สมัยโบราณเมืองสงขลาถือว่าเป็นเมืองท่าที่มีความสำคัญในภาคใต้ โดยเฉพาะบริเวณรอบทะเลสาบสงขลา เป็นพื้นที่ที่มีการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า ทั้งในประเทศและนอกประเทศ ทำให้เมืองสงขลากลายเป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมทั้งไทย จีน มุสลิม และชาติตะวันตก อีกทั้งมีภูมิประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ เห็นได้จากมีการปลูกข้าวบริเวณรอบๆ ทะเลสาบสงขลา สะท้อนให้เห็นว่าลุ่มทะเลสาบสงขลาเป็นอู่ข้าว อู่น้ำ ของภาคใต้มาช้านาน
เมื่อบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลาแห่งนี้ เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าว ทำให้เกิดการลงทุนธุรกิจที่เรียกว่าโรงสีข้าวขึ้นมา เพื่อรองรับการซื้อขายข้าวในลุ่มทะเลสาบสงขลา ตลอดจนพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง เช่น อำเภอระโนด อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช และพื้นที่บางส่วนจากจังหวัดพัทลุง โดยในบทความเรื่องนี้จะขอพูดถึงโรงสีข้าวในจังหวัดสงขลา 3 โรงสี ฝั่งบ่อยาง ได้แก่ โรงสีทองมี โรงสีหับ โห้ หิ้น (โรงสีแดง) และโรงสีหกเส็งหิ้น ดังนี้
1.โรงสีหลวงอุดม มีชื่อเรียกทั้งหมด 5 ยุค ดังนี้
ยุคที่ 1 โรงสีหลวงอุดม
ยุคที่ 2 โรงสีลิ่มซุ่นหงวน
ยุคที่ 3 โรงสีบั่นตินหล่ำ
ยุคที่ 4 – 5 โรงสีทองมี
การก่อตั้งโรงสีหลวงอุดม โดยหลวงอุดม ซึ่งรับราชการอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มาตั้งโรงสีไฟแห่งแรกในเมืองสงขลา ไม่ปรากฏปีที่ก่อตั้ง ซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมทะเลสาบสงขลา ด้านหนึ่งติดกับถนนนครใน ปัจจุบันคือ หลังธนาคารกสิกรไทย สาขาถนนนครใน
2.โรงสีหับ โห้ หิ้น (โรงสีแดง) หับ โห้ หิ้น เป็นภาษาจีนฮกเกี้ยน หมายถึง ความสามัคคี ความกลมเกลียว และความเจริญรุ่งเรือง เป็นโรงสีข้าวขนาดใหญ่ในลุ่มทะเลสาบสงขลา สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 2457 โดยขุนราชกิจการี (ซุ่นเลี่ยง เสาวพฤกษ์) คนสงขลาจะรู้จักและเรียกกันว่า โรงสีแดง เพราะตัวอาคารจะเป็นสีแดงทั้งหลัง ต่อมาพ.ศ. 2473 คุณสุชาติ รัตนปราการ ผู้รับช่วงกิจการเข้ามาดำเนินธุรกิจโรงสีข้าวมีการเปลี่ยนระบบการทำงานของเครื่องจักรโรงสี โดยการเปลี่ยนมาใช้เครื่องจักรไอน้ำโดยใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงในการสีข้าวแทนการใช้เครื่องจักรแบบมอเตอร์ในการสีข้าว โดยมีการสั่งซื้อมาจากบริษัทบอร์เนียว ประเทศอังกฤษ สามารถสีข้าวได้วันละ 40 – 50 เกวียนข้าวเปลือก ได้ดำเนินกิจการมาจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้บุกยืดเมืองสงขลา โดยใช้โรงสีแดงเป็นคลังสำหรับเก็บเวชภัณฑ์ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด
(ภาพ : Unesco มรดกความทรงจำของประเทศไทย)
