ป้าแอด หรือนางปรานี ทองรักษ์ ในวัย 62 ปี หญิงแกร่งที่ยึดอาชีพการทำนามาเป็นอาชีพหลักในการดำรงชีวิตและเลี้ยงดู จุนเจือครอบครัว และป้าแอดยังมีการสร้างแบรนด์ข้าวสังข์หยดขึ้นมา ซึ่งเป็นแบรนด์ที่สร้างชื่อในนามตำบลคูหาใต้ ชื่อว่าแบรนด์ "สบายแสน คูหาใต้" อีกส่วนหนึ่งป้าแอดถือได้ว่าเป็นคนของสังคม มีการทำงานเพื่อสังคมมาอย่างยาวนาน จนได้รับรางวัลตอบแทนมากมาย และปัจจุบันก็ยังมีการดำรงตำแหน่งทางสังคมอีกหลายตำแหน่ง
จุดเริ่มต้นของการประกอบอาชีพชาวนาและการสร้างแบรนด์ข้าวสังข์หยด จุดเริ่มต้นอาชีพทำนาของป้าแอด คือได้รับการถ่ายทอดมาจากรุ่นปู่ย่าตายาย และรุ่นพ่อแม่ ส่งต่อมาจนถึงรุ่นของป้าแอดเอง ประกอบกับในพื้นที่ตำบลคูหาใต้ ในสมัยก่อน เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดพัทลุง ก่อนที่จะแยกตัวมาขึ้นอยู่กับ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา ทำให้อิทธิพลการทำนาข้าวสังข์หยด แทรกซึมและยึดติดอยู่กับพื้นที่และผู้คนมาเป็นเวลานาน ซึ่งรสชาติของข้าวสังข์หยดของคูหาใต้และพัทลุงแทบจะไม่ได้แตกต่างกันเลย
อาชีพทำนาถือเป็นอาชีพที่สร้างรายได้หลักให้กับป้าแอดและครอบเครือ เป็นอาชีพที่จุนเจือให้ครอบครัวมีกินมีใช้ตลอดทั้งปี แม้ในช่วงสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา ป้าแอดและครอบครัวก็ผ่านมาได้ ไม่ได้ลำบากเหมือนคนอื่นๆ เพราะมีข้าวให้กิน มีผักสวนครัวรอบรั้วบ้านไว้ให้กิน และมีรายได้อยู่ตลอดจากการขายข้าวและขนมที่ยังมีคนสั่งซื้อเข้ามาไม่ขาดสาย ต่อไปในอนาคตป้าแอดก็ยังจะประกอบอาชีพนี้ต่อไป จะทำจนกว่าร่างกายจะไม่ไหว และพยายามสอนลูกสอนหลานคนที่สนใจอยากทำให้เรียนรู้ เพื่อสืบต่ออาชีพของครอบครัวต่อไป
แบรนด์ข้าวสังข์หยดมีอยู่มาก คิดว่าของเราแตกต่างจากคนอื่นยังไง แบรนด์ข้าวสังข์หยด ป้าแอดจะเน้นไปที่การทำแบรนด์ข้าวปลอดภัย ข้าวอินทรีย์เป็นหลัก โดยจะมีการรับซื้อข้าวจากชาวบ้านในพื้นที่ แต่มีข้อแม้ว่าต้องเป็นข้าวปลอดภัยเท่านั้น ไม่ใช้ปุ๋ยหรือสารเคมีในการปลูกและดูแลข้าว โดยป้าแอดจะให้ราคาสูงกว่า 1บาท/กิโลกรัม ตามราคาท้องตลาดทั่วไป โดยส่วนมากข้าวสังข์หยดจะทำเป็นแพคเกจที่เป็นถุง พกพาสะดวก และน่าสนใจขายตามช่องทางออนไลน์ และอีกส่วนจะขายส่งให้กับโรงพยาบาลรัตภูมิ โดยมีการส่งให้โรงพยาบาลรัตภูมิมาเป็นระยะเวลากว่า 10 ปีแล้ว ทางโรงพยาบาลจะมีการนำเข้าโรงครัว เพื่อประกอบอาหาร และนอกจากข้าวสังข์หยดจะมีการปลูกข้าวชนิดอื่นอย่างเช่น ข้าวหอมปทุม ข้าวเล็บนกแดง
