ที่ฝังศพวิลันดา (ฮอลันดา) ที่ฝังศพวิลันดา ห่างจากสุสานสุลต่านสุไลมานไปทางทิศใต้ประมาณ 300 เมตร ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 1 บ้านเขาแดง ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
เมืองสงขลาสมัยอยุธยาเป็นเมืองท่าที่สำคัญเมืองหนึ่งของภาคใต้ฝั่งตะวันออกเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 22 ด้วยสภาพทำเลที่ตั้งอันเหมาะสม
ประกอบกับนโยบายทางการค้าที่เปิดเสรี ส่งผลให้เมืองสงขลา (เมืองสิงขระ) หรือเมืองซิงกอราเป็นเมืองท่าค้าขายที่มัพ่อค้าต่างขาติเข้ามาตั้งห้างร้านสถานีพักสินค้าจำนวนมาก พ่อค้าชาวฮอลันดาเป็นพ่อค้ายุโรปชาติหนึ่งที่ปรากฎหลักฐานว่ามีความสัมพันธ์ทางการค้ากับเมืองสงขลา
นอกจากนี้จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เมืองเก่าสงขลาหัวเขาแดง มีชาววิลันดา (ชาวฮอลันดา) เข้ามาอาศัยทำมาค้าขายและเป็นทหาร รวมทั้งเป็นช่างผู้ออกแบบผังเมืองก่อสร้างป้อม กำแพง ดังปรากฎหลักฐานเป็นที่ฝังศพของวิลันดาหรือฮอลันดา ที่อยู่ห่างจากกำแพงเมืองไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ1,300-1,400 เมตร เป็นหลุมฝังศพของชาววิลันดาที่มาเสียชีวิตลงในเมืองนี้ เป็นหลักฐานการเข้ามาตั้งถิ่นฐานสถานีการค้าของชาวดัทช์ ณ เมืองสงขลา ในสมัยอยุธยา
โดยพบโลงศพที่ทำจากปูนตำแบบโบราณ ภายในบรรจุโลงไม้และโครงกระดูก ขนาดโลงปูนที่ขุดพบสภาพสมบูรณ์มีขนาดยาวประมาณ 240 เซนติเมตร กว้่งประมาณ 59 เซนติเมตร และสูง 49 เซนติเมตร ซึ่งอายุสมันราวพุทธศตวรรษที่ 22-23 หรือสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
และมีการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในหนังสือราชกิจจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 90 วันที่ 16 กรกฎาคม 2535 หน้า 7812 พื้นที่โบราณสถานประมาณ 1 ไร่ 0 งาน 76 ตารางวา
ภาพ/ข้อมูลบทความ - โบราณสถานจังหวัดสงขลา.สำนักศิลปากรที่11สงขลา
- พิทยะ ศรีวัฒนสาร.สยาม-โปรตุเกสศึกษา
ตำนานศาลาทวดหัวสะพานพรุเตียว ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านในพื้นที่
22 กันยายน 2567 | 184พาชมถ้ำเขาจังโหลน 1 ในตำนานภูผา ณ อำเภอรัตภูมิ
22 กันยายน 2567 | 194ชุมชนโบราณบ้านปะโอ ชุมชนเก่าแก่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์สงขลา
1 กันยายน 2567 | 392ลุ่มน้ำคลองภูมี ลำน้ำหล่อเลี้ยงและยึดโยงชีวิตของผู้คน 4 อำเภอในพื้นที่จังหวัดสงขลา
1 กันยายน 2567 | 1,362เที่ยววัดแหลมพ้อ ชมพระนอนเด่นเป็นสง่าคู่ทะเลสาบสงขลาและเชิงสะพานติณสูลานนท์
1 กันยายน 2567 | 295ปลากะพงสามน้ำ ของดีของหรอยคู่ทะเลสาบสงขลา
25 สิงหาคม 2567 | 298อาคารสโมสรจังหวัดสงขลา โบราณสถานแห่งความทรงจำของคนสงขลาแต่แรก
25 สิงหาคม 2567 | 422เรื่องเล่าการก่อสร้างทางรถไฟหาดใหญ่ ผ่านมุมมองของคนงานรถไฟ
25 สิงหาคม 2567 | 567