โรงสีแดงได้เป็นแกนนำชักชวนโรงสีข้าวในจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา จัดตั้ง บริษัท ข้าวไทยปักษ์ใต้ จนถึงพ.ศ. 2490 โรงสีแดงได้ปิดกิจการสีข้าวลง เนื่องจากได้เกิดโรงสีขนาดเล็กขึ้นตามชุมชนท้องถิ่น ทำให้ไม่มีข้าวเปลือกป้อนส่งเข้ามายังโรงสี หลังจากหยุดสีข้าว เมื่อพ.ศ. 2491 ได้ดัดแปลงโรงสีข้าวเป็นโกดังเก็บยางพาราก่อนส่งออกไปยังต่างประเทศ จึงจัดตั้งบริษัทขนส่งสินค้าโดยเรือลำเลียงเป็นบริษัทแรกเมื่อพ.ศ. 2491 ทำการขนส่งยางพาราไปสู่เรือเดินสมุทรที่จอดนอกฝั่งทะเลสงขลา เพื่อส่งไปต่างประเทศ ดำเนินกิจการมาจนถึงพ.ศ. 2527 ก็ต้องหยุดกิจการลง เนื่องจากท่าเรือน้ำลึกสงขลาเปิดดำเนินการขึ้น
(ภาพ : ภาคีคนรักเมืองสงขลา)
3.โรงสีหกเส็งหิ้น ตั้งอยู่ริมทะเลสาบสงขลา ผู้ก่อตั้งคือ นายจินดา อุดมอักษร ก่อตั้งก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันอยู่ใกล้กับโรงแรมแลคอินน์ ปิดกิจการลงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และกลับมาดำเนินกิจการอีกครั้งจนถึงพ.ศ. 2490 จึงได้ยุติกิจการลง
ในปัจจุบันอาจจะไม่ปรากฏตัวอาคารของโรงสีครบดังที่กล่าวมา เนื่องจากเกิดปัจจัยหลายอย่าง อาทิ ความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือปัจจัยทางเศรษฐกิจหลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ตลอดจนเกิดโรงสีข้าวขนาดเล็กขึ้นตามท้องถิ่นและชุมชนรอบทะเลสาบสงขลา ทำให้ไม่มีข้าวเปลือกป้อนมายังโรงสี ทำให้ธุรกิจโรงสีข้าวทยอยปิดกิจการลง มีเพียงโรงสีเดียวที่ยังปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน คือ โรงสีหับ โห้ หิ้น (โรงสีแดง)
ถึงแม้ในปัจจุบันไม่มีการดำเนินธุรกิจโรงสีข้าวแล้ว แต่ยังปรากฏให้เห็นตัวอาคาร เนื่องจากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงสีหับ โห้ หิ้น (โรงสีแดง) ถูกใช้เป็นคลังเก็บเวชภัณฑ์ ทำให้ตัวอาคารไม่ได้รับความเสียเท่ากับโรงสีอื่น ตลอดจนทายาทของตระกูลได้ดูแลทำนุบำรุงรักษา ซ่อมแซมโครงสร้าง ทำให้ลักษณะอาคารและปล่องไฟยังคงความสมบูรณ์อยู่ในสภาพเดิม ปัจจุบันได้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่บอกเล่าเรื่องราวในอดีตของเมืองสงขลา ด้วยสถาปัตยกรรมและโครงสร้างของอาคารที่มีลักษณะสีแดงโดดเด่น ทำให้ผู้คนเข้ามาเยี่ยมเยือนและท่องเที่ยวอยู่บ่อยครั้ง
ภาพ/ข้อมูลบทความ : The National Archives of Thailand, Songkhla หอจดหมายเหตุเเห่งชาติฯ สงขลา
ชุมชนตลาดปริก(สะเดา) ศูนย์กลางของตำบลในอดีตสมัยร.5
8 ธันวาคม 2567 | 100เปิดตำนานเจ้านางสีดอกไม้กับเจ้าเมืองหลาโต๊ะเมือง ณ บ้านนาทับ (สงขลา)
8 ธันวาคม 2567 | 254รู้จัก...จับปิ้ง อาภรณ์นุ่งห่มของเยาวสตรีในอดีต
8 ธันวาคม 2567 | 62รู้หรือไม่? หาดใหญ่ปรากฎชื่อครั้งแรกในบันทึกประวัติศาตร์มาเลเซีย ก่อนปรากฎในพงศาวดารของไทย
24 พฤศจิกายน 2567 | 674พาชมตราพระปรมาภิไธยย่อ(ภปร.) และตำนานน้ำตกฉัตรวาริน จ.นราธิวาส
24 พฤศจิกายน 2567 | 172ที่มา...วรนารีเฉลิม อดีตโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดสงขลา
24 พฤศจิกายน 2567 | 3,116ย้อนเหตุการณ์พิธีสมรสหมู่ เมืองพัทลุง
10 พฤศจิกายน 2567 | 434อีก 1 ตำนานเมืองหาดใหญ่ ตลาดสันติสุข-แผงทอง สวรรค์ของนักช็อปตัวยง
10 พฤศจิกายน 2567 | 469