ในช่วงเช้าๆ สิ่งที่คุ้นหน้าคุ้นตาเป็นอย่างดีของหมู่บ้านชุมชนแถบชานเมืองหรือชนบท คือผู้ชายมักจะนำเอานกกรงหัวจุกติดตัวไปกินน้ำชา/กาแฟเป็นประจำในทุกๆเช้า มือหนึ่งจะใช้สำหรับขับขี่รถมอเตอร์ไซค์คู่ใจส่วนอีกมือหนึ่งก็จับกรงของนกกรงหัวจุกแสนรักไว้มั่น พร้อมกับพาไปพบปะเพื่อนฝูง พูดคุยฟังเสียงนกร้องกันบริเวณร้านน้ำชาหรือสภากาแฟ และจะขี่รถกลับบ้านก็ต่อเมื่อเวลาล่วงเลยจนถึงช่วงเที่ยงเท่านั้น วันนี้จะพาทุกคนมาชมประวัติความเป็นมาของนกกรงหัวจุกกัน
โดยนกกรงหัวจุกเป็นนกที่มีอยู่ในป่าทั่วทุกภาคของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งชาวบ้านในสามจังหวัดชายแดนและจังหวัดอื่นๆในภาคใต้นิยมเลี้ยงไว้ดูเล่น เพลิดเพลิน สนุกสนานเป็นเวลานานแล้ว จากการบอกเล่าของผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุกบางท่านเล่าว่า สมัยก่อนช่วงฤดูการถือศีลอดในแต่ละวัน มีความรู้สึกว่าเวลายาวกว่า ช่วงเวลาปกติจึงเลี้ยงนกกรงหัวจุกไว้ที่บ้านเพื่อความเพลิดเพลิน ช่วงเวลาที่รู้สึกร่างกายอ่อนเพลียและกระหาย จะได้ใช้เวลาหมดไปด้วยกิจกรรมและความ เพลิดเพลินกับการเลี้ยงนกกรงหัวจุก แต่ในยุคนั้น การเลี้ยงนกเขาหัวจุกยังไม่ได้รับความนิยมเท่ากับการเลี้ยงนกเขาชวา แต่เมื่อราคานกเขาชวามีราคาสูงขึ้น ทําให้ชาวบ้านที่ไม่มีเงินทุนเพียงพอ จึงเริ่มนิยมเลี้ยงนกกรงหัวจุกอย่างแพร่หลายราว 20 ปีที่ผ่านมา จนเป็นที่นิยมเลี้ยงกันทุกวัย เกือบทุกครอบครัวจะแขวน นกกรงหัวจุกไว้หน้าบ้าน จนกลายเป็นเอกลักษณ์ทาง วัฒนธรรมของชาวบ้านในยุคปัจจุบัน
สนามการแข่งขันนกกรงหัวจุกจะจัดขึ้นในชุมชน จนกลายเป็นกิจกรรมประจําหมู่บ้านที่จะรู้กันในกลุ่มผู้เลี้ยงนกบางชุมชนจัด 1 วัน บางชุมชนจัด 2 วันต่อสัปดาห์ ซึ่งเป็นสนามเล็กๆ เพื่อฝึกนกให้เคยชินกับสนาม ถือว่าเป็นสนามประลองนก ก่อนจะนํานกเข้าร่วม การแข่งขันสนามใหญ่ซึ่งจะมีนกเข้าร่วมการแข่งขัน ประมาณ 400-1,000 ตัว และจัดในช่วงใกล้วันถือศีลอด เพราะตลอดเวลา 1 เดือนการถือศีลอดจะไม่มีการแข่งขันนก ดังนั้นผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุกจะรู้จักสนามใหญ่ ๆ อย่างเช่น "การแข่งขันนกกรงหัวจุกนัดปิดฤดูกาล"
