วันนี้เราจะพาทุกคนไปย้อนประวัติวัดแหลมพ้อ วัดที่มีพระนอนเด่นเป็นสง่าประดิษฐานอยู่หน้าวัด เชื่อว่าใครขับรถผ่านไปมาแล้วนอกจากจะต้องมองบรรยากาศทะเลสาบสงขลาควบคู่ไปกับสะพานติณแล้ว ก็ยังสามารถมองเห็นพระนอนวัดแหลมพ้อได้อย่างชัดเจนและคนในพื้นที่เมื่อผ่านไปมาก็มักจะยกมือไหว้เพื่อขอพรเป็นสิริมงคลให้แก่ชีวิตอยู่เสมอ
วัดแหลมพ้อ หรือที่หลาย ๆ คนเรียก “ วัดพระนอนแหลมพ้อ ” ถือว่าเป็นวัดที่เก่าแก่อีกวัดหนึ่งในจังหวัดสงขลา สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นตั้งแต่สมันรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยมีพระครูทิพวาสี ( พรหมแก้ว ) จากวัดท้ายยอมาดำนินการก่อสร้าง และเนื่องจากในพื้นที่บริเวณวัดเป็นแหลมยื่นออกไปอีกทั้งมีต้นพ้ออยู่เป็นจำนวนมาก จึงเรียกชื่อวัดกันต่อมาว่า “วัดแหลมพ้อ” ในอดีตเมื่อปี พ.ศ.2360 พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเสด็จประพาสทางน้ำขึ้นท่าเรือที่บริเวณหน้าวัด
“วัดแหลมพ้อ ” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา (ที่ดินที่แยกต่างหากจากที่ดินของบ้านเมือง เป็นเขตที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานแก่พระสงฆ์เป็นการเฉพาะเพื่อใช้สร้างอุโบสถโดยประกาศเป็นพระบรมราชโองการ) เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2431 ซึ่งทางกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานวัดแหลมพ้อ ในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเล่ม 114 ตอนพิเศษ 8ง เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2545 หน้า 6 ว่าพื้นที่โบราณสถานประมาณ 2 ไร่ 1งาน 15 ตารางวา ซึ่งโบราณสถานที่สำคัญภายในวัด
“อุโบสถ” ที่มีรูปแบบศิลปกรรมตามพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นอุโบสถมีระเบียงโดยรอบ หลังคาชั้นเดียวต่อด้วยปีกนกมุงด้วยกระเบื้องดินเผาประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ หน้าบันหลังคาทางด้านหน้าประดับปูนปั้นพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ หน้าบันด้านหลังประดับปูนปั้นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ ส่วนหน้าบัณช่องหน้าต่างและประตูมีรูปปั้นรูปเทพพนมอยู่ท่ามกลางลายพรรณพฤกษา
“หอระฆัง” ก่ออิฐถือปูน ตัวหอเป็นทรงสี่เหลี่ยมยอดปิรามิดซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป มีบันไดทางขึ้นด้านข้าง 2 ทาง ขอบบนเจาะเป็นช่องลูกกรง ประดับตกแต่งด้วยกระเบื้องกรุสีเขียวอยู่โดยรอบ ส่วนยอดหอระฆังประดับตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น ลายพรรณพฤกษา
“เจดีย์” ตั้งอยู่ทิศเหนือของอุโบสถ เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม ขนาด 9 x 9 เมตร ฐานซุ้มต่อกับบันไดทางขึ้นเป็นลักษณะเตี้ยๆ ยกพื้นคล้ายระเบียง สามารถเดินได้รอบองค์เจดีย์ มุมขอบประดับด้วยเจดีย์องคเล็กๆ 4 องค์ องค์ระฆังของเจดีย์ประธานตั้งอยู่บนฐานปัทม์ต่อกันเป็นชั้นๆ ด้านล่างฐานเจดีย์มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น
และสิ่งที่มีความสำคัญภายในวัดก็คือ “ องค์พระนอน ” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางปรินิพพานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย พระบาทมีลวดลายภาพศิลปะ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2537ประดิษฐานบนฐานที่ไม่สูงนัก ทั้งนี้เนื่องด้วยที่ตั้งวัดอยู่ใกล้ถนนเชิงสะพานติณสูลานนท์ฝั่งเกาะยอ จึงทำให้เป็นสิ่งที่สะดุดตาของผู้ที่ขับรถผ่านไปมา บริเวณ “ วัดแหลมพ้อ ” นอกจากปูชนียสถานที่สำคัญ พระพุทธรูปปางปรินิพพานองค์ใหญ่ที่สวยงามแล้ว ยังมี ศาลาพระพรหม เจ้าแม่กวนอิม และพระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่มีชื่อว่า “สมเด็จเจ้าเกาะยอ”
ภาพข้อมูลบทความ : องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยอ
ชุมชนโบราณบ้านปะโอ ชุมชนเก่าแก่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์สงขลา
1 กันยายน 2567 | 313ลุ่มน้ำคลองภูมี ลำน้ำหล่อเลี้ยงและยึดโยงชีวิตของผู้คน 4 อำเภอในพื้นที่จังหวัดสงขลา
1 กันยายน 2567 | 1,254ปลากะพงสามน้ำ ของดีของหรอยคู่ทะเลสาบสงขลา
25 สิงหาคม 2567 | 194อาคารสโมสรจังหวัดสงขลา โบราณสถานแห่งความทรงจำของคนสงขลาแต่แรก
25 สิงหาคม 2567 | 315เรื่องเล่าการก่อสร้างทางรถไฟหาดใหญ่ ผ่านมุมมองของคนงานรถไฟ
25 สิงหาคม 2567 | 463ชุมชนมุสลิมสงขลา ณ เมืองไชยา สุราษฎร์ธานี
18 สิงหาคม 2567 | 286ย้อนประวัติท่าเรือน้ำลึกสงขลา กับการใช้ระยะเวลาก่อสร้างถึง 30 ปี
18 สิงหาคม 2567 | 365ร่องรอยจากอดีตกว่าร้อยปี...พระเจดีย์เขาวงศ์(พะวง)
18 สิงหาคม 2567 | 312