วันนี้ หาดใหญ่โฟกัส จะมาบอกเล่าเรื่องราวในสมัยก่อนถึงความเป็นมาของ "ควนเนียง" จากคำเล่าขานของบรรพบุรุษที่ถ่ายทอดกันมา ประกอบกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ กล่าวไว้ว่า ควนเนียงเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ มีทำเลตั้งอยู่บนภูเขาเตี้ย ๆ หรือเนินดินที่สูง เรียงกันเป็นควนติดต่อกันเป็นพืด ชาวบ้านที่อยู่อาศัยเรียกชื่อหมู่บ้านนี้ว่า “ ควนเรียง ” ตามลักษณะของควนที่เรียงติดต่อกัน บนเนินดินนี้มีพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่ง คือ ต้นเนียงขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อมีการสัญจรไปมา ชาวบ้านก็จะนำเอาลูกเนียงเป็นของฝากติดมือกลับไป ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นอื่น ๆ รู้กันว่า “ บ้านควนเรียง “ มีลูกเนียงจำนวนมาก จากนั้นชื่อของหมู่บ้านควนเรียง ถูกเรียกให้เพี้ยนเป็น “ ควนเนียง ” จนติดปากชาวบ้านมาจนทุกวันนี้
ควนเนียง แต่เดิมเคยมีฐานะเป็นกิ่งอำเภอมาครั้งหนึ่งแล้วชื่อ “ รัฐภูมี “ ตั้งอยู่ที่บ้านปากบางภูมี กิ่งอำเภอรัฐภูมีในสมัยนั้น การปกครองขึ้นอยู่กับอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง เมื่อประมาณ พ.ศ. 2435 ได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ ชื่อว่าอำเภอรัฐภูมี ใช้สถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภออยู่ที่บ้านปากบางเช่นเดิม
ในปี พ.ศ. 2466 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอรัฐภูมีจากบ้านปากบางไปตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 1 ตำบลกำแพง อำเภอรัฐภูมี เป็นที่ว่าการอำเภอในปัจจุบันและได้เปลี่ยนชื่อเป็นที่ว่าการอำเภอรัตตภูมิ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น” ที่ว่าการอำเภอรัตภูมิ “ เมื่อปี พ.ศ. 2509 ขึ้นตรงต่อจังหวัดสงขลา
ในปี พ.ศ. 2525 สภาตำบลรัตภูมิ บางเหรียง ควนโสและห้วยลึก ได้มีมติเห็นพ้องกันว่าควรรวม 4 ตำบล ยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ และได้เสนอเรื่องไปยังกระทรวงมหาดไทย ต่อมากระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศแบ่งเขตท้องที่อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ตั้งเป็น “ กิ่งอำเภอควนเนียง ” ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2527 โดยให้ 4 ตำบลดังกล่าวมีฐานะเป็นกิ่งอำเภอควนเนียง ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2528 เป็นต้นไป
กิ่งอำเภอควนเนียง มีเขตการปกครอง 4 ตำบล 41 หมู่บ้าน มีประชากรกว่า 3 หมื่นคน มีเนื้อที่ 209 ตารางกิโลเมตร เดิมได้ใช้สถานที่ห้องสมุดประชาชนซึ่งตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลรัตภูมิ เป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอควนเนียงชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2528 เรื่อยมาจนกระทั่งได้ก่อสร้างที่ว่าการอำเภอควนเนียงแล้วเสร็จจึงได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ ณ ที่ว่าการกิ่งอำเภอควนเนียง ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2529 ต่อจากนั้น ก็ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำเภอควนเนียงเป็น “อำเภอควนเนียง” พ.ศ. 2533 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 107 ตอนที่ 83 ลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2533 มีผล ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2533 เป็นต้นมา
ปัจจุบันอำเภอควนเนียงมีชื่อเสียงขึ้นชื่อในหลายด้าน ๆ อีกทั้งมีโรงเรียนมัธยมฯ ขนาดใหญ่ คือ โรงเรียนควนเนียงวิทยา
น้ำแข็งขูดควนเนียง อันนี้คงหนีไม่พ้นถึงความอร่อยและขึ้นชื่อเป็นอย่างมาก
ทะเลปากบางภูมี ทะเลสาบขนาดใหญ่ที่ยังคงมีความสวยงามของธรรมชาติ เหมาะแก่การพักผ่อนสำหรับครอบครัว
ผักปลอดสารพิษบางเหรียง เน้นคุณภาพ ความสด อร่อยของผักที่ปลูกเอง
สถานีรถไฟควนเนียง สถานีรถไฟที่หลาย ๆ คนใช้เป็นจุดถ่ายรูป เช็คอิน และถ่ายพรีเวดดิ้ง ซึ่งเป็นสถานที่ที่น่าดึงดูดใจ
ศูนย์เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมอำเภอควนเนียง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวอำเภอควนเนียง
นอกจากนี้ ควนเนียงก็มี 7-11 แล้วนะ อิอิ
และอีกจุดเช็คอินที่สำคัญ คือ ตลาดสดควนเนียง ที่มีอาหารสดใหม่ และสินค้าต่าง ๆ มากมาย ปัจจุบันอำเภอควนเนียงมีนักท่องเที่ยวเข้ามามากมาย เพราะมีอัตลักษณ์เฉพาะตัวที่ต่างจากอำเภออื่น ๆ
ขอบคุณภาพจาก : http://parhuwat.blogspot.com/
ศาลาตาเล่อเท่อ ที่พึ่งของชาวบ้านเมื่อของสำคัญสูญหาย
27 เมษายน 2568 | 304จากอดีตบ้านทุ่งเหม็นขี้ สู่บ้านทุ่งขมิ้น(นาหม่อม)
27 เมษายน 2568 | 278บุกป่าหาน้ำตกลับ...น้ำตกโตนหน้าผี ณ เขาพระ อ.รัตภูมิ
27 เมษายน 2568 | 337ศาลเจ้าแม่กวนอิมสวนหมาก ศาลเจ้าแห่งแรกที่ริเริ่มทำโรงทานเจในสงขลา
20 เมษายน 2568 | 265พาชม...บ้านขุนตระการตะเครียะเขต บ้านเก่าโบราณนับร้อยปี "บ้าน 108 เสา"
30 มีนาคม 2568 | 1,005รู้หม้ายว่า? สงขลาเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีวันประจำจังหวัด
30 มีนาคม 2568 | 798เปิดตำนานความเชื่อ พ่อปู่ภุชงค์-แม่ย่าทองคำ วัดโคกเปี้ยว สงขลา
30 มีนาคม 2568 | 657ศาลเจ้าพ่อทวดหมอน สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ตำบลคูขุด อ.สทิงพระ
2 มีนาคม 2568 | 932