ถือเป็นอีกหนึ่งคนที่เรียกได้ว่าทำความดีโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน สำหรับชายผู้นี้ นายประดิษฐ์ มุณีแนม หรือพี่ลูกหมี เจ้าของร้านไก่ใต้น้ำ (หาดใหญ่) หาดใหญ่โฟกัส มีโอกาสได้สัมภาษณ์พี่ลูกหมีถึงเรื่องราวในชีวิตของตนเองก่อนจะมาเปิด ร้านอาหารไก่ใต้น้ำ เรื่องราวชีวิตของพี่ลูกหมีจะเป็นเช่นไรบ้าง เราไปลองอ่านพร้อม ๆ กันเลยจ้า
พี่ลูกหมีจับการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่1-6 ที่โรงเรียนโรงเรียนวัดคงคาวดี อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา จนกระทั่งจบป.6 พี่ไม่เรียนเลยนะ ใครจะว่าจะตียังไง เพราะลำบากเดินไปกลับสักประมาณ 5 กิโลเมตร ตามคันนาส่วนตอนที่เราเรียนที่โรงเรียนควนเนียงวิทยาก็ปั่นจักรยานไป-กลับวันละ 14 กิโลเมตร ไม่มีถนนเลยไม่อยากเรียน พอเราไม่เรียนเราก็ต้องไปทำงานไถนาตื่นตั้งแต่ตี 4 ตี 5 เลี้ยงวัวเลี้ยงควาย 10 โมงกว่าจะเสร็จ พอได้ใช้ชีวิตแบบนี้ก็เลยมานั่งคิดในใจว่า ต่อไปจะเรียนไม่หยุดแล้ว
หลังจากที่จบปริญญาตรีในสาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา แล้วจึงทำงานบริษัทอยู่ทั้งหมด 18 ปี ถือว่าเป็นบริษัทที่ดีมาก ๆ ในประเทศ ส่งเราไปทำงานซัพพอร์ตทางทะเล และ 3 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งซัพพอร์ตเราทุกอย่าง ในช่วงที่เราตัดสินใจลาออก พ่อแม่ แฟน ก็ไม่อยากให้ลาออก เพราะว่าเขามีทั้งรถให้ขับฟรี 4 ปี เปลี่ยนใหม่ให้ เราสามารถเอาใช้ในงานและส่วนตัวที่บ้านได้ ค่าน้ำมันรถเดือนละ 20,000 บาท ค่าเน็ตค่าโทรศัพท์ฟรี เราก็ทำงานให้เขาอย่างเดียว เราทำจนมันอิ่มตัว จริง ๆ ชีวิตพี่ก็ไม่สบายนะ ก็จนลำบากพอสมควร แต่ตอนที่ทำไปก็ไม่ได้หวังว่าจะมาถึงจุดนี้ได้
เล่าจุดเริ่นต้นร้านไก่ใต้น้ำ ให้ฟังหน่อยค่ะ
- คือจริง ๆ ตอนนั้นพี่วางแผนชีวิตไว้ว่าเรียนสัก 20 ปี แล้วพี่ทำงานสัก 20 ปี พออายุ 40 ปี พี่ตั้งใจแล้วว่าจะลาออกจากงาน เพราะอยากทำเพื่อสังคม ตอนนั้นที่ลาออกยังจำได้แม่น เป็นวันที่ 1 พ.ย. 2553 เป็นวันที่น้ำท่วมเมืองหาดใหญ่เลย เงินเดือนเท่าไหร่พี่ไม่สนใจแล้ว ตอนนั้นพอออกแล้วตั้งใจเลยจะกินจะเมาจะเที่ยว
