หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

เรื่องราวหาดใหญ่

ย้อนประวัติท่าเรือน้ำลึกสงขลา กับการใช้ระยะเวลาก่อสร้างถึง 30 ปี
18 สิงหาคม 2567 | 4,658

ท่าเรือน้ำลึกสงขลา เป็นท่าเรือที่สำคัญของภาคใต้ วัตถุประสงค์ของการก่อสร้างท่าเรือมีขึ้นเพื่อใช้ในการขนส่งสินค้าออกจากภาคใต้ไปยังต่างประเทศ โดยสินค้าหลักจะเป็นยางพารา  หรือการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ กระตุ้นให้เกิดการเติบโตทางด้านการค้าและอุตสาหกรรมของพื้นที่ภาคใต้มากยิ่งขึ้น

การก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก มีแนวคิดเริ่มต้นขึ้นในพ.ศ.2502 เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้มีการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกหลักของประเทศแห่งใหม่ที่ศรีราชา (เป็นท่าเรือน้ำลึกเอกชนแห่งแรกและใหญ่สุดในประเทศไทย) และมีการเสนอว่าควรจะมีท่าเรืออีกหนึ่งแห่งที่จังหวัดสงขลา จนกระทั่งถึงวันที่ท่าเรือสงขลาก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์และเริ่มเปิดให้บริการในพ.ศ.2531 ใช้ระยะเวลาเกือบ 30 ปีในการก่อสร้าง

การก่อสร้างท่าเรือสงขลาแบ่งได้ 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่1 การศึกษาความเป็นไปในการก่อสร้างท่าเรือ (พ.ศ.2505-2520) 
การศึกษาเพื่อก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลาใช้เวลากว่า 15 ปี ภายใต้การบริหารประเทศของรัฐบาล 5 ชุด ทำการศึกษารวม 3 ครั้ง ก่อนจะมีการก่อสร้างท่าเรือ
พ.ศ.2505 บริษัทวิศวกรที่ปรึกษา Transportation Consultant Inc. แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกสงขลา และเสนอให้มีการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นยื่นต่อบริเวณแหลมทรายเพื่อให้เรือเดินทะเลขนาด 15,000 ตันกรอสส์ หรือประมาณ 20,000 เดทเวทตันสามารถผ่านเข้า-ออกได้ตลอดเวลา
พ.ศ.2508 คณะรัฐมนตรีมีมติให้กรมวิเทศสหการ ติดต่อกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องและฝ่ายญี่ปุ่นเกี่ยวกับการปรับปรุงท่าเรือสงขลา
พ.ศ.2509  คณะรัฐมนตรีมีมติให้กรมวิเทศสหการ รับไปพิจารณาเรื่องการสำรวจเพื่อก่อสร้างท่าเรือที่จังหวัดสงขลาตามที่คณะกรรมการพัฒนาภาคใต้ได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรี ต่อมาต่อมาได้มีการอนุมัติให้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชายญี่ปุ่นมาสำรวจทางวิศวกรรมเพื่อปรับปรุงร่องน้ำทางเข้าท่าเรือสงขลา
พ.ศ.2510 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้กรมเจ้าท่าท่าสัญญาผูกพันข้ามปีงบประมาณ 2510 ปี 2511 และปี 2512 เพื่อท่าการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
พ.ศ.2516 บริษัท Overseas Technical Co-operation Agency unjusะเทศญี่ปุ่น ได้ทำการศึกษาทางด้านเศรษฐกิจและวิศวกรรมท่าเรือสงขลาใหม่ ปรากฏว่ามีผลคุ้มค่าทางเศรษฐกิจคุ้มค่ากับการลงทุน
พ.ศ.2517 บริษัท Hunting Team แห่งประเทศอังกฤษ ทำการทบทวนผลการศึกษาอีกครั้ง และเสนอความเห็นว่า การก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกบริเวณแหลมสนจะก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและทำลายธธรรมชาติ จึงควรพิจารณาหาที่ตั้งใหม่

บริเวณจังหวัดสงขลาเพื่อก่อสร้างท่าเรือ และได้เสนอแนะพื้นที่เพื่อจะก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก
ไว้ 6 แห่ง ดังนี้
1. บริเวณฝั่งทะเลสาบทะเลสงขลา ปากคลองสำโรง
2. บริเวณฝังทะเลสาบทะเลสงขลา ตรงข้ามปากคลองสำโรง
3. บริเวณแหลมสนด้านในทะเลสาบ
4. บริเวณหัวเขาแดงด้านในทะเลสาบ
5. บริเวณแหลมสนด้านนอก
6. บริเวณหัวเขาแดงด้านนอก

