บ้านควนโส อ.ควนเนียง จ.สงขลา เดิมชื่อว่า “ควนสูง” ซึ่งเป็นชื่อที่ผู้พบเห็นใช้เรียกกันต่อมา โดยบ้านควนโสตั้งสูงเด่นอยู่ทางทิศตะวันตกของทะเลสาบสงขลาสามารถมองเห็นได้ชัดขณะเดินทางผ่านด้วยทางเรือ
สภาพควนสูงแห่งนี้เป็นป่าดึกดำบรรพที่มีพันธุ์ไม้ตะเคียนขึ้นอยู่หนาแน่นเป็นที่อยู่อาศัยของกระจง ฯลฯ มีที่ราบทางทิศเหนือที่อุดมสมบูรณ์ และมีลำคลองขนาดใหญ่ไหลออกสู่ทะเลสาบสงขลาเหมาะเป็นอย่างยิ่งในการใช้เป็นเส้นทางคมนาคม ทำการเกษตรและตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน แต่เดิมตลาดนัดหน้าวัดควนโส เป็นตลาดที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น พอ ๆ กับตลาดนัดกรอบของตำบลรัตภูมิ(บ้านควนเนียง)
จากคำบอกเล่า เดิมบริเวณรอบควนสูงแห่งนี้ ไม่ค่อยมีผู้คนอาศัยอยู่ มีพระภิกษุรูปหนึ่งเดินทางมาจากบ้านจะนะเพื่อหาสถานที่สงบเงียบบำเพ็ญเพียรภาวนา และได้พำนักอยู่ในควนสูงนี้เป็นเวลานานหลายปี หลังเสร็จบำเพ็ญเพียรภาวนา ก็เดินทางกลับบ้านที่จะนะ พร้อมกับนำเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของควนสูงและที่ราบทางด้านทิศเหนือไปเล่าให้ชาวบ้านจะนะฟัง ทำให้ชาวบ้านที่สนใจบางส่วนพร้อมที่จะย้ายถิ่นฐานมาอาศัยอยู่ในที่ราบดังกล่าว จึงได้นิมนต์พระภิกษุรูปดังกล่าวให้นำพวกตนเดินทางจากจะนะโดยใช้ช้างเป็นพาหนะมาตั้งถิ่นฐาน ณ บริเวณพื้นราบด้านทิศเหนือของควนสูงพร้อมกันนั้นได้นิมนต์พระธุดงค์ให้จำพรรษา ณ สำนักสงฆ์ที่สร้างขึ้น (ในปัจจุบันคือวัดควนโส) นับได้ว่าชุมชนแรกที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ คือพวกที่มาจากบ้านจะนะ เรียกว่าบ้านควนสูง ในระยะต่อมาถูกเรียกเพี้ยนเป็นบ้านควนโส จนติดปากมาจนถึงวันนี้
จากความอุดมสมบูรณ์ของบริเวณรอบ ๆ ควนสูงนี้ ทำให้ผู้คนจากชุมชนใกล้ ๆ อพยพมาตั้งถิ่นฐานใกล้เคียงชุมชนบ้านควนโสมากขึ้น เช่น บ้านเกาขาม บ้านผลุ้ง บ้านนาลิง บ้านโคกทราย บ้านบ่อหว้า บ้านปากจ่า บ้านท่าม่วง และมีการติดต่อระหว่างชุมชนมากขึ้น แต่ละชุมชนเริ่มมีประชากรมากขึ้น ทางราชการจึงแต่งตั้งผู้ปกครองชุมชนมีหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของประชาชน จัดเก็บภาษี และเกณฑ์คนในชุมชนทำนาเพื่อเก็บผลผลิตส่งให้ทางราชการเพื่อเป็นเสบียงต่อไป แต่ละชุมชนมีการปกครองตนเองไม่ขึ้นต่อกัน
พ.ศ. 2435 ทางราชการได้จัดระเบียบการบริหารใหม่ เพื่อให้สะดวกในการปกครองการจัดเก็บภาษี โดยมีการรวบรวมชุมชนต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกันขึ้นเป็นหน่วยการปกครองระดับตำบล ชุมชนเล็ก ๆ เหล่านี้ที่ตั้งบริเวณรอบ ๆ ควนสูง ได้ถูกรวบรวมเข้าเป็นตำบลเดียวกัน เรียกว่า ตำบลควนโส ทางราชการจึงแต่งตั้งข้าราชการจากจังหวัดมาปกครองดูแลตำบล กำหนดให้ตำบลควนโสขึ้นตรงกับการปกครองของอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
