เขาจังโหลนตั้งอยู่ในชุมชนบ้านจังโหลน หมู่ที่ 11 ต.คูหาใต้ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา ในอดีตพื้นที่บริเวณโดยรอบเขาจังโหลนมีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก ชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรมและมีการทำนากันมาก ในบางครั้งจะมีช้างลงมากินข้าวในนาเกือบหมด ทำให้ชาวบ้านเรียกว่าเขาช้างโลน (กินโลน กินทิ้ง กินขว้าง) แล้วในปัจจุบันเพี้ยนมาเป็นคำว่าเขาจังโหลน จึงเป็นที่มาของบ้านจังโหลน เดิมที มีชาวมุสลิมอาศัยอยู่ก่อน จนได้มีการอพยพออกไป ทำให้ปัจจุบันมีชาวไทยพุทธอาศัยอยู่ร้อยเปอร์เซ็นต์
เขาจังโหลน เป็นหนึ่งในตำนานภูผาของอำเภอรัตภูมิและมีถ้าเขาจังโหลนตั้งอยู่คู่กันมาอย่างช้านาน ปัจจุบันได้ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในชุมชนท่องเที่ยว โดยภายในถ้ำเขาจังโหลนมีหินงอกหินย้อยรูปทรงแปลกตามีความงดงามเป็นอย่างมาก
ภายในถ้ำเขาจังโหลนจะมีถ้ำแยกออกอีกที ซึ่งมีชื่อแตกต่างกันไปตามลักษณะของถ้ำ
ถ้ำท้อน ภายในถ้ำจะมีรูจากบนภูเขาจึงมีแสงส่องสว่างเข้ามากระทบกับ หินงอกหินย้อย อย่างพอดี ทำให้เห็นหินงอกหินย้อยอย่างชัดเจน จึงเรียกว่าถ้ำท้อน ซึ่งมาจากคำว่า สะท้อน และภายในถ้ำยังมีมูลค้างคาวที่ชาวบ้านสมัยก่อนเข้ามาขุดเพื่อนำไปเป็นปุ๋ย
ถ้ำท่าช้าง ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยลักษณะคล้ายช้างหลายตัว ภายนอกเปรียบเสมือนช้างยืนหันหลัง เมื่อเข้าไปในถ้ำก็เหมือนกับการที่เราเดินลอดใต้ท้องช้าง และบริเวณหน้าถ้ำยังเป็นสถานที่ที่ปฏิบัติธรรม เพราะเป็นที่ที่เงียบสงบ ร่มเย็น
ถ้ำหน้าพระ บริเวณหน้าถ้ำจะมีพระพุทธรูปตั้งอยู่เพื่อให้ผู้ที่มาเยี่ยมเยือนมากราบไหว้สักการะบูชา หรือขอพร เพื่อเป็นสิริมงกลแก่ชีวิต และบริเวณโดยรอบจะเป็นสถานที่ที่ในสมัยก่อนมีพระสงค์มานั่งวิปัสสนาเป็นจำนวนมาก
ถ้ำประตูไชย บริเวณหน้าถ้ำจะมี ชีปะขาว อยู่ตรงทางเข้าถ้ำประตูไชย และบริเวรปากถ้ำยังมีร่องรอยจากการขีดเขียนของชาวบ้านในสมัยก่อนที่เป็นคู่รัก ที่เข้ามาขุดนำเอามูลของค้างคาวเพื่อไปเป็นปุ๋ย และภายในถ้ำจะเป็นโถงลึกใหญ่และเป็นทางออกที่ีสามารถออกได้อีกทางหนึ่งของเขาจังโหลน
ปัจจุบันถ้ำเขาจังโหลนเป็นอีกหนึ่งอันซีนสำคัญสำหรับของนักท่องเที่ยวที่มีความสนใจอยากเดินป่าชมถ้าดูหินงอกหินย้อย ซึ่งปัจจุบันคนในชุมชนเขาจังโหลนได้ร่วมกันจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวชุมชนขึ้นมามีกิจกรรมให้ทำหลากหลายทั้งเที่ยวชมวัดเขาจังโหลนวัดเก่าแก่สมันอยุธยาที่มีอายุกว่า 400 ปี ถ้าเขาจังโหลนที่อยู่คู่ชาวบ้านในพื้นที่มาอย่างยาวนานและกิจกรรมชุมชนต่างๆอีกมากมาย
ตำนานศาลาทวดหัวสะพานพรุเตียว ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านในพื้นที่
22 กันยายน 2567 | 180ย้อนประวัติที่ฝังศพชาวฮอลันดา เมืองสงขลา
22 กันยายน 2567 | 221ชุมชนโบราณบ้านปะโอ ชุมชนเก่าแก่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์สงขลา
1 กันยายน 2567 | 391ลุ่มน้ำคลองภูมี ลำน้ำหล่อเลี้ยงและยึดโยงชีวิตของผู้คน 4 อำเภอในพื้นที่จังหวัดสงขลา
1 กันยายน 2567 | 1,359เที่ยววัดแหลมพ้อ ชมพระนอนเด่นเป็นสง่าคู่ทะเลสาบสงขลาและเชิงสะพานติณสูลานนท์
1 กันยายน 2567 | 293ปลากะพงสามน้ำ ของดีของหรอยคู่ทะเลสาบสงขลา
25 สิงหาคม 2567 | 297อาคารสโมสรจังหวัดสงขลา โบราณสถานแห่งความทรงจำของคนสงขลาแต่แรก
25 สิงหาคม 2567 | 421เรื่องเล่าการก่อสร้างทางรถไฟหาดใหญ่ ผ่านมุมมองของคนงานรถไฟ
25 สิงหาคม 2567 | 567