พื้นที่ไม่ไกลและใกล้ในหาดใหญ่ที่มีสถานที่ท่องเที่ยวแหล่งธรรมชาติรายล้อมอยู่นั้น คงหนีไม่พื้นที่ทุ่งตำเสาปัจจุบันมีการเข้าไปนำร่องการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ การนอนแคมป์ปิ้งต่างๆ ริมน้ำตกเรียกได้ว่าสวยงาม วิวและบรรยากาศไม่ได้ต่างจากภาคอื่นเท่าไหร่นัก แล้วจะมีใครสักกี่คนที่ทราบที่มาของพื้นที่ทุ่งตำเสา สถานที่โอบล้อมไปด้วยธรรมชาตินั่นเองครับ
วันนี้เราจึงนำประวัติของพื้นที่ทุ่งตำเสา มาให้ชาวหาดใหญ่ได้อ่านกัน
ตำบลทุ่งตำเสาในอดีตเล่ากันว่า เป็นพื้นที่ที่มีต้นตำเสาขึ้นอยุ่เต็มทุ่งกว้าง ในอดีตบริเวณที่ตั้งของหมู่บ้านในตำบลทุ่งตำเสา เป็นพื้นที่ทุรกันดารและราษฎรตั้งบ้านเรือนอาศัย อยู่จำนวนน้อยพื้นที่ ตำบลทุ่งตำเสาเคยตกอยู่ภายใต้เขตอิทธิพลของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปีพ.ศ.2508 ในยุคที่เกิดสงครามเย็น การก่อการร้ายมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นหลัง เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 เมื่อมีการปราบปรามนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในยุครัฐบาล นายธานินทร์ กรับวิเชียร โดยเฉพาะเขตตำบลทุ่งตำเสาเป็นพื้นที่สีแดง
ซึ่งเป็นเขตและฐานที่มั่นของ ผกค. ที่บ้านวังพามีความเชื่อมโยงกับพื้นที่จังหวัดพัทลุงและสุราษฎร์ธานี โดยเฉพาะค่าย 508 ตำบลพรุพี อำเภอนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี และการก่อการร้ายได้ยุติลง เมื่อสิ้นสุดสงครามเย็นในปี ค.ศ.1989 และรัฐบาลได้นำนโยบาย 66/23 ( ใต้ร่มเย็น ) ทำให้การสิ้นสุดการต่อสู้อุดมการณ์ลัทธิคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย โดยเฉพาะการล่มสลายของสหภาพโซเวียต รัสเซีย และยุโรปตะวันออก
หนังสือหัดอ่านหนังสือไทย ใช้ยาวนานถึง 2 สมัย
26 พฤศจิกายน 2566 | 176ถนนศรีสุดา บ่อยาง (สงขลา) ในอดีต
26 พฤศจิกายน 2566 | 2,917"เปอรานากัน" กลุ่มลูกครึ่งมลายู-จีน สงขลา
22 ตุลาคม 2566 | 759ปิดตำนาน 72 ปี ตำรวจรถไฟ (ย้อนวันวานสถานีตำรวจรถไฟหาดใหญ่)
22 ตุลาคม 2566 | 3,596คนสงขลาเล่าประสบการณ์เดินป่า(ช้า) ที่อำเภอหนองจิก
22 ตุลาคม 2566 | 941ประวัติหลวงพ่อเเดง วัดท่าแซ เก่งเรื่องหมอยารักษาโรค
15 ตุลาคม 2566 | 1,039ทำไมถึงเรียกว่า "เขาน้ำค้าง" ตามตำนาน เขาน้ำค้างเป็นยอดเขาสูง
15 ตุลาคม 2566 | 6,009เล่าเรื่องคุณยาย ภาพถ่ายกว่า 70 ปี ในวันรำลึกบรรพบุรุษของชาวปักษ์ใต้
15 ตุลาคม 2566 | 3,324