กงกงฉี!! เข้าสู่เดือนกุมภาพันธ์กันอีกแล้ว ที่สำคัญหลายๆคนคงจะรู้ว่าเดือนนี้มีเทศกาลที่คึกคักรอต้อนรับเราอยู่ของคนไทยเชื้อสายจีน ซึ่งวันตรุษจีน 2567 ตรงกับวันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567 และเพื่อให้เข้ากับเทศกลาลตรุษจีน หาดใหญ่โฟกัส จะพาทุกคน ไปรื้อดูตำนานของการทำขนมเข่งในบ้านเรา อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลในพื้นที่อำเภอสะเดา
เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับเจ๊หลั่น เจ้าของโรงขนมเหนียนเกา หนึ่งเดียวในสะเดา กับขนมในประเพณีสําคัญของพี่น้องคนไทยเชื้อสายจีน กับเรื่องราวขนมเหนียนเกา หรือขนมเข่ง ซึ่งอ.เชิดชัย ได้นัดหมายกับเจ๊หลั่นไว้ หรือเรียกเต็มๆ นางยุหลั่น เหรียญรุ่งโรจน์ คนทั่วๆ ไปในพื้นที่จะเรียกว่า "เจ๊หลั่น" เจ้าของกิจการขนมเข่งสูตรโบราณทำมาตั้งแต่รุ่นอาม่า พูดไปแล้วกลิ่นหอมลอยมา
ซึ่งต้องบอกก่อนว่า มีการทําขายมานานกว่า 40 ปี ตั้งอยู่ที่ 10 /20 ถ.ประชาบำรุง เขตเทศบาลเมืองสะเดา อ.สะเดา จ.สงขลา นับเป็นขนมเข่งเจ้าแรกๆเจ้าเดียว ใน อ.สะเดาก็ว่าได้
ต้องขอเล่าย้อนไปถึงประวัติของถนนเหนียนเกา ก่อนว่าประวัติความเป็นมาอันยาวนานถึง 3,000 ปี ประวัติความเป็นมาอันยาวนานถึง 3,000 ปีตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจว ที่นิยมนำมา ไหว้เทพยดาและบรรพบุรุษในคืนก่อนปีใหม่ตามประเพณีจีน แต่ภายหลังกลายเป็นของ ไหว้ทั่วไปในเทศกาลต่างๆ เชื่อกันว่า "ขนมเข่ง" มีกำเนิดมาจากมณฑลฝูเจี้ยน หรือมณฑลฮกเกี้ยน
ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ในยุคนั้นเกิดภัยแล้งจนไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้ ชาวบ้านจํานวนมาก ต้องอพยพหนีภัยแล้งโดยอาศัยเรือสำเภาเพื่อไปเสาะหาแหล่ง ทํากินแห่งใหม่ ระหว่างที่เรือล่องไปในแม่น้ำใหญ่อย่างไร้จุดหมาย อาหารที่พอประทัง ชีวิตได้มีเพียงน้ำจืดและขนมแป้งที่กวนกับน้ำตาลแล้วนำมานึ่งเป็นก้อน ทําให้ทุกคน บนเรือมีชีวิตรอดมาได้ เมื่อชาวจีนกลุ่มนี้ตั้งถิ่นฐานทำมาหากินเป็นหลักแหล่งและมีชีวิตที่ดีขึ้น
เมื่อถึงวันไหว้เจ้า จึงนำข้าวเหนียวที่เก็บเกี่ยวในฤดูหนาวมีคุณภาพดีที่สุด มาคลุกเคล้ากับ น้ำตาล น้ำผึ้ง และเปลือกส้ม ทําเป็น "ขนมเข่ง" ให้เป็นรูปร่างกลมเหมือนพระจันทร์ เต็มดวงมาเช่นไหว้เทพเจ้า เพื่อรำลึกถึงความยากลำบากในอดีต อีกทั้ง "ขนมเข่ง" ที่ทำมาจากแป้งให้ความนุ่มลื่นและหอมหวาน จึงมีความหมายสื่อ ถึงความหวานชื่น ราบรื่น และอุดมสมบูรณ์ นั่นเอง
อันนี้เป็นสูตรของที่บ้านเอง สืบทอดต่อกันมา
เจ๊หลั่น : ขนมเข่งโบราณสูตรที่บ้านสืบทอดต่อมาตั้งแต่บรรพบุรุษ รุ่นอาม่าจนมาส่งต่อรุ่นเราช่วยกันทำเป็นกิจการในครอบครัวลูกหลานช่วยกันเกือบ 20 คน
ระยะเวลาในการทำขนม หรือช่วงเวลาในการทำยากน้อยแค่ไหน