หลวงกัลยา กับยาศิริ (ต้นตระกูลกัลยาศิริ) เป็นข้าราชการคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งให้มาปกครองดูแลตำบลควนโส โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยหวัด และมีศักดินาเป็นที่นามากมาย เพื่อความสะดวกในการเกณฑ์คนไปทำนา หลวงกัลยา จึงได้สร้างที่พักของตนเอง และคนงานบนที่ดอนริมคลองควนโสหลายหลังชาวบ้านเรียกที่พักเหล่านี้ว่า ทำเนียบ (ปัจจุบันที่สร้างทำเนียบ คือ หมู่บ้านทำเนียบ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 3)ในตำบลควนโส แล้วยังทำหน้าที่เก็บรวบรวมภาษีและเกณฑ์คนไปทำนาหลวง (ปัจจุบันนาหลวง เป็นที่นาที่เป็นกรรมสิทธิ์ของชาวบ้านหมู่ที่ 3 ต.ควนโส) เพื่อนำผลผลิตข้าวที่ได้จาการทำนาหลวงเป็นราชการ ในหน้าน้ำหลากโดยทางเรือแจวขนาดใหญ่ผ่านคลองควนโส ออกสู่ทะเลสาบสงขลาที่บ้านปากจ่าไปยังอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
เมื่อ พ.ศ. 2435 ตำบลควนโสได้เปลี่ยนมาขึ้นกับการปกครองของอำเภอรัฐภูมี จังหวัดพัทลุง ซึ่งที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่บ้านปากบางภูมี พ.ศ. 2566 ได้ย้ายอำเภอ จากบ้านปากบางภูมี ไปตั้งที่บ้านกำแพงเพชร และได้เปลี่ยนชื่อจาก อำเภอรัฐภูมี เป็นอำเภอรัตภูมิ ขึ้นกับจังหวัดพัทลุง พ.ศ. 2509 อำเภอรัตภูมิได้ขึ้นอยู่กับการปกครองของจังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2528 กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศยกฐานะ ตำบลรัตภูมิ ตำบลบางเหรียง ตำบลควนโส ตำบลห้วยลึก เดิมขึ้นอยู่กับการปกครองของอำเภอรัตภูมิ เป็นกิ่งอำเภอควนเนียง และเปลี่ยนเป็นอำเภอควนเนียงจนทุกวันนี้
ภาพข้อมูลบทความ : -องค์การบริหารส่วนตำบลควนโส
-ฐานข้อมูลการท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้
เหตุอัศจรรย์ระหว่างการก่อสร้าง ธรรมสถานพระโพธิสัตว์กวนอิม (เขาเทียมดา)
12 มกราคม 2568 | 93เปิดตำนาน...ปู่เจ้าเขาเขียวแห่งสิงหนคร
12 มกราคม 2568 | 106ในหลวงรัชกาลที่9 กับการพัฒนาจังหวัดสงขลา
12 มกราคม 2568 | 103ย้อนประวัติจวนเจ้าเมืองสงขลา สมัยธนบุรี - รัตนโกสินทร์
5 มกราคม 2568 | 156พาชมพระสยามเทวาธิราชจำลอง 1 ใน 5 หัวเมือง ประดิษฐานอยู่ที่ ต.ปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา
5 มกราคม 2568 | 141คนสงขลากับความเชื่อเรื่องทวด ที่ปรากฎในโองการทวดอารักษ์ศักดิ์สิทธิ์จังหวัดสงขลา
5 มกราคม 2568 | 173ศาลาทวดสะบ้าย้อย ความศรัทธาสู่สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจของชาวสะบ้าย้อย
15 ธันวาคม 2567 | 281ที่มา...ชื่อบ้านสำนักขาม (สะเดา)
15 ธันวาคม 2567 | 251