พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา อยู่ทางด้านตะวันออกของคาบสมุทรมลายู ทะเลสาบสงขลาเป็นแนวสันทรายยาว เริ่มตั้งแต่อำเภอสิงหนคร อำเภสทิงพระ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ไปจนถึงอำเภอปากพนังและอำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
แนวสันทรายนี้ปิดกั้นทะเลสาบสงขลาจากอ่าวไทยทั้งหมด น้ำในทะเลสาบสงขลาจึงอาจเป็น น้ำจืด น้ำเค็ม น้ำกร่อย ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและระยะห่างจากช่องเปิดออกทะเลอ่าวไทย ปัจจุบันมีน้ำออกทะเลอ่าวไทยเพียงบริเวณเดียวคือที่ตั้งของเมืองสงขลา ทะเลสาบสงขลาจึงเป็นน้ำจืดในฤดูมรสุม เป็นน้ำกร่อยและน่ำเค็มในฤดูแล้ง
ด้วยลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงและการหมุนเวียนของน้ำเค็ม น้ำกร่อยและน้ำจืดอยู่ตลอดทั้งปีของทะเลสาบสงขลา จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ปลากะพงที่เลี้ยงในกระชังทะเลสาบสงขลา มีเนื้อแน่น นุ่มละมุนลิ้น รสชาติดี ไม่มีกลิ่นโคลนและกลิ่นสาบ แตกต่างจากปลากระพงขาวในแหล่งอื่นๆ
ปลากะพงขาวเป็นปลาที่เพาะขยายพันธุ์ได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลกในประเทสไทยที่จังหวัดสงขลา โดยคุณสวัสดิ์ วงศ์สมนึก และคุณสุจินต์ มณีวงศ์ นักวิชาการประมงจากกรมประมง เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2515 ณ สถานีประมงทะเลสงขลาในสมัยนั้น หลังจากนั้นการเพาะพันธุ์ก็พัฒนามาเรื่อยๆ ควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคนิคการอนุบาลปลาเพื่อให้ลูกปลามีอัตรารอดที่ดี จนกระทั่งได้นำลูกปลาไปให้ชาวบ้านทดลองเลี้ยงประมาณปี2518-2519 โดยปลากะพงขาวรุ่นแรกได้เอาไปให้แก่ชาวบ้านต.หัวเขา อ.สิงหนครและต.เกาะยอ อ.เมือง จ.สงขลา
การเลี้ยงปลากะพงของเกษตรกรโดยทั่วไปจะเลี้ยงบริเวณชายฝั่งทะเลหน้าบ้านของตัวเอง โดยทำขนำเล็ก ๆบริเวณกระชังเลี้ยงปลา ระยะหลังมีการส่งเสริมให้ใช้อาหารเม็ดหรืออาหารสำเร็จรูปมาเลี้ยงปลากะพงขาว แต่ผู้เลี้ยงปลาโดยส่วนใหญ่ที่ใช้อาหารเม็ดยังใช้ร่วมกับอาหารสด เนื่องจากมีความคิดว่าทำให้ปลาโตเร็วและรสชาติดีกว่าการให้อาหารเม็ดเพียงอย่างเดียว
การเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังในทะเลสาบสงขลาจึงเป็นวิถีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่เป็นมากกว่าการเลี้ยงปลาเพื่อขาย พื้นที่หรือฟาร์มปลากะเป็นทั้งแหล่งสร้างรายได้แหล่งอาหาร สถานที่พักผ่อนหย่อนใจสอดคล้องกลมกลืนไปกับวิถีชีวิตของชาวบ้านชายฝังทะเลสาบสงขลามากว่า 40 ปี ขอบเขตพื้นที่การเลี้ยงปลากะพงสามน้ำทะเลสาบสงขลา ครอบคลุมพื้นที่ 5 อำเภอของจังได้แก่ อำเภอเมืองสงขลา อำเภอสิงหนคร อำเภอบางกล่ำ ค่ำ อำเภอควนเนียง และอำเภอหาดใหญ่ และขอบเขตพื้นพื้นที่แปรรูปปลากะพงสามน้ำทะเลสาบสงขลาครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดสงขลา
ซึ่งปัจจุบันปลากะพงสามน้ำทะเลสาบสงขลาถือเป็นของดีของเด็ดอันดับต้นๆเมื่อนึกถึงจังหวัดสงขลา และยังการันตีด้วยมาตรฐาน GI เป็นผลผลิตเฉพาะพื้นที่ทะเลสาบสงขลาที่เกิดจากแหล่งกระแสน้ำ 3 ระบบมาบรรจบกัน กระแสน้ำหมุนเวียนทำให้ปลากะพงสามน้ำแข็งแรงและสมบูรณ์ จนกลายเป็นปลากะพงสามน้ำทะเลสาบสงขลาที่มีชื่อเสียงและรู้จักกันดีในปัจจุบัน
อ้างอิงข้อมูลบทความ : ประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญา เรื่องการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ปลากะพงสามน้ำทะเลสาบสงขลา
ภาพบทความ : กะพงสามน้ำสงขลา
ตำนานศาลาทวดหัวสะพานพรุเตียว ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านในพื้นที่
22 กันยายน 2567 | 184พาชมถ้ำเขาจังโหลน 1 ในตำนานภูผา ณ อำเภอรัตภูมิ
22 กันยายน 2567 | 194ย้อนประวัติที่ฝังศพชาวฮอลันดา เมืองสงขลา
22 กันยายน 2567 | 224ชุมชนโบราณบ้านปะโอ ชุมชนเก่าแก่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์สงขลา
1 กันยายน 2567 | 392ลุ่มน้ำคลองภูมี ลำน้ำหล่อเลี้ยงและยึดโยงชีวิตของผู้คน 4 อำเภอในพื้นที่จังหวัดสงขลา
1 กันยายน 2567 | 1,362เที่ยววัดแหลมพ้อ ชมพระนอนเด่นเป็นสง่าคู่ทะเลสาบสงขลาและเชิงสะพานติณสูลานนท์
1 กันยายน 2567 | 295อาคารสโมสรจังหวัดสงขลา โบราณสถานแห่งความทรงจำของคนสงขลาแต่แรก
25 สิงหาคม 2567 | 422เรื่องเล่าการก่อสร้างทางรถไฟหาดใหญ่ ผ่านมุมมองของคนงานรถไฟ
25 สิงหาคม 2567 | 567