แล้วร้านนี้จึงมาเกิดขึ้นในช่วงที่พี่ตั้งใจว่าจะทำไว้เพื่อกินเพื่อเที่ยว ทำร้านนี้ให้เป็นเหมือนบ้านที่เราอยากจะมา แล้วพี่ก็จะตั้งคติไว้นะว่าพี่จะคบคนวันละคน มี 365 วัน พี่มีเพื่อนแล้ว 365 คน ซึ่งตอนนี้พี่อายุ 53 ปีเหลืออีก 7 ปีที่จะ 60 ปี พี่ก็มีเพื่อนเยอะทั่วทุกสารทิศแล้ว
ส่วนร้านนี้ในช่วงอายุที่พี่ 60 ปี พี่ตั้งใจจะทำเป็นพิพิธภัณฑ์ของพ่อรัชกาลที่ 9 ให้สำเร็จ เพราะพี่รักท่านมาก ทำบ้านของพ่อ ร้านกาแฟให้เสร็จ ช่วง 60 ปีตอนนั้นลูกคงแต่งงานมีครอบครัวแล้วพี่ก็ไม่เหงาด้วย พี่คิดตั้งไว้เลยนะว่าตอนที่ตนเองจะอายุ 60 ปี เราจะไม่ค้าขายแล้ว จะให้เพื่อนมากินกาแฟฟรี ชมพิพิธภัณฑ์ของพ่อ หรือปล่อยให้เด็กที่ร้านทำกันเอง โดยเราก็สอนงาน มีที่อยู่ให้เขาฟรีดูแลซึ่งกันและกัน
พี่มีทำอะไรเพิ่มเติมอีกบ้างคะที่ต่อสังคม
-ในสวนพี่มีปลูกผักผลไม้ไว้นะ ชาวบ้านสามารถเดินเข้ามาเก็บไปกินฟรีได้เลย ห่างจากร้านพี่ 1 กิโลเองครับ ส่วนพิพิธภัณฑ์ที่น้องเห็นนั่นคือ 1 ส่วน 10 เท่านั้น ที่เรายังเอาออกมาไม่หมด ในอนาคตมีการวางขยายแน่นอน จะมีการทำซุ้มเฉลิมพระเกียรติ
พี่ก็มีการทำงานให้วัดให้โรงเรียน ให้โรงพยาบาลอยู่เรื่อย ๆ ถามว่าตัวเองรวยไหม ตอบได้ครับว่าไม่รวย เพราะตัวเราเองก็เป็นหนี้เป็นสิน แต่พี่มองว่าถ้าเรารอให้หมดหนี้ หรือว่ารอให้มีตังค์ชีวิตนี้คงไม่ได้ทำบุญหรือทำทานแน่นอน พูดง่าย ๆ คือเราได้มาเราก็ให้ไป พี่เชื่อคำของในหลวงที่ว่ายิ่งให้ยิ่งได้ บางสิ่งที่เขามีเราอาจจะไม่มี บางสิ่งที่เรามี เขาอาจจะไม่มี ธรรมชาติเลยต้องสอนคนให้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่จุนเจือกัน
พี่ก็ร่วมทำกิจกรรมดี ๆ กับทางโรงเรียนไปเยอะ วัดด้วย โรงพยาบาลก็สนับสนุช่วยอยู่เรื่อย ๆ ครับ และตอนนี้ 1 ในความตั้งใจของพี่คือ จะทำให้กับชุมชนรอบ ๆ นี้ ให้มีชีวิตเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อะไรพัฒนาทำได้ก็จะทยอยทำ เช่นฝาท่อหาย คูระบายไม่มีฝาท่อ พี่ก็เชื่อมเหล็กเอาไปปิดเอง
