วัดท่าข้ามตั้งอยู่หมู่ที่3 ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นวักเด่าแก่อายุกว่า 200 ปี หนึ่งในวัดสำคัญที่อยู่คู่ชาวตำบลท่าข้ามมาอย่างยาวนาน
ภายในวัดมีอีกหนึ่งสถาปัตยกรรมเก่าแก่ที่สำคัญ ซึ่งเป็นอาคารที่ทำด้วยไม้ทั้งหลัง มีอายุเก่าแก่ไม่ต่างจากวัด อายุราวร้อยกว่าปี แต่ได้รับการปรับปรุงและบูรณะอยู่บ่อยครั้งจึงดูไม่เสื่อมโทรมมากนัก
เดิมอาคารหลังนี้ เป็นโรงครัวเก่าประจำวัดท่าขาม ต่อมาเมื่อกาลเวลผันผ่าน มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย มีการสร้างโรงครัวใหม่ขึ้นภายในวัดจึงมีการย้ายโรงครัวไปอีกแห่ง แต่อาคารนี้ก็ยังคงยู่คู่กับวัดเสมอมาไม่ได้มีการทำลายทิ้งแต่อย่างใด
ต่อมาเมื่อได้รับการบูรณะปรับปรุง ก็มักจะถูกใช้เป็นสถานที่จำวัดสำหรับพระบวชใหม่ เนื่องจากกุฏิมีไม่เพียงพอ บรรดาพระบวชใหม่ทั้งหลายก็จะจำวัดในอาคารไม้เก่าแก่แห่งนี้
โดยในการสร้างอาคารไม้หลังนี้ สร้างโดยการใช้กำลังคนทั้งหมด และที่เป็นเอกลักษณ์ต่างจากที่อื่นคือ รูปแบบของการสร้างอาคาร มีการวางเสาที่ไม่ตรงกัน โดยจะวางตะแคงเข้าหากัน เพื่อป้องกันไม่ให้ล้ม ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาของคนสมัยก่อน จึงไม่ได้มีการทุบหรือทำลายทิ้งไป แต่บูรณะให้เป็นอาคารไม่เก่าแก่คู่วัดท่าข้ามตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
(ภาพ : องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม)
ปัจจุบันได้รับการบูรณะ เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมและแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของท่าข้ามอีกแห่งหนึ่ง นอกจากนี้ภายในวัดก็ยังมีศาลพระพรหม และพระสังกัจจายน์ตั้งคู่กันอยู่บริเวณลานวัด
หากใครต้องการเข้าไปชมอาคารไม้เก่าแก่หรือกราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธ์ภายในวัด ก็สามารถเข้าไปได้ภายในวัดท่าข้าม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
เหตุอัศจรรย์ระหว่างการก่อสร้าง ธรรมสถานพระโพธิสัตว์กวนอิม (เขาเทียมดา)
12 มกราคม 2568 | 93เปิดตำนาน...ปู่เจ้าเขาเขียวแห่งสิงหนคร
12 มกราคม 2568 | 106ในหลวงรัชกาลที่9 กับการพัฒนาจังหวัดสงขลา
12 มกราคม 2568 | 103ย้อนประวัติจวนเจ้าเมืองสงขลา สมัยธนบุรี - รัตนโกสินทร์
5 มกราคม 2568 | 156พาชมพระสยามเทวาธิราชจำลอง 1 ใน 5 หัวเมือง ประดิษฐานอยู่ที่ ต.ปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา
5 มกราคม 2568 | 141คนสงขลากับความเชื่อเรื่องทวด ที่ปรากฎในโองการทวดอารักษ์ศักดิ์สิทธิ์จังหวัดสงขลา
5 มกราคม 2568 | 173ศาลาทวดสะบ้าย้อย ความศรัทธาสู่สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจของชาวสะบ้าย้อย
15 ธันวาคม 2567 | 281ที่มา...ชื่อบ้านสำนักขาม (สะเดา)
15 ธันวาคม 2567 | 251