ประเพณีแห่ผ้าขึ้นเขากุฏิของชาวเกาะยอ จังหวัดสงขลา เกอดจากความศรัทธาต่อองค์วมเด็จเจ้าเกาะยอ ก่อให้เหิดพิธีกรรมเพื่อบุชาสมเด้จเจ้าเกาะยอ โดยชาวเกาะยอจะมีการจัดประเพณีแห่ผ้าขึ้นเขากุฏิเป้นประจำทุกปี ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน6 เพื่อเฉลิมฉลองประเพณีการทำบุญใน
วันวิสาขบูชา และร่วมระลึกถึงบุญคุณสมเด็จเจ้าเกาะยอ ที่ได้เผยแพร่พระพุทธศาสนา โดยจะมีการนำผ้าทอที่ชาวเกาะยอร่วมด้วยช่วยกันทอ ห่มองค์พระเจดีย์และห่มพระพุทธรูปสมเด็จเจ้าเกาะยอ บนยอดเขากุฏิ ตำบลเกาะยอ ซึ่งประเพณีนี้มีการสืบทอดต่อกันมาอย่างยาวนาน
เจดีย์สมเด็จเจ้าเกาะยอ คือ เจดีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานรูปเคาราและอัฐิ(กระดูก) ของสมเด็จเจ้าเกาะยอไว้ เพื่อสักการะบูชา แะรำลึกถึงพระคุณท่าน สมเด็จเจ้าเกาะยอ หรือ สมเด็จพระราชมุนี ท่านเป็นพระเถระผู้ใหญ่ สันนิษฐานว่าเกิด ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา ช่วงอยุธยาเป็นราชธานี
สมเด็จพระราชมุนี ได้เดินทางมาเพื่อเผยแพร่ศาสนาอย่างธุดงควัตรมาตลอดทาง และสุดปลายทางที่เมืองสงขลาแล้วข้ามทะเลมาฝั่งเกาะยอ เมื่อมาอยู่เกาะยอ ท่านได้เลือกที่พำนักอาศัยบนยอดเขาสูงที่สุดของเกาะยอ ชาวเกาะยอได้มีการสร้างกุฏิให้ท่านอาศัย ภูเขาลูกนี้จึงได้ชื่อว่าเขากุฏิ และมีการเรียกสืบมาจนถึงปัจจุบัน
ในการเลือกพำนักอาสัยบนยอดเขาที่สูงที่สุดนั้น เป็นประเพณีนิยมของนักบวขโดยทั่วไป โดยเฉพาะพระเถระผู้ใหญ่ เพราะมีชัยภูมิที่สูงเด่น เงียบสงบ ประกอบกับเบื้องล่างชองเขากุฏิยังมีบ่อน้ำสัคัญ ที่ตั้งอยู่บนเนินเขาแต่มีน้ำเต็มเปี่ยมตลอดทั้งปีอย่างน่าอัศจรรย์ และชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธ์ ดังปรากฎในหนังสือเล่าเรื่องเกาะยอ คำกลอนตอนหนึ่งว่า
ถึงบ่องอ จะขอเล่า เรื่องราวบ่อ ที่เกิดก่อ สิ่งดีงาม ตามท้องถิ่น
อยู่เนินเขา แต่น้ำปรี่ รี่ไหลริน เดิมบ่อดิน มีต้นงอ ก่อชื่อมา
เป็นบ่อที่ สมเด็จ-เจ้าเขากุฏิ สิ่งศักดิ์สิทธ์ สูงสุด ลงมาหา
ใช้อาบดื่ม ชาวบ้านปลื้ม สุดศรัทธา ให้สมญา บ่อสมเด็จเจ้า กล่าวเทิดทูน
บ่อสองชื่อ คือของดี ที่ชาวเกาะ ทำยาก็ เชื่อโรคร้าย จะหายสูญ
ทำน้ำมนต์ ก็ขลังดี ทวีคูณ คือความเชื่อ ที่เกื้อกูล เป็นตำนาน
เมื่อท่านมาอยู่ที่เกาะยอ ชาวเกาะยอและชาวเมืองสงขลาก็เรียกชื่อว่า สมเด็จเจ้าเกาะยอ โดยนำชื่อตำบลมาเป็นชื่อท่าน ซึ่งเป็นประเพณีนิยมที่ใช้กันในสมัยนั้น สมเด็จเจ้าเกาะยอ ท่านเป็นพระร่วมสมัยกับสมเด็จเจ้าพะโคะ แห่งวัดพะโคะ อ.สทิงพระ และสมเด็จเจ้าเกาะใหญ่ แห่งต.เกาะใหญ่ อ.กระแสสินธุ์ รวมเป็นสามสมเด็จแห่งลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ที่ชาวเมืองสงขลาให้ความเคารพนับถือ ศรัทธาเป็นอย่างมากสืบเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ข้อมูล : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา
ภาพ : สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ
ชุมชนตลาดปริก(สะเดา) ศูนย์กลางของตำบลในอดีตสมัยร.5
8 ธันวาคม 2567 | 101เปิดตำนานเจ้านางสีดอกไม้กับเจ้าเมืองหลาโต๊ะเมือง ณ บ้านนาทับ (สงขลา)
8 ธันวาคม 2567 | 265รู้จัก...จับปิ้ง อาภรณ์นุ่งห่มของเยาวสตรีในอดีต
8 ธันวาคม 2567 | 63รู้หรือไม่? หาดใหญ่ปรากฎชื่อครั้งแรกในบันทึกประวัติศาตร์มาเลเซีย ก่อนปรากฎในพงศาวดารของไทย
24 พฤศจิกายน 2567 | 675พาชมตราพระปรมาภิไธยย่อ(ภปร.) และตำนานน้ำตกฉัตรวาริน จ.นราธิวาส
24 พฤศจิกายน 2567 | 172ที่มา...วรนารีเฉลิม อดีตโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดสงขลา
24 พฤศจิกายน 2567 | 3,116ย้อนเหตุการณ์พิธีสมรสหมู่ เมืองพัทลุง
10 พฤศจิกายน 2567 | 434ตามรอย 3 โรงสี เมืองสงขลา(บ่อยาง)
10 พฤศจิกายน 2567 | 370