หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

ติดตามข่าวสารหาดใหญ่ ข่าว งาน ที่พัก อับเดทตลอด 24 ชม. ได้ที่นี่ APP IOS
ติดตามข่าวสารหาดใหญ่ ข่าว งาน ที่พัก อับเดทตลอด 24 ชม. ได้ที่นี่ APP ANDROID
ติดต่อลงโฆาณา หาดใหญ่โฟกัส หางานหาดใหญ่
บอกเพื่อนคุณ
เทพาจากอดีตถึงปัจจุบัน ในสมัยโบราณ เป็นเมืองเล็กๆ
7 พฤษภาคม 2566 | 4,086

เทพา เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสงขลา ในสมัยโบราณมีฐานะเป็นเมืองชื่อ “เทพา” เป็นเมืองเล็กๆ ที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ทุกยุคทุกสมัย ในสมัยกรุงสุโขทัย (แผนที่ประเทศไทย : ทองใบ แตงน้อย) เมืองเทพาขึ้นอยู่กับเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งมีพระพนมวัง และนางสะเตียงทองครองเมืองนครศรีธรรมราช ในสมัยกรุงศรีอยุธยาก็มีชื่อเมืองเทพาปรากฏอยู่ว่า เป็นเมืองจัตวาขึ้นอยู่กับเมืองพัทลุง ตรงกับแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราช พ.ศ.2291( พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ) สมัยกรุงธนบุรีพ.ศ. 2318 ปรากฏชื่อเมืองเทพาให้ยกทัพไปช่วยเมืองจะนะปราบโจรมลายู และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณปี พ.ศ. 2329 สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าให้ยกเมืองสงขลาขึ้นเป็นเมืองตรี และโปรดเกล้าฯให้ยกเมืองเทพาขึ้นกับเมืองสงขลา

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯให้เจ้าเมืองสงขลาต่อเรือ 30 ลำ เจ้าเมืองสงขลาจึงให้คนไปต่อเรือที่เมืองเทพา สมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองสงขลา มีบรรดาเจ้าเมืองต่างๆทางภาคใต้ไปรับเสด็จมากมาย รวมทั้งเจ้าเมืองเทพา ชื่อ “กล่อม” เฝ้ารับเสด็จด้วยและในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต้นหัวเมืองใหญ่ทางภาคใต้ พ.ศ. 2432 ในการเสด็จประพาสต้นคราวนั้น ได้ทรงเยี่ยมเมืองเทพาด้วย

เมืองเทพามีสภาพเป็นเมืองตลอดมาจนพ.ศ. 2444 - 2447 รัชกาลที่ 5 ได้ทรงปรับปรุงกิจการบ้านเมืองเกี่ยวกับการปกครอง ทรงจัดตั้งมณฑลขึ้น และแยกเมืองเทพาตั้งขึ้นเป็น “อำเภอเทพา” ขึ้นกับจังหวัดสงขลา โดยตั้งที่ว่าการอำเภอที่บ้านพระพุทธ หมู่ที่ 2 ริมแม่น้ำเทพา เพื่อความสะดวกในการติดต่อค้าขาย ต่อมาการคมนาคมเจริญขึ้น มีรถไฟสายใต้ตัดผ่านอำเภอเทพา ซึ่งห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 8 กิโลเมตร

จนกระทั่งปี พ.ศ.2475 ทางราชการได้ย้ายที่ว่าการอำเภอเทพามาตั้งที่บ้านท่าพรุ หมู่ที่ 1 ตำบลเทพา(ที่ตั้งปัจจุบัน) ซึ่งใกล้กับสถานีรถไฟเทพา ซึ่งขณะนั้นมีชื่อว่า “สถานีท่าม่วง” ครั้นย้ายที่ว่าการอำเภอเทพามาตั้งใกล้สถานีรถไฟแล้ว ทางการรถไฟจึงได้เปลี่ยนชื่อสถานีท่าม่วง มาเป็น “สถานีเทพา” ตามชื่ออำเภอจนปัจจุบัน

ในอดีตผู้คนจะใช้การคมนาคมทางน้ำเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากเมืองเทพาสมัยก่อนตั้งอยู่ปากแม่น้ำ ที่ออกสู่ทะเล จนก่อให้เกิดภูมิปัญญาในการต่อเรือ “กอและ” ของชาวมุสลิมบ้านพระพุทธ ในปัจจุบันมีการติดต่อทางบกด้วยถนนสายเอเชียที่เชื่อมระหว่าง จังหวัดต่างของภาคใต้และประเทศเพื่อนบ้าน

อำเภอเทพาอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดสงขลา อยู่ห่างจากตัวจังหวัดสงขลาประมาณ 78 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 978 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 69,278 คน (พ.ศ. 2551) แบ่งพื้นที่ปกครองเป็น 7 ตำบล 67 หมู่บ้าน 2 เทศบาลตำบล และ6 องค์การบริหารส่วนตำบล อาณาเขตทิศเหนือจดทะเลอ่าวไทย ทิศตะวันออกจดอำเภอหนองจิกและอำเภอโคกโพธ์ของจังหวัดปัตตานี ทิศตะวันตกจดอำเภอจะนะ และทิศใต้จดอำเภอนาทวี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง