ชาวพรุเตาะ ในพื้นที่ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีการนับถือเจ้าบ่าวน้อยบริเวณเขาควนสูงมานานต้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน ผู้อาวุโสในชุมชนยังจดจำเรื่องราวเจ้าบ่าวน้อยและสามารถถ่ายทอดเรื่องราวเหล่านี้ได้ว่า เจ้าบ่าวน้อยคือต้นไม้ยืนต้นสูงตระหง่านโดดเด่นอยู่ในป่าแห่งนี้เพียงต้นเดียวมาเป็นเวลานาน ความสูงใหญ่ของลำต้นแตกต่างจากต้นไม้ต้นอื่นในบริเวณนั้น คนในชุมชนควนสูงนับถือว่า เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้านที่สามารถช่วยบำบัดทุกข์คุ้มครองปกปักรักษาชุมชนให้เกิดความสงบสุขและช่วยให้สมปรารถนาตามที่ตนบนบาน อาทิ ความเจ็บป่วยการสอบเข้าศึกษาต่อ การสอบเข้ารับราชการ สอบเข้าทำงาน การขอฝน เป็นต้น ในทุกๆ ปีมีการประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนาบูชาเจ้าบ่าวน้อย ร่วมกับการแก้บนซึ่งถือว่าเป็นประเพณีที่หลอมรวมคนในชุมชนให้เป็นหนึ่งเดียว
เจ้าบ่าวน้อยในฐานะผู้คุ้มครอง ชาวพรุเตาะให้ความเคารพนับถือและเชื่อว่าเจ้าบ่าวน้อยสามารถปกป้องคุ้มครองภัยอันตรายจากเหตุร้ายทั้งปวงได้ จึงนิยมร้องขอให้เจ้าบ่าวน้อยช่วยให้ตนสมปรารถนา เรื่องที่บนบานหลักๆ ได้แก่ ลูกหางานทำก็อยากให้ลูกได้ทำ งานเร็วๆ ส่วนใหญ่คนที่มีธุระจะบนบานเจ้าบ่าวน้อย เมื่อพายุมา ขอให้พายุผ่านไป อย่ามีอันตราย ช่วยปัดกวาดออกไปที่อื่น ชาวบ้านจะได้ไม่เดือดร้อน เดี๋ยวนี้ก็ยังบนเจ้าบ่าวน้อยถ้าเดินทางไกล ต้องยกมือไหว้ให้ช่วยคุ้มครองให้ปลอดภัย หลายคนเชื่อว่า เจ้าบ่าวน้อย ยังทำ หน้าที่คุ้มครองคนในหมู่บ้านให้ปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย โดยสมัยก่อนมีโจรเข้ามาขโมยสิ่งของในหมู่บ้าน เจ้าบ่าวน้อยเป็นผู้นำของหมู่บ้าน ได้พาคนขึ้นเขาไปซ่อนตัวบนลาน โจรตามขึ้นไปมองไม่เห็น
เจ้าบ่าวน้อยในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ชาวพรุเตาะนิยมเรียกเจ้าบ่าวน้อยว่า ศักดิ์สิทธิ์ควนสูงเพราะมีความเชื่อว่าเจ้าบ่าวน้อยคือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งสิงสถิตในต้นไม้ 3 ต้นเรียงกัน ชาวพรุเตาะเชื่อว่าเป็น 3 พี่น้อง เจ้าบ่าวน้อย คือต้นตรงกลางขนาดใหญ่สุด 2 คนโอบ ที่ชาวพรุเตาะให้ความเคารพและศรัทธาว่าสามารถ ดลบันดาลให้ได้สิ่งที่ตนเองปรารถนา นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับเจ้าบ่าวน้อยในหลายประเด็น ได้แก่ ในอดีตชาวพรุเตาะส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำ นาทำสวนผลไม้เป็นหลัก จึงมีความต้องการให้ ฝนตกต้องตามฤดูกาล เพื่อให้ข้าวและพืชผลได้ผลผลิตอุดมสมบูรณ์ บางปีฝนไม่ตกจึงมีการนัด หมายกันขึ้นไปทำ พิธีขอฝน ณ สถานที่ที่เจ้าบ่าวน้อยสิงสถิตอยู่บนเขาควนสูง นอกจากนี้ยังมีการเล่าต่อๆ กันมาว่า ส่วนใหญ่ไปทำ พิธีขอฝนในบริเวณพื้นที่ของ เจ้าบ่าวน้อยบนเขาควนสูง มีการนิมนต์พระสงฆ์มาทำ พิธีทางศาสนา ขณะลงมาจากเขาควนสูงฝนก็ไล่มาเลย
ภาพ : Naamchoop
ชาวพรุเตาะจึงมีความเชื่อมั่นและเคารพนับถือเจ้าบ่าวน้อยว่าสามารถปกป้องคุ้มครองดูแลทุกข์สุขของชาวพรุเตาะให้ผ่านพ้นอันตรายและอุปสรรคทั้งปวง แต่ไม่สามารถให้โชคลาภที่เกี่ยวกับการพนันได้
ข้อมูลบทความ : จุรีรัตน์ บัวแก้ว (ภาควิชาสารัตถศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา)
ย้อนชมภูมิปัญญาการทำขวัญข้าว สู่การสร้างวงเวียนพระแม่โพสพ ศูนย์รวมจิตใจชาวระโนด
8 มิถุนายน 2568 | 295เปิดที่มาชุมชนประวัติศาสตร์ บ้านควนจง (นาหม่อม)
8 มิถุนายน 2568 | 319วิถีมุสลิมบ้านดอนขี้เหล็ก "ประเพณีการทูนพานอาหาร" ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 100 ปี
8 มิถุนายน 2568 | 376เปิดตำนาน...ที่มาชื่อบ้านบ่อแดง อ.สทิงพระ
25 พฤษภาคม 2568 | 868ของดีของหรอยท่าเลออก ตลาดริมทางของผู้สัญจรผ่าน ณ สามแยกบ่อทราย (ปากรอ)
25 พฤษภาคม 2568 | 3,110ตำนานทวดเข้...ทวดขุนดำ-ทวดแขนลาย แห่งสายน้ำคลองท่าม่วง อ.ควนเนียง
25 พฤษภาคม 2568 | 1,779ร่องรอยจากอดีต พิพิธภัณฑ์วัดท่าช้าง(บางกล่ำ)
18 พฤษภาคม 2568 | 730หรางเมืองสงขลาในอดีต ครั้นย้ายเมืองสงขลามาฝั่งบ่อยาง
18 พฤษภาคม 2568 | 1,232