สงขลา เป็นจังหวัดที่มีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม ทั้งด้านเชื้อชาติ ศาสนา ภาษาและวิชีวิต มีการผสมกลมกลืนจนเกิดเป็นลักษณะเฉพาะตน โดยเฉพาะด้านอาหารการกินที่อุดมสมบูรณ์ จนมีการผลักดันสงขลาสู่เมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารของยูเนสโก ชูความโดเด่นและเอก,กษณ์เฉพาะตนออกสู่สายตาคนต่างพื้นที่
ซึ่งหากนึกถึงสงขลา อาหารที่เรามักจะนึกถึงเป็นสิ่งอันเดับแรกๆที่ขาดไม่ได้เลย คือ เต้าคั่ว อาหารพื้นบ้านในจังหวัดสงขลา เป็นอาหารจำพวกยำ,สลัด (ได้ชื่อว่าเป็นสลัดทะเลสาบ) มีส่วนประกอบอย่างน้อย 9 อย่างขึ้นไป ได้แก่ เส้นหมี่ลวก ถั่วงอกลวก และเครื่องเคียงต่างๆที่หั่นเป็นชิ้นพอดีคำ กุ้งทอดกรอบ เต้าหู้ทอด หูหมูต้ม หมูต้ม เลือดหมู ไข่เป็ดต้มยางมะตูม ผักบุ้งลวก แตงกวา เป็นต้น และส่วนที่สำคัญที่ทำให้เต้าคั่วมีรสชาติอร่อย คือน้ำราดที่มี 3 รส คือ รสหวาน เค็มและเปรี้ยว
เต้าคั่ว มาจากคำว่า เต้าหู้หรือเต้าหู้แข็งทอด มีต้นกำเนิดมาจาก "โรจะก์" อาหารของประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ เมื่อมีการเผยแพร่อาหารนี้เข้ามาจึงได้มีการปรับเปลี่ยนอาหารให้เหมาะสมกับคนในท้องถิ่นนั้นๆ จึงทำให้เต้าคั่วนั้นมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันในแต่ละท้องที่ เช่น สงขลาเรียก เต้าคั่ว ภูเก็ตเรียกว่า อูแช้ ทางใต้ของปัตตานีเรียกว่า รอเยาะ สุราษฎร์ธานีเรียก ผักบุ้งไต่ราว เป็นต้น คนสงขลานิยมทานเต้าคั่วเป็นอาหารเช้า หรืออาหารว่างรองท้อง
โดยเต้าคั่วจะหาซื้อได้ตามตลาดเช้าทั่วๆไปในจังหวัดสงขลา หรือร้านขายอาหารเช้าก็จะมีเมนูเต้าคั่วอยู่ด้วยเสมอ เป็นอาหารที่หาทานได้ไม่ยาก แต่ก็ยังเป็นอาหารที่โดเด่นไม่แพ้เมนูอื่น
(ภาพ : PANTIP)
ข้อมูลบทความ : - เว็บไซค์องค์ความรู้ศิลปะและวัฒนธรรมภาคใต้และคาบสมุทรสยาม-มลายู
- มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
ชุมชนรังมดแดงสู่บ้านรำแดง(สิงหนคร)
20 ตุลาคม 2567 | 172ความทรงจำข้างกำแพงเมือง...182 แห่งการสถาปนาเมืองสงขลา(บ่อยาง)
20 ตุลาคม 2567 | 160ย้อนชมที่มา...ประเพณีลากพระของชาวปักษ์ใต้ "พระน้ำดูไปตามชายหลิง พระบกเพริศพริ้งบนหลิงแว็บวับ"
20 ตุลาคม 2567 | 169ตำนานศาลาทวดหัวสะพานพรุเตียว ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านในพื้นที่
22 กันยายน 2567 | 295พาชมถ้ำเขาจังโหลน 1 ในตำนานภูผา ณ อำเภอรัตภูมิ
22 กันยายน 2567 | 379ย้อนประวัติที่ฝังศพชาวฮอลันดา เมืองสงขลา
22 กันยายน 2567 | 412ชุมชนโบราณบ้านปะโอ ชุมชนเก่าแก่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์สงขลา
1 กันยายน 2567 | 547ลุ่มน้ำคลองภูมี ลำน้ำหล่อเลี้ยงและยึดโยงชีวิตของผู้คน 4 อำเภอในพื้นที่จังหวัดสงขลา
1 กันยายน 2567 | 1,597