การดำรงชีวิตของผู้คนในแต่ละท้องถิ่นขึ้นอยู่กับสภาพทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ตลอดจนวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น ที่เป็นตัวกำหนดลักษณะและรูปแบบการสัญจรในแต่และช่วงเวลา
ในอดีตเมื่อราวพ.ศ.2162-2223 บริเวณปากอ่าวทะเลสาบสงขลา คือ บริเวณเมืองสงขลาริมเขาแดง เริ่มมีบทบาทกลายเป็นเมืองท่าในการติดต่อค้าขายที่สำคัญ โคยทำการค้ากับประเทศบริเวณแหลมมลายูและกลุ่มนักเดินเรือต่างชาติที่เดินทางเข้ามา ครั้นถึงปี พ.ศ.2312 สมัยกรุงธนบุรี ทะเลสาบสงขลาขยายตัวเป็นชุมชนการค้าอย่างรวดเร็ว ทำให้การสัญจรในพื้นที่รอบทะเลสาบมีศึกคักมากขึ้น ทำให้พื้นที่ทะเลสาบคลาคล่ำไปด้วยเรือที่มีขนาดและลักษณะต่าง ๆ จำนวนมาก ทั้งเรือพาย เรือแจว เรือใบ เรือประทุน รวมทั้งเรือยนต์หรือเรือเมล์ที่เข้ามามึบทบาทในช่วงหลัง
การไปมาหาสู่กันระหว่างชุมชนของผู้คนรอบทะเลสาบสงขลาที่เชื่อมต่อถึง 3 จังหวัด ทั้งพัทลุง นครศรีธรรมราช และจังหวัดสงขลา เนื่องจากชุมชนและผู้คนรอบทะเลสาบนั้นมีความผูกพันกับทะเลสาบ ในฐานะเป็นทางสัญจร โดยอาศัยเรือเป็นยานพาหนะหลัก มายาวนานตั้งแต่อดีต โดยใช้เรือพาย เรือแจ่ว และเรือใบ เป็นพาหนะหลัก
ต่อมาจึงพัฒนาเข้าสู่ยุคเรือเมล์ที่เข้ามามีบทบาทเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวพื้นที่รอบทะเลสาบสงขลาได้ มีการเปิดเส้นทางเรือเมล์ในการสัญจรขึ้น ระหว่างชุมชนที่มีความต้องการใช้สูง โดยเปิดวิ่งระหว่างอำเภอเมืองสงขลา อำเภอระโนดจังหวัดสงขลา และอำเภอปากพะยูนของจังหวัดพัทลุง
ซึ่งการติดต่อสัญจรมีสะดวกและรวดเร็วกว่าการ ใช้เรือแจว หรือเรือใบที่ต้องใช้เวลาถึง 2 วัน 2 คืนเป็นอย่างน้อยในการเดินทาง ซึ่งนับเป็นจุดสำคัญที่ชี้ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่มีพัฒนาการในการ ติดต่อสื่อสารระหว่างชุมชนรอบทะเลสาบในแต่ละช่วงเวลา
ส่วนการสัญจรทางบกจะใช้เดินเท้าหรือแรงงานสัตว์เป็นพาหนะช่วยทุ่นแรงในการไป มาหาสู่กับชุมชนใกล้เคียง และได้พัฒนาไล่เรียงมาเป็นลำตับตามแต่ละช่วงเวลา จากยุคของการใช้เรือพาย เรือแจวของชาวบ้านได้พัฒนาขึ้นมาเป็นยุดของเรือเมล์โดยสาร และตามมาด้วยยุคของ รถยนต์โดยสารแบบรั้วไม้เข้ามามีบทบาทตามลำดับ ซึ่งก่อนจะมีรถไฟและทางรถยนต์กันในภายหลัง โดยสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นได้ที่การพัฒนาขึ้นอย่างจริงจังได้เริ่มสร้างทางรถไฟสายใต้ขึ้นเป็น
และการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญอีกครั้งคือการเริ่มมีการตัดถนนสายหลักในปี พ.ศ.2516 มี การตัดถนนสายสงขลา-ระโนด ไปเชื่อมต่อนครศรีธรรมราชทำให้ผู้คนทางคาบสมุทรสทิงพระ เดินทางได้สะดวกมากขึ้นทุ่นเวลากว่าใช้เรือเมล์ ส่วนทางฝังพัทลุงมีการตัดถนนที่สามารถเดินทางไปหาดใหญ่-ตรังและอื่นๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางรูปแบบสัญจร ภายหลังจากมีถนนที่สะดวกมากขึ้นทำให้การสัญจรทางน้ำได้ถูกลดบทบาทลงไปตามลำดับจนถึงปัจุบัน
ภาพข้อมูลบทความ : งานวิจัยการค้าทางเรือบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา , สถาบันทักษิณคดีศึกษา
บัวของคนภาคใต้...ที่ไม่ได้หมายถึงดอกบัว
11 พฤษภาคม 2568 | 74ร่องรอยเจดีย์บนเกาะหนู โบราณสถานสำคัญสมัยอาณาจักรอยุธยา
11 พฤษภาคม 2568 | 90ศาลาตาเล่อเท่อ ที่พึ่งของชาวบ้านเมื่อของสำคัญสูญหาย
27 เมษายน 2568 | 392จากอดีตบ้านทุ่งเหม็นขี้ สู่บ้านทุ่งขมิ้น(นาหม่อม)
27 เมษายน 2568 | 322บุกป่าหาน้ำตกลับ...น้ำตกโตนหน้าผี ณ เขาพระ อ.รัตภูมิ
27 เมษายน 2568 | 414ศาลเจ้าแม่กวนอิมสวนหมาก ศาลเจ้าแห่งแรกที่ริเริ่มทำโรงทานเจในสงขลา
20 เมษายน 2568 | 313พาชม...บ้านขุนตระการตะเครียะเขต บ้านเก่าโบราณนับร้อยปี "บ้าน 108 เสา"
30 มีนาคม 2568 | 1,077รู้หม้ายว่า? สงขลาเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีวันประจำจังหวัด
30 มีนาคม 2568 | 873