ภาพยนตร์เรื่อง ช้าง กำกับและถ่ายทำโดย มาเรียน ซี คูเปอร์ และ เออร์เนส บี โชคแส็ค ใช้เวลาถ่ายทำทั้งสิ้นปีครึ่ง สิ้นเงินประมาณ 2 แสนบาทไทยขณะนั้น สถานที่ถ่ายทำคือจังหวัดน่าน พัทลุง ตรัง สงขลา และชุมพร
การถ่ายทำภาพยนตร์ในสยามโดยคนไทย เริ่มด้วยพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ พระเจ้าน้องยาเธอในรัชกาลที่ 5 ทรงสั่งซื้อกล้องถ่ายภาพยนตร์และอุปกรณ์เข้ามาในสยามเมื่อครั้งที่พระองค์ ทรงตามเสด็จพระพุทธเจ้าหลวง ประพาสยุโรปครั้งแรกในปี พ.ศ. 2440 แล้วทรงเริ่มถ่ายภาพยนตร์ด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เอง
ภาพยนตร์ส่วนใหญ่เป็นภาพยนตร์สั้นๆ ส่วนพระองค์ เป็นบันทึกพระราชกรณียกิจในพระราชพิธีสำคัญๆ ของพระพุทธเจ้าหลวง และทรงนำออกฉายเก็บค่าดูจากสาธารณชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานขายของประจำปีของวัดเบญจมาบพิตรฯ ผู้ถ่ายภาพยนตร์ในสยามยุคบุกเบิก ที่สมควรแก่การจารึกพระนามไว้อีกพระองค์คือ พระศรัทธาพงศ์ (ต่วย) ซึ่งต่อมาทรงเป็นเจ้าของโรงหนังรัตนปีระกา
ปี พ.ศ. 2465 ในสมัยรัชกาลที่ 6 พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงอัครโยธิน พระเจ้าน้องยาเธอในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดตั้งกองภาพยนตร์เผยแพร่ข่าวขึ้นในกรมรถไฟหลวง เพื่อทำหน้าที่ผลิตหนังข่าวสารและสารคดีเผยแพร่กิจการของกรมรถไฟสยาม
ตลอดจนกิจการของกระทรวงทบวงกรมอื่นๆด้วย อีกทั้งยังรับจ้างผลิตภาพยนตร์ให้กับเอกชนโดยทั่วไป เมื่อการสร้างภาพยนตร์บันเทิงของไทยในสยามถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2470 ก็ได้อาศัยอุปกรณ์และบุคลากรจากกองภาพยนตร์นี้เองเป็นสำคัญ
ฉายครั้งแรกในประเทศไทย เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2471 เวลาที่ภาพยนตร์เรื่อง ช้าง ออกฉายในประเทศสยามนั้น คนไทยได้สร้างหนังบันเทิงและนำออกฉายแล้วหลายเรื่อง ผู้คนจึงไม่ค่อยตื่นเต้นกับภาพยนตร์เรื่อง ช้าง กันมากเท่าที่ควร
ขอบคุณภาพบทความ : พันธ์ศักดิ์ บุญช่วย
ชมภาพเก่าเมื่อ 89 ปีก่อน โรงงานแป้งสาคู ณ บ้านคลองแงะ (สะเดา)
13 กรกฎาคม 2568 | 10กว่า 161 ปี สุเหร่าบ้านพรุหมาก มัสยิดแห่งแรกของอำเภอเทพา
13 กรกฎาคม 2568 | 34ย้อนประวัติเรือพัทลุง เรือที่ใช้ติดต่อราชการระหว่างเมืองสงขลา-เมืองพัทลุง
13 กรกฎาคม 2568 | 39กัปตันวอสเบียน : ผู้ให้กำเนิดจักรยานพ่วงข้างคันแรกของปักษ์ใต้ ณ เชิงเขาตังกวน (สงขลา)
6 กรกฎาคม 2568 | 1,945ที่มาชื่อบ้านท่าช้าง อ.บางกล่ำ ย้อนรอยชม "เสาหงส์" ครั้งพม่ายกทัพตีหัวเมืองภาคใต้
6 กรกฎาคม 2568 | 343ย้อนตำนานเมื่อครั้งอดีต วงเวียนแยกหลาลุงแสง 3 ยุคสมัย 3 รูปแบบ
6 กรกฎาคม 2568 | 5,827ย้อนชมภูมิปัญญาการทำขวัญข้าว สู่การสร้างวงเวียนพระแม่โพสพ ศูนย์รวมจิตใจชาวระโนด
8 มิถุนายน 2568 | 1,153เปิดที่มาชุมชนประวัติศาสตร์ บ้านควนจง (นาหม่อม)
8 มิถุนายน 2568 | 1,301