อีกหนึ่งเรื่องราวดีๆ ที่อยากส่งต่อให้กับคนในสังคมเป็นอย่างมาก สำหรับ นายจินดา เพ็ชรแก้ว วัย 47 ปี ที่ชาวสะเดามักจะคุ้นเคยกับแกเป็นอย่างมาก แกคือ 1 ในผู้ให้ที่มีแต่ความสุขถึงแม้ว่าตนเองจะไม่ได้ร่ำรวยเงินทองมากนัก ครอบครัวก็ยากจนตนเองเป็นเพียงพนักงานกวาดขยะของเทศบาลเมืองสะเดา ตี 3 หัวรุ่งก็ต้องตื่นมากวาดขยะแล้ว โดยหลวงทุ่งจินดาจะมีรถสามล้อคู่ใจ 1 คัน ในการใช้ใส่ของขนม นม น้ำผลไม้ไปบริจาคให้กับเด็กๆในชุมชน
วันนี้เรามีโอกาสได้สัมภาษณ์หลวงท่งจินดา ถึงเรื่องราวขอการแจกจ่ายนมให้กับเด็กๆว่าเริ่มมาตั้งแต่จุดไหน
-จริงๆแรกเริ่มที่ทำเลยผมเป็นมัคนายก พูดในพิธีงานต่างๆ ก็จะเจียดเงินจากตรงนี้มาช่วยเด็กๆ สมมุติเราได้มา 1,000 บาท เราจะเก็บ 500 บาท ไว้เป็นกองกลางนำไปซื้อของช่วยเหลือเด็กๆในชุมชน ส่วนเงินอีกบางส่วนบางครั้งชาวบ้านก็จะให้มาเอง 50-100 บาท แล้วแต่เขาสะดวก
ทำไมเราถึงเลือกจะทำแบบนี้ ความชอบ?
-ผมชอบนะมันได้ช่วยเหลือคนอื่น ตอนแรกอาจจะมีคนมองว่าบ้าหน่อย ว่าเราทำอะไร ผมก็ไม่ได้แคร์ตัวเรเาองก็ไม่ได้ร่ำรวยแต่มันมีความสุขที่ได้แบ่งปันให้เด็กๆ รอยยิ้มของเด็กๆตอนที่ได้ของแววตามันทรงพลังมาก มันอ่อนโยนรับรู้ได้เลยว่าเขามีความสุข บางครอบบครัวไม่ได้มีเงินซื้อให้ลูกขนาดนั้น ผมก็อาสาเอาไปแจก หยิบได้เลย ไม่ว่ากัน
ทำมานารึยังคะ ตรงส่วนนี้?
-เราทำมานานกว่า 17 ปี แล้ว ทำเองคนเดียว แรกๆก็ยังไม่มีรถสะดวกแบบนี้รถที่เห็นเอาไปทำไปต่อพ่วงเองมีหลังคาไม่ร้อน เวลานำของไปแจกจ่าย ผมแจกไปทั่วในชุมชนขับรถเวียนหลังจากที่กวาดขยะเสร็จราวๆ 11 โมง ตรงก็เวียนแจก แจกเสร็จถึงจะได้พักก็บ่ายๆ ทำไปเรื่อยๆเลย เอาในชุมชนของสะเดาเป็นหลักก่อน แล้วค่อยๆไปในพื้นที่อื่นๆ
ก่อนหน้านี้นอกจากแจกเด็กๆ หลวงมีทำกิจกรรมอะไรบ้างแล้ว ?
-ก่อนหน้านี้ผมเอาของไปแจกช่วงโควิด ข้าวสาร-ปลากระป๋อง ช่วงที่คนตกงานมีคนมาบอกเราตกงานไม่มีอะไรกิน เราก็ช่วยเหลือเท่าที่ได้ ก็เอาเงินจากที่เจียดมาช่วยเหลือเขา ประทังชีวิตไปก่อนเล็กๆน้อยๆ ดีกว่าไม่มีกิน เขามีลูกค่าใช้จ่ายก็เยอะ แล้วก็มีแจกตุ๊กตาเด็กๆครับ ล่าสุดที่ผ่านมาก็คงเป็นอุบัติเหตุที่รถกระบะพุ่งชนนักเรียนที่ตรุเตียวอันนี้ผมก็มีส่วนร่วมในการช่วยเหลื นำขนม สิ่งของ ตุ๊กตาไปมอบให้น้องๆเด็กๆ เป็นขวัญกำลังใจ
แพลนในอนาคต เราจะทำอะไรเพิ่มเติมไหมคะ?