ส่วนในอนาคตตรงริมคลองที่อยากจะพัฒนามีการพูดคุยและขอกับกรมเจ้าท่า คือเราจะพัฒนาให้เป็นสถานที่ออกกำลังกาย สถานที่ท่องเที่ยวคนในชุมชนสามารถเข้ามาพักผ่อนได้ มีตลาดขายของเอามาแลกเปลี่ยนกัน ใครมีฝือมือทาวด้านใดก็ทำมาขายได้เลยแบบฟรี ๆ โดยจะใช้งบส่วนตัว หรืออาจจะมีเพื่อนฝูงเข้ามาร่วมด้วยได้หมดครับ เราคิดง่าย ๆ เลยนะ ตายไปก็เอาไปไม่ได้สักอย่าง
คิดว่าสิ่งที่ทำอยู่จะทำไปเรื่อยๆ ไหมคะ
-ทำครับ ทำไปเรื่อย ๆ แน่อน เอาเท่าที่ทำได้ ส่วนเด็กในร้านก็ปล่อยให้เขาทำงานของเขาไป เหมือนร้านตัวเองให้คิดแค่นี้ร้านอยู่ได้เขาก็อยู่ได้ ช่วยคนเป็นดีกว่าช่วยคนตายครับ
พี่มีแรงจูงใจอะไรบ้างไหมในการทำความดี
- ไม่มีนะ แค่พี่มองว่าพอใจในสิ่งที่มี พอดีในสิ่งได้ พี่ไม่ขวนขวายอะไรแล้ว ถ้าคิดว่าอยากอยู่สบายพี่คงเลือกทำงานที่บริษัทต่อ ที่ออกมาก็คือพอแล้วไม่เอาอะไรแล้ว แต่ต้องบอกว่าสิ่งที่เราทำแล้วต้องไม่เดือดร้อนครอบครัวหรือว่าใคร บางวันมีคนอุ้มลูกมาขอเงินซื้อนม เราก็ให้ไป ให้แล้วเราก็ไม่ลำบากใจ เขาเองก็มีความสุขด้วย พี่ว่าการให้คือการสื่อสารที่ดีที่สุด
ร้านไก่ใต้น้ำหากนับอายุกี่ปีได้แล้วคะ
- ร้านฝั่งนั้นฝั่งแรกอายุ 11 ปีครับ ส่วนหลังนี้ทำในช่วงโควิดเอง จริง ๆหลังนี้เป็นบ้านของพ่อแฟนแกทำสร้างไว้สมัยสงครามเวียดนาม เป็นบ้านไม้แล้วเขายกให้พี่สาวแฟน พี่สาวแฟนเอาไปจำนองแล้วขาด ตอนนั้นพี่จึงบนหลวงพ่อสงค์ และพ่อหลวงร.9 ว่าถ้าได้กลับมาจะสร้างบ้านของพ่อให้ แล้วได้กลับมาจริง ๆ จึงทำใหม่ครับ
ส่วนบ้านเช่าตรงนั้นก็ทำไว้ให้ชาวบ้านทั่วไปเช่าจากเดือนละ 3,000 บาท แต่ช่วงโควิด-19 ระบาดพี่ลดเหลือให้แค่ 1,000 บาท เพราะเราก็ต้องช่วย ๆ กันลดมาเกือบจะ 2 ปีแล้ว พอมีคนออกที่เหลือก็ยกให้ลูกน้องที่ร้านอยู่ฟรี ใครออกก็ยกให้ลูกน้องอยู่ฟรีอีกครับ
ทุกวันนี้อยากบอกว่าสิ่งที่พี่ทำพี่มีความสุขแล้ว ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็จะทำต่อไป ตอนนี้ตั้งไว้แน่วแน่เลยว่าจะต้องทำให้ชุมชนรอบ ๆ นี้ เป็นแลนด์มาร์คเมืองหาดใหญ่ให้ได้ เพราะชาวบ้านตรงนี้ก็เป็นชาวบ้านดั้งเดิมทุกครัวเรือน
ฝากพี่ลูกหมีให้กำลังใจคนท้อแท้ชีวิตหน่อยค่ะ ทิ้งท้าย
