บ้านสำนักขามตั้งอยู่ในพื้นที่ เทศบาลตำบลสำนักขาม หมู่ที่ 1 ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ที่เล่าสืบทอดกันมาจาก ในอดีตมีการเดินทางค้าขายระหว่างราษฎรในอำเภอสะเดากับราษฎรในประเทศมาเลเซีย เมื่อก่อนเป็นการเดินทางค้าขายโดยทางเท้า ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการค้าขายวัว โดยการลากจูงจากอำเภอสะเดาไปประเทศมาเลเซีย บริเวณบ้านสำนักขามปัจจุบันเมื่อสมัยก่อนมีการสร้างที่พักริมทางซึ่งเรียกกันว่า "สำนัก" สร้างไว้ใต้ต้นมะขามที่อยู่บนจอมปลวกขนาดใหญ่ ซึ่งผู้ค้าขายเดินทางแล้วจะพัก ณ ศาลาที่พักแห่งนี้ทั้งหมด และถือเป็นที่รวมกลุ่มของผู้เดินทาง และเป็นจุดนัดพบกันระหว่างผู้เดินทาง
โดยผู้ที่ต้นมะขามดังกล่าวต้องทำความเคารพ ช้าง ม้า วัว ควาย ก็ต้องหยุด หากไม่หยุดจะเกิดเจ็บป่วย หรือสัตว์จะไม่ยอมเดินทางต่อ คณะแสดงต่างๆ ก็ต้องมาหยุดแสดง หรือขอขมาเจ้าที่เจ้าทาง ณ จุดดังกล่าว ก่อนจะเดินทางต่อได้ ทำให้เป็นที่รู้จักกันอย่างดีของผู้คนทั่วไป และสำนัก น่าจะมาจากการตั้งสำนักปฏิบัติธรรมในบริเวณต้นมะขาม ผู้คนเลยเรียกกันว่า สำนักต้นมะขาม และชื่อยาวมา ทำให้เพี้ยนมาเป็นสำนักขาม
ต่อมาได้แยกตัวออกมาตั้งเป็นตำบลใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2531โดยตั้งชื่อว่า "ตำบลสำนักขาม" มีทั้งหมด 7 หมู่บ้าน และตามมติที่ประชุมสภาตำบลได้ตั้งชื่อตำบลโดยกำหนดเอาพื้นที่ศูนย์พัฒนาตำบลตั้งอยู่ คือ บ้านสำนักขาม หมู่ที่ 1 ซึ่งเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป เป็นที่ตั้งที่ทำการสภาตำบลสำนักขาม
และต่อมาได้ยกฐานะจากสภาตำบลสำนักขามเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลสำนักขาม เมื่อวันที่ 3 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2539 และได้ยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลสำนักขามเป็นเทศบาลตำบลสำนักขาม เมื่อวันที่ 1 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2549
ที่มาบทความ : เทศบาลตำบลสำนักขาม
เหตุอัศจรรย์ระหว่างการก่อสร้าง ธรรมสถานพระโพธิสัตว์กวนอิม (เขาเทียมดา)
12 มกราคม 2568 | 91เปิดตำนาน...ปู่เจ้าเขาเขียวแห่งสิงหนคร
12 มกราคม 2568 | 105ในหลวงรัชกาลที่9 กับการพัฒนาจังหวัดสงขลา
12 มกราคม 2568 | 101ย้อนประวัติจวนเจ้าเมืองสงขลา สมัยธนบุรี - รัตนโกสินทร์
5 มกราคม 2568 | 156พาชมพระสยามเทวาธิราชจำลอง 1 ใน 5 หัวเมือง ประดิษฐานอยู่ที่ ต.ปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา
5 มกราคม 2568 | 139คนสงขลากับความเชื่อเรื่องทวด ที่ปรากฎในโองการทวดอารักษ์ศักดิ์สิทธิ์จังหวัดสงขลา
5 มกราคม 2568 | 171ศาลาทวดสะบ้าย้อย ความศรัทธาสู่สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจของชาวสะบ้าย้อย
15 ธันวาคม 2567 | 280