เจ๊หลั่น : ขนมเข่งเจ๊ยุหลั่น จะทําแค่เพียงปีละครั้งในช่วงเทศกาลตรุษจีน เริ่มตั้งแต่ก่อนขึ้นปีใหม่ ประมาณ 3 วัน จนถึงวันที่ 3 ก่อนวันไหว้ ในแต่ละปีจะต้องระดมคนงานจํานวนมาก มา ช่วยในการผลิต เพื่อให้ทันกับความต้องการของลูกค้า โดยใช้เวลาทําตลอด 24 ชั่วโมง ข้ามวันข้ามคืน
ผลิตวันละเท่าไหร่ และราคา
เจ๊หลั่น : จะผลิตได้ประมาณวันละ 1,000 ลูกขึ้นไป ราคาขายคิดเป็น ก.ก. คือขนมเข่งที่ใช้ พลาสติกหุ้ม ส่วนใหญ่ลูกค้าจะชอบแบบใบตองหุ้มเพราะมีกลิ่นหอมกว่า
ถึงแม้ว่าปัจจุบันคนทําขนมเข่งในหลายพื้นที่มีการปรับปรุง พัฒนา "ขนมเข่ง" ให้มีความหลากหลายในรสชาติและรูปทรง มากยิ่งขึ้นให้เข้ายุคสมัยยิ่งขึ้น มีความหลากหลายในรสชาติ ทั้ง ขนมเข่งที่ทําจากแป้งข้าวเหนียวดำา "ขนมเข่งมะพร้าวอ่อน" ที่มี กลิ่นหอมของมะพร้าว มาสร้างเสน่ห์ให้ขนมมีรสชาติอร่อยยิ่งขึ้น หรือ "ขนมเข่ง" เกาะกระแสสุขภาพโดยนําสมุนไพรมาเป็นส่วน ประกอบ เช่น ใช้สีม่วงของดอกอัญชัน หรือสีเขียวของใบเตย มาเติมสีสันดึงดูดคนรุ่นใหม่มากยิ่งขึ้น
บางแห่งแทนที่ "ขนมเข่ง" จะเป็นขนมหวานแบบดั้งเดิม ก็ดัดแปลงมาเป็นอาหารเค็ม โดยมีส่วนประกอบที่เพิ่มขึ้นคือ กุ้งแห้ง เห็ดหอม พุทราจีนแห้ง กลายมาเป็นของคาวที่ชวนรับ ประทานไม่น้อย แต่ที่แน่ๆ ขนมเข่ง นําไปแปลงโฉมจากก้อน กลม ๆ หนานุ่ม แล้วนำนั่นเป็นชิ้นๆ ฝั่งตากแดด พอได้ที่นํามา ผสมแป้ง ไข่ เกลือ และ นํ้าสะอาด ให้เป็นเนื้อเดียวกัน ตั้งกระทะ ใส่นํ้ามัน รอร้อน ทําขนมเข่งที่หั่นเตรียมไว้ ลงไปชุปแป้ง ลง ทอด จนเหลืองกรอบน่าทาน ตักขึ้นสะเด็ดน้ำมัน ใส่จานพร้อม เสิร์ฟกินเล่นได้
ลูกค้าประจำ ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่ไหน หากสนใจสั่งได้จากช่องทาง
เจ๊หลั่น : คนในพื้นที่ สะเดา คลองแงะ ทุ่งลุง หาดใหญ่สงขลา บางรายก็อาจจะรับไปขายต่อ รวมถึงมีลูกค้าชาวมาเลเซียบ้าง
ซึ่งหากใคร สนใจสามารถสอบถามได้ที่ โทร 074-411937 และ 096-356-9193 ทุกวัน หรือจะไปที่โรงขนมตามที่ระบุไปข้างต้น
ขอบคุณภาพข้อมูล : Cherdchai Ongsakul , นางยุหลั่น เหรียญรุ่งโรจน์
"เกียว"เบเกอรี่จากรุ่นแม่สู่คุณลูก กว่า 30 ปี ร้านขนมปังเล็กๆที่ไม่ธรรมดาในสะเดา
8 ธันวาคม 2567 | 205ช่างนวล ควนเนียง ศิลปินผู้รังสรรค์ผลงานบนผืนหนัง
24 พฤศจิกายน 2567 | 507"ป้าบ่วย" เจ้าของร้านฮับเซ่ง สภากาแฟที่ตั้งอยู่คู่เมืองเก่าสงขลาร่วม 100 ปี
25 ตุลาคม 2567 | 2,285"หมี ศุภวิชญ์" ทายาทรุ่นที่ 4 ไอติมบันหลีเฮงสงขลา ส่งตรงจากรุ่นอากงอาม่ากว่า 100 ปี
15 ตุลาคม 2567 | 2,449"โกหล่าย" ทายาทรุ่นที่ 2 ร้านตัดผมสมบูรณ์เกษาหาดใหญ่
21 สิงหาคม 2567 | 1,022ดอกผลของความเพียร สู่ทุเรียนสองฝนสวนบังบา สวนแรกเริ่มจัดงานบุฟเฟต์ทุเรียน(เขาพระ)
18 สิงหาคม 2567 | 692ป้าแอด หญิงแกร่งแห่งอำเภอรัตภูมิ ยึดอาชีพทำนาจนเกิดเป็นแบรนด์ข้าวสังข์หยด สบายแสนคูหาใต้
23 มิถุนายน 2567 | 1,099"ลุงแจ้ว"สามล้อถีบรุ่นสุดท้ายแห่งเมืองสงขลา ขี่สามล้อถีบมากว่า 59 ปีกับอาชีพที่รักและมีความสุข
13 มิถุนายน 2567 | 1,676