ประเพณีลากพระ หรือชักพระ เป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวภาคใต้ที่ยึดถือปฏิบัติมาอย่างยาวนาน ซึ่งประเพณีลากพระจะมีจัดขึ้นหลังจากวันออกพรรษาแล้ว 1 วัน คือตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 โดยการที่พุทธศาสนิกชนพร้อมใจกันอาราธนาพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนบุษบกที่วางอยู่บนพาหนะ เช่น เรือ รถ หรือล้อเลื่อน ที่เรียกว่า “พนมพระ” แล้วพากันแห่แหนชักลากไปตามถนนหนทางหรือลำคลอง
ประเพณีลากพระหรือชักพระมีความเป็นมาที่เล่ากันเป็นเชิงพุทธตำนานว่า หลังจากพระพุทธองค์ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์ปราบเดียรถีย์ ณ ป่ามะม่วง กรุงสาวัตถี แล้วได้เสร็จไปจำพรรษา ณ ดาวดึงส์เพื่อโปรดพุทธมารดา พระพุทธองค์ได้เสด็จกลับมนุษยโลกทางบันไดทิพย์ที่พระอินทร์นิมิตถวาย ประกอบด้วยบันไดทอง บันไดเงินและบันไดแก้ว พระพุทธองค์เสด็จมาถึงประตูนครสังกัสสะตอนเช้าตรู่ของวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งเป็นวันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนได้ราบกำหนดการเสด็จกลับของพระพุทธองค์จากพระโมคคัลลาน์ ต่างมารอรับเสด็จพร้อมกับเตรียมภัตตาหารไปถวายด้วย แต่เนื่องจากไม่สามารถเข้าไปถวายภัตตาหารถึงพระพุทธองค์ได้ทุกคน จึงจำเป็นที่ต้องเอาภัตตาหารห่อใบไม้ส่งต่อ ๆ แต่ก็ไม่สามารถส่งได้ทันใจจึงต้องโยนบ้าง ปาบ้าง เหตุการณ์นี้จึงเกิดประเพณี ห่อต้ม หรือ ห่อปัด จากนั้นได้อัญเชิญพระพุทธองค์ขึ้นประทับบนบุษบก แห่ไปยังที่ประทับของพระองค์ ภายหลังจึงมีประเพณีเช่นนี้สืบต่อกันมาในทุกวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11
ประเพณีลากพระถ่ายทอดมาถึงประเทศไทยในบริเวณภาคใต้ นับตั้งแต่ครั้งภิกษุชาวจีนชื่ออี้จิงได้จาริกผ่านคาบสมุทรมลายู เมื่อปี พ.ศ. พ.ศ. 1214-1238 ก็ได้เห็นประเพณีการลากพระของชาวเมือง “โฮลิง” (ตามพรลิงค์) อันเป็นชื่อเดิมของเมืองนครศรีธรรมราช จึงเชื่อว่าประเพณีชักพระน่าจะมีมาตั้งแต่สมัยศรีวิชัย
การลากพระหรือชักพระในปัจจุบันที่ปฏิบัติกันมี 2 แบบคือ
1. ลากพระทางน้ำ โดยการเอาเรือหลาย ๆ ลำมาเทียบเรียงขนานผูกติดกันเป็นแพขนาดใหญ่แล้วอัญเชิญพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรขึ้นประดิษฐานบนบุษบก ที่ประดับตกแต่งอย่างประสาทมณฑปอย่างวิจิตร แล้วแห่แหนโดยมีการตีโพน กลอง ระฆัง ไปตามแม่น้ำลำคลองหรือทะเลสาบ โดยจะมีการขับร้องเคล้าคลอไปด้วย อย่างเช่น การร้องเพลงเรือแหลมโพธิ์ซึ่งเป็นเพลงพื้นบ้านของจังหวัดสงขลา ดังคำร้องท่อนนึงว่า
" เดือนสิบเอ็ดแรมต่ำหนึ่งหมันถึงมาแล้ว เรือพระตั้งแถวล้วนมาชุมนุม
