตังกวน (สงขลา)
6 กรกฎาคม 2568 | 2,080ที่มาชื่อบ้านท่าช้าง อ.บางกล่ำ ย้อนรอยชม "เสาหงส์" ครั้งพม่ายกทัพตีหัวเมืองภาคใต้
6 กรกฎาคม 2568 | 380ย้อนตำนานเมื่อครั้งอดีต วงเวียนแยกหลาลุงแสง 3 ยุคสมัย 3 รูปแบบ
6 กรกฎาคม 2568 | 6,172ย้อนชมภูมิปัญญาการทำขวัญข้าว สู่การสร้างวงเวียนพระแม่โพสพ ศูนย์รวมจิตใจชาวระโนด
8 มิถุนายน 2568 | 1,204เปิดที่มาชุมชนประวัติศาสตร์ บ้านควนจง (นาหม่อม)
8 มิถุนายน 2568 | 1,335