ทางรถไฟสายหาดใหญ่–สงขลาหรือ ทางรถไฟสายสงขลา–สุไหงโก-ลก เป็นทางแยกสายหนึ่งของทางรถไฟสายใต้ ที่ชุมทางหาดใหญ่ สุดปลายทางที่สถานีรถไฟสงขลา มีความยาว 29 กิโลเมตร
ทางรถไฟสายสงขลาเป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายใต้ซึ่งในขณะนั้นมีการก่อสร้างเป็นช่วง ๆ เบื้องต้นมีการก่อสร้างเส้นทางสงขลา–พัทลุง ระยะทาง 107 กิโลเมตร กระทรวงคมนาคมจึงนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เปิดการเดินรถรับส่งผู้โดยสารและสินค้าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2456 เป็นต้นมา กรมรถไฟหลวงก่อสร้างทางรถไฟสายใต้เสร็จสิ้นใน พ.ศ. 2459 เชื่อมการเดินทางไปถึงสถานีรถไฟบางกอกน้อยได้
กรมรถไฟหลวงได้ย้ายทางแยกสายสงขลา จากเดิมแยกที่สถานีรถไฟชุมทางอู่ตะเภาไปยังสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ เพื่อให้ชุมทางสายสุไหงโก-ลก และสายปาดังเบซาร์รวมอยู่ที่หาดใหญ่ที่เดียว พร้อมกับยุบเลิกสถานีรถไฟชุมทางอู่ตะเภาใน พ.ศ. 2465 ทำให้การเดินทางระหว่างสงขลากับหาดใหญ่เป็นไปอย่างสะดวก และมีการเพิ่มขบวนรถเพื่อรองรับผู้โดยสารที่มีมากขึ้นตามลำดับ
ในเวลาที่ผู้คนนิยมใช้รถไฟในการโดยสาร ใน พ.ศ. 2509 รัฐบาลได้ก่อสร้างทางหลวงเพิ่มขึ้น มีการปรับปรุงผิวทางจราจรให้แข็งแรง การเดินทางด้วยรถยนต์จึงได้รับความนิยมแทนที่รถไฟ ที่สุดคณะรัฐมนตรีมีมติให้การรถไฟแห่งประเทศไทยยกเลิกการเดินรถไฟสายสงขลา ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 แต่ให้รักษาเขตทางไว้ก่อน โดยมิได้รื้อทางรถไฟออก ปัจจุบันเส้นทางอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม และมีผู้บุกรุกปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนทับบริเวณเขตทางรถไฟเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในเขตเทศบาลนครสงขลา
ประกอบด้วยสถานี ที่หยุดรถและป้ายหยุดรถดังต่อไปนี้
กม. 928.58 ชุมทางหาดใหญ่
กม. 929.13 ป้ายหยุดรถตลาดหาดใหญ่
กม. 932.05 ป้ายหยุดรถคลองแห
กม. 934.61 ป้ายหยุดรถคลองเปล
กม. 936.15 ป้ายหยุดรถบ้านเกาะหมี
กม. 936.92 สถานีเขาบันไดนาง
กม. 939.20 ป้ายหยุดรถตลาดน้ำน้อย
กม. 939.83 สถานีน้ำน้อย
กม. 942.23 ป้ายหยุดรถบ้านกลางนา
กม. 944.45 สถานีควนหิน
กม. 945.19 ป้ายหยุดรถตลาดพะวง
กม. 948.53 ที่หยุดรถน้ำกระจาย
กม. 950.81 ป้ายหยุดรถบ้านบางดาน
กม. 956.68 ป้ายหยุดรถวัดอุทัย
กม. 958.04 สถานีสงขลา
กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนสถานีรถไฟสงขลา พื้นที่ 3 ไร่ 1 งาน 51 ตารางวา เป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2547
หนังสือหัดอ่านหนังสือไทย ใช้ยาวนานถึง 2 สมัย
26 พฤศจิกายน 2566 | 176ถนนศรีสุดา บ่อยาง (สงขลา) ในอดีต
26 พฤศจิกายน 2566 | 2,921"เปอรานากัน" กลุ่มลูกครึ่งมลายู-จีน สงขลา
22 ตุลาคม 2566 | 760ปิดตำนาน 72 ปี ตำรวจรถไฟ (ย้อนวันวานสถานีตำรวจรถไฟหาดใหญ่)
22 ตุลาคม 2566 | 3,596คนสงขลาเล่าประสบการณ์เดินป่า(ช้า) ที่อำเภอหนองจิก
22 ตุลาคม 2566 | 942ประวัติหลวงพ่อเเดง วัดท่าแซ เก่งเรื่องหมอยารักษาโรค
15 ตุลาคม 2566 | 1,043ทำไมถึงเรียกว่า "เขาน้ำค้าง" ตามตำนาน เขาน้ำค้างเป็นยอดเขาสูง
15 ตุลาคม 2566 | 6,009เล่าเรื่องคุณยาย ภาพถ่ายกว่า 70 ปี ในวันรำลึกบรรพบุรุษของชาวปักษ์ใต้
15 ตุลาคม 2566 | 3,324