- ผมอยากบอกทุกคนว่าอย่าท้ออย่าถอยนะครับ คนที่ลำบากทุก ๆ คน คนที่ลำบากกว่าเรามี ถ้าเราไปมองว่าคนนั้นดีกว่าเรา ร่ำรวยกว่าเราบางทีเราก็จะรู้สึกหดหู่ครับ ผมก็เคยต่อสู้หรือโดนคุกคามมาเยอะตั้งแต่เรียน ซึ่งตัวผมตั้งแต่เรียนประถมจนถึงวิทยาลัยผมเองก็อยู่วัดมาตลอด กินข้าวก้นบาตรด้วย
และผมก็ไม่ลืมบุญคุณของสิ่งเหล่านี้ บุญคุณของวัด บุญคุณของคนที่ให้เรามา คือเราก็สามารถตอบแทนได้ทุกที่เช่นในสังคม ในโรงเรียน โรงพยาบาล พอเรามีขึ้นมาเราก็อยากจะคืนนกลับให้เขา สิ่งที่ลำบากพวกเราทุกคนสามารถแก้ไขได้ ปัญหามีไว้สู้ไม่ได้มีไว้หนี ถ้าเราหนีปัญหาในชีวิตนี้เราก็ต้องหนีไปตลอด แต่ถ้าเราสู้ปัญหามันก็จะช่วยขัดเกลาให้เราเจอในสิ่งที่ดีขึ้น คิดดีทำดีสิ่งดี ๆ จะเข้ามาหาตัวเราเองครับ พยายามตอบแทนกับคนรอบข้างหรือกับเพื่อนฝูงหรือใครก็แล้วแต่
จำไว้ก็พอครับว่า กำไรจากลูกค้าคืนสู่สังคม สิ่งที่เขาขาดเราอาจมี สิ่งที่เขามีเราอาจขาด
"น้องน้ำฝน"นางสาวสมิหลาสงขลา ประจำปี 2566 สวย เก่ง ครบ สมตำแหน่งที่ได้รับ
6 กรกฎาคม 2566 | 10,791"เซียวบ๊ะจ่าง"ป้าจำลอง ความอร่อยกว่า 80 ปี บ้านทับโกบสะเดา สูตรอาม่าชาวแต้จิ๋ว เมืองซัวเถา ประเทศจีน
21 มิถุนายน 2566 | 663ผู้ก่อตั้งเพจ Hatyai Connext กลุ่มคนขับเคลื่อนเมืองหาดใหญ่ ผ่านการสื่อสารที่เป็นเอกลักษณ์ในมุมมองใหม่
30 พฤษภาคม 2566 | 1,928"หินสีครีม"ช่างซ่อมหนังสือหนึ่งเดียวในย่านเมืองเก่าสงขลา
28 ธันวาคม 2565 | 2,043"พี่เป็กโชคชัย"ชายจากพื้นที่หัวหิน หลงรักเมืองหาดใหญ่ ผนึกทีมสร้างกิจกรรมขับเคลื่อนเมืองจนประสบความสำเร็จหลายงานใหญ่ๆ
26 ธันวาคม 2565 | 1,588"เจมส์"หนุ่มผู้หลงใหลในกีตาร์ตั้งแต่เด็กๆ มุ่งมั่นฝึกซ้อมจนคว้ารางวัลแชมป์ประเทศไทย ราชานักโซโล่กีต้าร์ KING OF SOLO
25 ตุลาคม 2565 | 2,569หนุ่มสงขลาต่อยอดศิลปหัตถกรรม พื้นบ้านสู่รายได้ให้ชุมชนบ้านเกิด กับแบรนด์ Natipong ลูกปัดมโนราห์
12 กันยายน 2565 | 1,213"น้องได๋"สาวประเภทสองสู้ชีวิตด้วยไอเดียเต้นไปด้วยขายน้ำไปด้วยเพิ่มยอดขายหลักพันจากวันละไม่กี่ร้อย
16 มิถุนายน 2565 | 1,967