ระยะที่ 2 การสำรวจออกแบบท่าาเรือ (พ.ศ. 2521-2524)
การสำรวจออกแบบท่าเรือสงขลาดำเนินการความคู่ไปพร้อมกับท่าเรือภูเก็ดซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้เป็นท่าเรือหลักด้านฝั่งอันดามันโดย ใช้เวลาทั้งสิ้น 4 ปี การดำเนินงานส่วนใหญ่อยู่ในช่วงที่พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี
พ.ศ.2521 คณะรัฐมนตรีมีมติ เห็นชอบและอนุมัติให้กระทรวงคมนาคมกู้เงินจาก
ธนาคารพัฒนาเอเชียสำหรับโครงการท่าเรือน้ำลึกสงขลาและภูเก็ต
พ.ศ.2523 คณะรัฐมนตรีได้มีมดิอนุมัติให้กรมเจ้าท่าได้ดำเนินการว่าจ้างบริษัทWilliam Halcrow and Partner และบริษัท MaunConsultants Ltd. และห้างหุ้นส่วนจำกัด สินธุ พูนศิริวงศ์และสหาย เป็นบริษัทวิศวกรที่ปรึกษา เพื่อดำเนินการโครงการสำรวจออกแบบและทำแผนแม่บทพัฒนาท่าเรือน้ำลึกสงขลาและภูเก็ต ตามโครงการช่วยเหลือเงินกู้จากธนาคารพัฒนาเอเชีย
พ.ศ.2524 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติงบประมาณ 22 ล้านบาท โดยจัดสรรจากงบประมาณปี 2525 เพื่อดำเนินโครงการสำรวจและออกแบบก่อสร้างท่าเรือสงขลาและท่าเรือภูเก็ตให้แล้วเสร็จ
การสำรวจและออกแบบท่าเรือท่าเรือสงขลาและท่าเรือภูเก็ต โดยกรมเจ้าท่าได้ลงนามสัญญาจำงกับบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาดังกล่าว ในวงเงิน 42.148 ลำนบาท แบ่งออกเป็นเงินกู้จำนวน 28.535 ล้านบาท และเป็นเงินของรัฐบาลไทย จำนวน 13.613 ล้านบาท จากผลการศึกษาของบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาเห็นว่าบริเวณที่เหมาะสมที่สดในการก่อสร้างท่าเรือสงขลา คือ บริเวณหัวเขาแดงด้านนอก ทั้งนี้เพราะ มีร่องน้ำทางเดินเรือที่ปลอดภัยที่สุด เสียค่าปารุงรักษาร่องน้ำถูกที่สุด นอกจากนี้ยังอยู่ใกล้กับกับศูนย์การค้าของจังหวัดสงขลา และมีระบบถนนที่มีขีดความสามารถรองรับการจราจรจากท่าเรืออยู่แล้ว และขัดกับการพัฒนาเมืองน้อยที่สุด อีกทั้งมีผลกระทบต่อสภาพทางกายภาพของทะเลสาบน้อยที่สุด

ระยะที่ 3 การดำเนินการก่อสร้างท่าเรือ (พ.ศ. 2525-2531)
การก่อสร้างท่าเรือสงขลาเริ่มต้นและสิ้นสุดในสมัยที่พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนดรี ใช้เวลาในการก่อสร้าง 6 ปี โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ

การจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ในการก่อสร้างท่าเรือ กล่าวคือ ในเดือนตุลาคม 2524 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้งบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้างท่าเรือส่วนหนึ่งมาจากเงินกู้จากธนาคารพัฒนาเอเชีย และอีกส่วนหนึ่งมาจากงบประมาณแผ่นดิน

(ภาพ : บจก.เจ้าพระยาท่าเรือสากล ท่าเรือน้ำลึกสงขลา )

ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อเดือนธันวาคม 2524 ได้มีมติให้กระทรวงการคลังกู้เงินจากธนาคารพัฒนาเอเชียเพื่อก่อสร้างท่าเรือ โดยรัฐบาลได้ลงนามทำสัญญากู้เงินกับธนาคารพัฒนาเอเชีย เพื่อใช้จ่ายในการดำเนินการตามโครงการก่อสร้างท่าเรือสงขลา ท่าเรือภูเก็ต และสะพานข้ามเกาะยอที่จังหวัดสงขลา จ่านวน 71.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ หรือเท่ากับ 1,640.418 ล้านบาท 

การเวนคืนที่ดินเพื่อใช่ในการก่อสร้างท่าเรือ คณะรัฐมนตรีได้มติเห็นชอบให้ตราพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลหัวเขา อ่าเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เพื่อก่อสร้างท่าเรือสงขลา' 

(ภาพ : บจก.เจ้าพระยาท่าเรือสากล ท่าเรือน้ำลึกสงขลา )

ปัจจุบันท่าเรือน้ำลึกสงขลา เป็นหนึ่งในช่องทางหลักของภาคใต้ที่ใช้ในการเอื้ออำนวยการนำเข้าและส่งออกสินค้าจากต่างประเทศ  โดยเฉพาะสินค้าประเภทยางพารา และอาหารทะเลแช่แข็ง ส่งผลให้เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของพื้นที่ภาคใต้เป็นอย่างมาก

ภาพ/ข่าว : สุมาลี สุขดานนท์.(2557) : สถาบันขนส่ง จุฬาลงกรณืมหาวิทยาลัย.