ชาวพุทธสุดหวงทำพวงต้มแขวน จำกันได้แม่นวันออกพรรษา
เอานมพระมาสมโภชเพื่อโฆษณา ให้ชาวประชามานมัสการ
ได้มาชมศิลป์ต่างถิ่นมาประกวด ดูช่างสวยสดงดงามต่างกัน
นมเล็กนมใหญ่ดูไสวเฉิดฉัน รูปทรงองค์อันดูต่างกันเพริดพริ้ง
พระน้ำดูไปตามชายหลิง พระบกเพริศพริ้งบนหลิงแว็บวับ
ผมว่ามานานเดี๋ยวรำคาญกันหนัก ให้ทุกคนประจักษ์อนุรักษ์ของเก่า"
(ภาพ : สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ )
2.ลากพระบก ในสมัยโบราณนิยมใช้ล้อเลื่อน เรือพระจึงหนักต้องอาศัยคนลากเป็นจำนวนมากจึงต้องมีเชือกลากเป็น 2 เส้น โดยที่เส้นหนึ่งสำหรับผู้หญิงอีกเส้นหนึ่งสำหรับผู้ชาย
ในปัจจุบัน ประเพณีลากพระหรือชักพระได้แปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัยและกาลเวลา เพราะเรือพระทุกวันนี้ส่วนใหญ่นิยมใช้รถยนต์ (กระบะ) ตกแต่งด้วยโฟมแกะสลักเป็นลวดลายไทย สีสันสวยงาม แต่ก็มีบางพื้นที่ยังคงใช้รูปแบบโบราณคือใช้คนลากเรือพระไปตามเส้นทาง ขณะที่ลากเรือพระไปใครจะมาร่วมทำบุญด้วยการแขวนต้มบูชาพระ หรือร่วมลากเรือพระ เกือบทุกท้องถิ่นกำหนดให้มีจุดนัดหมาย เพื่อให้บรรดาเรือพระทั้งหมดในละแวกใกล้เคียง ไปชุมนุมรวมตัวในที่เดียวกันในเวลาก่อนพระฉันเพล ให้พุทธศาสนิกชนได้มีทำบุญได้ทั่วทุกวัด
โอกาสนี้จึงก่อให้เกิดการประกวดประชันกันขึ้นโดยปริยาย เช่น การประกวดเรือพระที่เราพบเห็นกันบ่อยครั้งในปัจจุบันซึ่งมีความงดงามและเป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจเสมอแก่ผู้พบเห็น ซึ่งประเพณีลากพระถือเป็นประเพณีสำคัญอีกหนึ่งประเพณีของชาวภาคใต้ ที่ต้องการอนุรักษ์ไว้และสืบสานต่อไปไม่ให้หายสาบสูญ
ข้อมูลบทความ : - วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี
- ฐานข้อมูลท้องถิ่นภาคใต้ สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ชุมชนรังมดแดงสู่บ้านรำแดง(สิงหนคร)
20 ตุลาคม 2567 | 185ความทรงจำข้างกำแพงเมือง...182 แห่งการสถาปนาเมืองสงขลา(บ่อยาง)
20 ตุลาคม 2567 | 168ตำนานศาลาทวดหัวสะพานพรุเตียว ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านในพื้นที่
22 กันยายน 2567 | 297พาชมถ้ำเขาจังโหลน 1 ในตำนานภูผา ณ อำเภอรัตภูมิ
22 กันยายน 2567 | 383ย้อนประวัติที่ฝังศพชาวฮอลันดา เมืองสงขลา
22 กันยายน 2567 | 419ชุมชนโบราณบ้านปะโอ ชุมชนเก่าแก่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์สงขลา
1 กันยายน 2567 | 553ลุ่มน้ำคลองภูมี ลำน้ำหล่อเลี้ยงและยึดโยงชีวิตของผู้คน 4 อำเภอในพื้นที่จังหวัดสงขลา
1 กันยายน 2567 | 1,601เที่ยววัดแหลมพ้อ ชมพระนอนเด่นเป็นสง่าคู่ทะเลสาบสงขลาและเชิงสะพานติณสูลานนท์
1 กันยายน 2567 | 368