เมื่อครั้งงาน "ย้อนรอยอดีตนครหาดใหญ่" ที่จัดขึ้นโดยเทศบาลนครหาดใหญ่ ร่วมกับ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตอนนั้น "นายกไพร" ท่านได้เล่าให้ฟังถึงตำนานของเจดีย์องค์หนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่บนเขาคอหงส์ หลายคนคงจะคิดว่ามันคือ "เจดีย์สแตนเลท" เป็นแน่ แต่สิ่งที่ท่านนายกไพรเล่าปรากฏว่ามันไม่ใช่ เพราะเจดีย์ที่ถูกพูดถึงนั้น น่าจะถูกสร้างขึ้นมาเกินกว่า 500 กว่าปีที่แล้ว
พ.ศ. 2508 ...เราจะพูดย้อนไปถึงบริเวณโรงเรียนเอ็งเสียงสามัคคี โรงพยาบาลหาดใหญ่ และสถานีวิทยุช่อง 11 (เดิม) คุณรู้หรือไม่...ทั้งหมดตั้งอยู่บนป่าช้าทวดทอง เมื่อครั้งตอนทำช่อง 10 ต้องมีการเดินทางไปวางเสาบนเขาคอหงส์ ต้องมีการสร้างทางขึ้นไปบนเขา ในระหว่างทางพบเจดีย์ตั้งอยู่บริเวณยอดเขา ใกล้กับบริเวณที่วางเสาอากาศในปัจจุบัน แต่เคราะห์ร้ายหรือเป็นเพราะอะไรมิอาจทราบได้ พระเจดีย์โบราณ...กลับถูกรถที่ขึ้นไปก่อสร้างถนนได้ชนตกเขาไป มีคนเล่าว่า...ภายในพระเจดีย์ได้บรรจุของโบราณต่างๆ ทั้งถ้วยชาม เงินทอง และพระพุทธรูป ที่จะนำไปถวายพระธาตุนครศรีธรรมราช แต่ไปไม่ทัน จึงมีการสร้างพระเจดีย์ไว้บนยอดเขาคอหงส์ และนำสิ่งของเหล่านั้นบรรจุไว้ภายใน ผู้เฒ่าผู้แก่จึงเรียกบริเวณยอดเขาคอหงส์บริเวณว่า "ควนเจดีย์"
ครั้นเมื่อสร้างโบสถ์วัดคลองเรียน ต้องไปเอาไม้ที่บริเวณควนเจดีย์ มาทำขื่อเพราะถือว่าเป็นสิริมงคล มีการสันนิษฐานกันต่างๆนานาว่า..พื้นที่บริเวณนี่ (เขาคอหงส์ - หาดใหญ่) เป็นแผ่นดินใหญ่ เป็นชุมชนโบราณ มีเจ้าพ่อคอหงส์เป็นเจ้าเมืองและเป็นที่นับถือของชาวบ้าน แต่ก่อนเรียกเจ้าพ่อต้นไทรบ้าง เจ้าพ่อเขาคอหงส์บ้าง อีกทั้งมีหลักฐานโบราณวัตถุปรากฎเกี่ยวเนื่องกับศาสนาฮินดู พราหมณ์ เพราะมีเหรียญศิวลึงค์ และเหรียญกษาปณ์โบราณ พบเจอที่เขาคอหงส์มีอายุกว่าพันปี และเชื่อว่าเจดีย์ก็มีอายุนับพันปีเหมือนกัน แสดงให้เห็นว่าคนต้องอยู่มาก่อน พ.ศ. 2460 ซึ่งตอนเปลี่ยนเป็นเมืองหาดใหญ่มีคนอยู่มากกว่า 24,033 คน
เจ้าพ่อคอหงส์
ปัจจุบันก็ยังไม่มีใครเคยค้นพบพระเจดีย์โบราณองค์ดังกล่าวแต่อย่างใด หรืออาจจะเป็นไปได้ว่า...ครั้งที่พระเจดีย์ถูกรถชนตกเขา ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณตีนเขาคอหงส์ ณ ตอนนั้น อาจจะเป็นคนค้นพบและนำโบราณวัตถุอันล้ำค่าเหล่านั้น ไปขายหรือเก็บเอาไว้ก็เป็นได้ แต่มีอีกหลายคนก็เล่าว่า...พระเจดีย์องค์นั้นอาจจะเป็นเพียงสถูปใส่อัฐิ (กระดูกคนตาย) ของชาวบ้าน และคำสันนิษฐานข้อสุดท้ายคือ...เรื่องทั้งหมดเป็นเพียงนิทานที่ถูกแต่งขึ้นมา เพราะปัจจุบันยังไม่มีการค้นพบหลักฐานหรือชิ้นส่วนขององค์พระเจดีย์ดังกล่าวเลยสักชิ้น
เขียนและเรียบเรียง: hatyaifocus หาดใหญ่โฟกัส
ข้อมูล: นายไพร พัฒโน
ชุมชนรังมดแดงสู่บ้านรำแดง(สิงหนคร)
20 ตุลาคม 2567 | 172ความทรงจำข้างกำแพงเมือง...182 แห่งการสถาปนาเมืองสงขลา(บ่อยาง)
20 ตุลาคม 2567 | 160ย้อนชมที่มา...ประเพณีลากพระของชาวปักษ์ใต้ "พระน้ำดูไปตามชายหลิง พระบกเพริศพริ้งบนหลิงแว็บวับ"
20 ตุลาคม 2567 | 169ตำนานศาลาทวดหัวสะพานพรุเตียว ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านในพื้นที่
22 กันยายน 2567 | 295พาชมถ้ำเขาจังโหลน 1 ในตำนานภูผา ณ อำเภอรัตภูมิ
22 กันยายน 2567 | 379ย้อนประวัติที่ฝังศพชาวฮอลันดา เมืองสงขลา
22 กันยายน 2567 | 412ชุมชนโบราณบ้านปะโอ ชุมชนเก่าแก่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์สงขลา
1 กันยายน 2567 | 547ลุ่มน้ำคลองภูมี ลำน้ำหล่อเลี้ยงและยึดโยงชีวิตของผู้คน 4 อำเภอในพื้นที่จังหวัดสงขลา
1 กันยายน 2567 | 1,597