การแข่งขันนกกรุงหัวจุกในสนามใหญ่ๆ เช่น ศึกแชมป์ชนแชมป์ ณ สนามซัสโก้ (บานา) อําเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ซึ่งถือเป็นสนามใหญ่รองจากสนามการแข่งขันนกกรงหัวจุกชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระบรมราชินีนาถ หน้าโรงแรมซีเอส ปัตตานี การสมัครการแข่งขันสนามใหญ่ ๆ จะต้องมี การจองบัตรเข้าร่วมการแข่งขัน มีการเปิดจองบัตร ล่วงหน้า ดังนั้นช่วงเวลาการแข่งขันสนามเล็ก ๆ จะมี การประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มผู้เลี้ยงนกทราบ ผู้นํานกเข้าร่วมแข่งขันจะต้องเสียงค่าสมัครตามข้อกําหนด แต่ละสนาม เช่น ราคา 500 บาทบ้าง 1,000 บาทบ้าง ผู้สมัครก่อนมีสิทธิ์เลือกแขวนนกในสนามการแข่งขัน ว่าจะแขวนนกของตนเองอยู่บริเวณแถวข้าง แถวกลาง ซึ่งผู้เลี้ยงจะรู้นิสัยนกของตนเองอยู่แล้ว บางตัวชอบอยู่ กรงใหญ่ เมื่ออยู่กรงเล็กไม่ขัน บางตัวได้ฟังเสียงเจ้าของจะขันทันที บางตัวจะขันเมื่อแขวนไว้ใกล้นกตัวอื่น บางตัวจะกลัวเสียงนกที่มีอายุมากกว่า สิ่งเหล่านี้เป็นวิธีการเลี้ยงนกที่ผู้เลี้ยงต้องเรียนรู้ลักษณะนิสัยนกของตนเองเพื่อโอกาสแห่งชัยชนะ
กติกาการแข่งขันจะขึ้นอยู่กับคณะกรรมการ ซึ่งกติกาที่ผู้เลี้ยงนกถือว่ายากที่สุดเรียกว่าการแข่งแบบมาราธอน 4 ยก 12 คอก แต่ละยกนั้นจะมีคณะกรรมการจับเวลาด้วยการใช้กะลามะพร้าวหรือถ้วยเจาะรู ตรงกลางใส่ในถังน้ํา ภาชนะจมลงก้นถังเมื่อไร หมายถึงหมดเวลา 1 ยก เฉลี่ย ยกละประมาณ 20 วินาที นกจะต้องขันยกละ 3 คอก หรือว่า 3 ครั้งต่อหนึ่งยก รวม 4 ยกได้ 12 คอก/ครั้ง ซึ่งเป็นการยากสําหรับนกที่จะขันได้ตามกฎกติกา ส่วนบางสนามใช้กติกาลดหย่อนลงมาเพื่อเปิดโอกาสให้นก เช่น 4 ยก 9 คอก คือ รวมการแข่งขันทั้ง 4 ยก ให้นกขันรวมกัน 9 คอก/ครั้งก็จะได้เข้ารอบ
คณะกรรมการตัดสินการแข่งขันมีประมาณ 10 คน แบ่งออกเป็นชุดละ 2 คน แยกกันตัดสินตามโซนที่จัดแบ่งไว้พร้อมกัน กรรมการหนึ่งคนจับเสียงร้องของนก พร้อมกับฟังสัญญาณจับเวลาจากคณะกรรมกลาง อีกคนทําหน้าที่ในการจดบันทึกเสียงร้องในแต่ละยก ถ้านกตัวใดเข้ารอบแล้วจะพับกระดาษไว้ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการเข้ารอบต่อไป