-ตอนนี้ผมมองไปถึงการช่วยเหลือเด็กพิการในชุนชนสะเดา มีหลายครัวเรือน เราอยากช่วยเหลือเขา ผู้ป่วยติดเตียงก็มีมาก นอกจากหน่วยงานที่ช่วยกันแล้ว เราก็อยากเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนในการช่วยเหลือเล้กๆน้อยๆ หรือเป็นกระบอกเสียงให้หน่วยงานเข้ามาช่วยเหลือ โดยเราก็จะคอยประสานรับเรื่อง นำข้าวของเข้ามาแจกจ่ายให้
มีบ้างไหมที่ตอนแจกของแล้วเขาไม่เอา มองเราแปลกๆ
-มีครับ ผมเคยร้องไห้ช่วงแรกๆ ผู้ปกครองบางคนไม่ให้ลูกกิน รับไว้แต่เอาไปปาทิ้งก้มีต่อหน้า หรือลับหลังเอาไปใส่ถังขยะ เราแอบเห็นก็เสียใจมาก แต่ก็ต้องเข้าใจว่าเราคนแปลกหน้าไปให้ของลุกเขาแบบนั้น เขาคงไม่กล้าให้ลูกกิน หลังๆผมเลยเข้าใจและก่อนจะแจกก็ต้องขออนุญาติ แล้วพูดว่าสวัสดีครับ แจกนมให้เด็กกินฟรีหน่อยครับ แจกฟรีครับ เขาจะรับไม่รับเราก็จะได้รู้
แต่ตอนนี้เริ่มมีคนเข้าใจ และรู้จักผมดีจากแหล่งโซเซียลที่นำไปลง ก็มีคนรับและเรียกทักทายเราทุกวัน เหมือนเริ่มเข้าใจเจตนาของเราแล้ว ก็ต้องใช้เวลาพอสมควร
คิดว่าจะทำไปนานแค่ไหน ?
-ตอบแบบนี้เลยนะครับ ผมจะทำจนกว่าผมจะตาย จนไม่มีแรงทำ เรามีความสุขกับตรงนี้ เราทำแล้วรุ้สึกคนอื่นก็มีความสุขเราก็มี ได้ทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งตัวผมเองก็ไม่สนใจว่าใครจะมองยังไง ผมเกิดมาแล้วก็ต้องช่วยกันทำสังคมให้น่าอยู่มากขึ้น
"เกียว"เบเกอรี่จากรุ่นแม่สู่คุณลูก กว่า 30 ปี ร้านขนมปังเล็กๆที่ไม่ธรรมดาในสะเดา
8 ธันวาคม 2567 | 200ช่างนวล ควนเนียง ศิลปินผู้รังสรรค์ผลงานบนผืนหนัง
24 พฤศจิกายน 2567 | 507"ป้าบ่วย" เจ้าของร้านฮับเซ่ง สภากาแฟที่ตั้งอยู่คู่เมืองเก่าสงขลาร่วม 100 ปี
25 ตุลาคม 2567 | 2,285"หมี ศุภวิชญ์" ทายาทรุ่นที่ 4 ไอติมบันหลีเฮงสงขลา ส่งตรงจากรุ่นอากงอาม่ากว่า 100 ปี
15 ตุลาคม 2567 | 2,448"โกหล่าย" ทายาทรุ่นที่ 2 ร้านตัดผมสมบูรณ์เกษาหาดใหญ่
21 สิงหาคม 2567 | 1,022ดอกผลของความเพียร สู่ทุเรียนสองฝนสวนบังบา สวนแรกเริ่มจัดงานบุฟเฟต์ทุเรียน(เขาพระ)
18 สิงหาคม 2567 | 692ป้าแอด หญิงแกร่งแห่งอำเภอรัตภูมิ ยึดอาชีพทำนาจนเกิดเป็นแบรนด์ข้าวสังข์หยด สบายแสนคูหาใต้
23 มิถุนายน 2567 | 1,099"ลุงแจ้ว"สามล้อถีบรุ่นสุดท้ายแห่งเมืองสงขลา ขี่สามล้อถีบมากว่า 59 ปีกับอาชีพที่รักและมีความสุข
13 มิถุนายน 2567 | 1,676