ทำความรู้จักกลุ่มเปอรานากัน Peranakan หรือ บาบ๋า-ย่าหยา คือกลุ่มลูกครึ่งมลายู-จีนที่มีวัฒนธรรมผสมผสาน และสร้างวัฒนธรรมแบบใหม่ขึ้นมาโดยเป็นการนำเอาส่วนดีระหว่างจีน และมลายูมารวมกัน โดยชื่อ "เปอรานากัน" มีความหมายว่า "เกิดที่นี่"
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยาม "บาบ๋า" และ "ย่าหยา" "เรียกชายที่เป็นลูกครึ่งจีนกับมลายูที่เกิดในมลายูและอินโดนีเซีย ว่า บ้าบ๋า, คู่กับ ย่าหยา ซึ่งหมายถึงหญิงลูกครึ่งจีนกับมลายูที่เกิดใน มลายูและอินโดนีเซีย" อย่างไรก็ตามชาวเปอรานากันในประเทศไทย
บริเวณจังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันโดยเฉพาะภูเก็ตและตรังทั้งเพศชายและหญิง จะถูกเรียกรวม ๆ ว่า บ้าบ๋า หรือบาบา ส่วน ย่าหยา เป็นเพียงชื่อของชุดสตรีเท่านั้นส่วนในภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีกระจายตัวอยู่แถบพื้นที่โดยเฉพาะ ปัตตานี สงขลา นราธิวาส
อย่างไรก็ดีชาวจีนที่อพยพมาทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกของประเทศไทยสมัยโบราณตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์จนถึงรัชกาลที่ 5 ส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนฮกเกี้ยนซึ่งจะกระจายอยู่แถบพื้นที่โดยเฉพาะ ปัตตานี สงขลา นราธิวาส ถ้าเป็นลูกครึ่งจีน หรือ ลูกจีนที่เกิดในพื้นที่ ก็จะเรียกว่า บาบ๋า หรือ เปอรานากัน ด้วยเช่นกัน.
ขอบคุณภาพข้อมูล : เพจ เปอรานากัน สงขลา - Singora Peranakan
หนังสือหัดอ่านหนังสือไทย ใช้ยาวนานถึง 2 สมัย
26 พฤศจิกายน 2566 | 176ถนนศรีสุดา บ่อยาง (สงขลา) ในอดีต
26 พฤศจิกายน 2566 | 2,917ปิดตำนาน 72 ปี ตำรวจรถไฟ (ย้อนวันวานสถานีตำรวจรถไฟหาดใหญ่)
22 ตุลาคม 2566 | 3,596คนสงขลาเล่าประสบการณ์เดินป่า(ช้า) ที่อำเภอหนองจิก
22 ตุลาคม 2566 | 941ประวัติหลวงพ่อเเดง วัดท่าแซ เก่งเรื่องหมอยารักษาโรค
15 ตุลาคม 2566 | 1,039ทำไมถึงเรียกว่า "เขาน้ำค้าง" ตามตำนาน เขาน้ำค้างเป็นยอดเขาสูง
15 ตุลาคม 2566 | 6,009เล่าเรื่องคุณยาย ภาพถ่ายกว่า 70 ปี ในวันรำลึกบรรพบุรุษของชาวปักษ์ใต้
15 ตุลาคม 2566 | 3,324วัดในวัง (นาทวี) เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5
24 กันยายน 2566 | 792