หากไม่ได้ประกอบอาชีพการทำนาตั้งแต่แรก ป้าแอดคิดว่าจะทำอาชีพอะไร ถ้าหากไม่ได้ทำนา ก็คงหันไปกรีดยางเหมือนคนอื่นๆ แต่นอกเหนือจากการประกอบอาชีพทำนาแล้ว ตอนนี้ป้าแอดก็ยังมีการทำขนมเจาะหูขาย ซึ่งเป็นที่มาของรายได้อีกหนึ่งทาง ขนมเจาะหูของป้าแอดมีส่วนผสมที่แตกต่างจากขนมทั่วไป คือจะไม่ใช้แป้งทำขนมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะมีส่วนผสมของข้าวสังข์หยดอยู่ด้วย น้ำตาลที่ใช้ทำขนมก็จะเป็นน้ำตาลโตนด ซึ่งเท่าที่เห็นมายังไม่มีใครนำสูตรนี้มาใช้ทำขนมเจาะหู และยังเป็นการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวสังข์หยดของป้าแอดเอง เพราะป้าแอดจะมีการทำนาข้าวสังข์หยดด้วยตัวเอง สีข้าวด้วยตัวเอง ซึ่งถ้าเป็นรำข้าวจะขายได้แค่ กิโลกรัมละ 10 กว่าบาท แต่เมื่อนำมาแปรรูปเป็นจมูกข้าว(รำอ่อน หรือผิวข้าว) สามารถนำมาใส่เป็นส่วนผสมของขนมต่างๆได้ เช่น ขนมเจาะหู ขนมทองพับ ทองม้วน ข้าวตังหน้าข้าวยำ หรือคุ้กกี้จากผิวข้าวสังข์หยด(ซึ่งตลาดในพื้นที่มีน้อย ทำให้ป้าแอดไม่ได้มีการผลิตต่อ)
แรกเริ่มเดิมคิดยังไงถึงเข้าไปทำงานเพื่อสังคม แรกเริ่มเดิมที ป้าแอดเติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่ลำบาก โดยแม่ของตนมีลูกทั้งหมด 7 คน ก็มีความพิการ 6 คน บ้างก็พิการหูไม่ดี พิการขา หรือพิการซ้ำซ้อน และตัวป้าแอดเองไม่ได้เรียนจบสูงเหมือนคนอื่นๆ จบแค่ป.7 ก็ต้องออก เพราะครอบครัวไม่มีเงินส่งเสีย ต่อมาเมื่อแต่งงานมีครอบครัว สามีของป้าแอดก็เสียชีวิตด้วยโรคต่างๆหลายโรคเข้ามารุมเร้าตั้งแต่ยังหนุ่ม จนเกิดเป็นความรู้สึกว่าทำไมสิ่งเหล่านี้ต้องมาเกิดขึ้นกับตนเอง จนเกิดเป็นความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เมตตาต่อคนอื่นมากขึ้น ยิ่งอยู่กับเด็กอยู่กับคนพิการมาก ตนก็ยิ่งอยากจะเป็นผู้ให้มากขึ้น ต่อมามีการรับสมัครอสม. ป้าแอดจึงไปสมัครเป็นสมาชิกในปี พ.