การแข่งขันแต่ละครั้งจะมีนกเพียง 1 ตัวเท่านั้นเป็นผู้ชนะ เพราะจะแข่งขันจนกว่าจะหานกตัวชนะเลิศ ส่วนนกตัวอื่น ๆ ที่ตกรอบไปก่อนหน้านี้ก็ต้องคอยจนกว่า จะปิดสนาม เพราะไม่ต้องการให้เกิดความวุ่นวายในการแข่งขัน สําหรับรางวัลการ แข่งขันแต่ละสนามจะแตกต่างกัน นอกเหนือจากรางวัลชนะเลิศที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 แล้ว ยังมีรางวัลอื่น ๆ อีกมาก ซึ่งเงินรางวัลจะได้มาจากค่าสมัครของสมาชิก ที่เข้าร่วมการแข่งขัน แต่สําหรับผู้เข้าร่วมการแข่งขันนกกรงหัวจุกมองว่าเงินรางวัล ไม่สําคัญเท่ากับความสนุกสนานตื่นเต้นและชื่นชอบกับกีฬาการแข่งขันนกกรงหัวจุก
บรรยากาศการแข่งขันนกกรงหัวจุก มีความสนุกสนานตื่นเต้นกับบรรดาผู้ เลี้ยงนกและกองเชียร์ ซึ่งจะรู้ลักษณะนิสัยของนกได้อย่างดีว่าจะแสดงลีลาท่าทาง อย่างไรให้นกขันคล้ายกับการเชียร์มวย จึงมีการโห่ร้อง ตบมือให้จังหวะ พร้อมเรียกชื่อนกของตนเองต่างกันออกไปอย่างสนุกสนาน เทคนิคและกลวิธีการแข่งขัน จะต้องใช้ไหวพริบปฏิภาณกันตั้งแต่ช่วงเริ่มการแข่งขัน บางคนต้องอุ่นเครื่องนก ของตนก่อนด้วยการแขวนไว้ตามเบอร์ในสนามทันทีที่มาถึง เพื่อให้คุ้นเคยกับ นกตัวอื่น ๆ บางคนรู้ว่านกจะร้องทันทีที่อยู่ใกล้นกตัวอื่น ผู้เลี้ยงจึงต้องใช้ผ้าคลุม ไว้จนกว่าจะมีการแข่งขัน นกบางตัวร้องอยู่ดี ๆ เห็นนกตัวอื่นลําพองขนเล่นก็จะ เล่นตาม ถ้าเป็นนกอายุน้อยแขวนใกล้กับนกแก่ เมื่อได้ยินเสียงก็จะกลัวไม่ยอมขัน สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในสนามที่เจ้าของต้องใช้เทคนิคและลีลาในการเชียร์ เพื่อให้นก ของตัวเองมีเสียงขันออกมา เพื่อจะได้เข้ารอบต่อไป
ข้อมูลบทความ : ฐานข้อมูลท้องถิ่นภาคใต้ สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ
ชุมชนตลาดปริก(สะเดา) ศูนย์กลางของตำบลในอดีตสมัยร.5
8 ธันวาคม 2567 | 100เปิดตำนานเจ้านางสีดอกไม้กับเจ้าเมืองหลาโต๊ะเมือง ณ บ้านนาทับ (สงขลา)
8 ธันวาคม 2567 | 257รู้จัก...จับปิ้ง อาภรณ์นุ่งห่มของเยาวสตรีในอดีต
8 ธันวาคม 2567 | 62รู้หรือไม่? หาดใหญ่ปรากฎชื่อครั้งแรกในบันทึกประวัติศาตร์มาเลเซีย ก่อนปรากฎในพงศาวดารของไทย
24 พฤศจิกายน 2567 | 675พาชมตราพระปรมาภิไธยย่อ(ภปร.) และตำนานน้ำตกฉัตรวาริน จ.นราธิวาส
24 พฤศจิกายน 2567 | 172ที่มา...วรนารีเฉลิม อดีตโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดสงขลา
24 พฤศจิกายน 2567 | 3,116ย้อนเหตุการณ์พิธีสมรสหมู่ เมืองพัทลุง
10 พฤศจิกายน 2567 | 434ตามรอย 3 โรงสี เมืองสงขลา(บ่อยาง)
10 พฤศจิกายน 2567 | 370