ศ. 2534 แต่ตอนนั้นยังไม่มีตำแหน่งรองรับเพราะยังไม่มีคนลาออก แต่ป้าแอดเองก็ยังคงช่วยงานสังคมมาตลอด 2 ปี จนต่อมาเมื่อปี 2536 ได้เป็นอสม. ตนก็ช่วยหลือสังคมมาตลอด ยิ่งตอนคนในครอบครัวเจ็บป่วย ไม่มีเงินแม้แต่จะจ่ายค่ารักษาพยาบาล ป้าแอดเลยยิ่งรู้สึกถึงรสชาติของความลำบาก และในเมื่อมีคนที่ลำบากมากกว่าเรา เราสามารถยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือได้ก็น่าจะทำ เพราะการให้ความสุขเขา เราก็คงไม่ได้ทุกข์มากขึ้น และในอนาคตต่อไปตนไม่ได้เลิกคิดที่จะทำงานเพื่อสังคม จะทำต่อไปจนกว่าร่างกายจะไม่ไหว
อาชีพและตำแหน่งที่ป้าแอดเคยได้รับ ปัจจุบันเป็นอสม.ประจำตำบลคูหาใต้ และได้รับรางวัลระดับประเทศสาขาคุ้มครองผู้บริโภค ได้รับเครื่่องราชย์อิสริยาภรณ์ เหรียญเงิน และเหรียญทอง ดิเรกคุณาภรณ์ อสม.ดีเยี่ยม และเป็นประธานกองทุนหมู่บ้าน บ้านคูหาใน หมู่ที่3 และยังทำหน้าที่เป็นดีเจรายการวิทยุ FM101 วัดเกาะบก อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
งานเพื่อสังคมให้ประสบการณ์ข้อคิดอะไรบ้าง ป้าแอดจะมีคติในการช่วยเหลือสังคมเสมอ คือ "การเสียสละเวลาที่มีค่าของเราเพื่อคนอื่น มันก็จะสร้างคุณค่าให้กับตัวเราเอง อย่าให้ลมหายใจของเราเป็นพิษกับคนอื่น แต่จงให้ลมหายใจของเราสร้างความสุขให้กับคนอื่น สุขนั้นก็จะกลับมาหาเราเอง"
"โกหล่าย" ทายาทรุ่นที่ 2 ร้านตัดผมสมบูรณ์เกษาหาดใหญ่
21 สิงหาคม 2567 | 382ดอกผลของความเพียร สู่ทุเรียนสองฝนสวนบังบา สวนแรกเริ่มจัดงานบุฟเฟต์ทุเรียน(เขาพระ)
18 สิงหาคม 2567 | 214"ลุงแจ้ว"สามล้อถีบรุ่นสุดท้ายแห่งเมืองสงขลา ขี่สามล้อถีบมากว่า 59 ปีกับอาชีพที่รักและมีความสุข
13 มิถุนายน 2567 | 995"หลวงทุ่งจินดา" ขวัญใจเด็กสะเดา แจกนมขนมฟรี ทำมานานกว่า 17 ปี ผู้ให้ที่มีแต่ความสุข
29 เมษายน 2567 | 828"คนสงขลา" ศิษย์เก่า ม.ขอนแก่น รุ่นที่ 1หมายเลขนักศึกษา 001 คณะเกษตรศาสตร์
6 กุมภาพันธ์ 2567 | 27,778"เจ๊หลั่น"ทายาทโรงขนมเหนียนเกาหรือขนมเข่ง ทำมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ กว่า 40-50 ปี หนึ่งเดียวในสะเดา
31 มกราคม 2567 | 1,012ผู้ก่อตั้งเพจเรื่องนี้ฉายเถอะ คนหาดใหญ่อยากดู คอมมูนิตี้ที่เปิดกว้างต้อนรับทุกเพศทุกวัยที่ต้องการจะเปิดประสบการณ์การดูหนังที่ไม่เหมือนใคร
5 มกราคม 2567 | 1,082"น้องน้ำฝน"นางสาวสมิหลาสงขลา ประจำปี 2566 สวย เก่ง ครบ สมตำแหน่งที่ได้รับ
6 กรกฎาคม 2566 | 12,463