รูปถ่ายถือเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะช่วยเยียวยาความทรงจำประติดประต่อเรื่องราวที่สวยงามในอดีต ที่สามารถทำให้เรานีกถึงวันวานของการกระทำทุกสิ่ง รูปถ่ายที่ถ่ายในสงขลานั้น มีมาตั้งแต่สมัยล้นเกล้ารัชกาลที่5 เสด็จประภาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ส่วนร้านถ่ายรูปรุ่นแรกที่ให้บริการถ่ายภาพเป็นกิจจะลักษณะของเมืองสงขลา เกิดขึ้นสมัยรัชกาลที่ 6 (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว - ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2453 - 2468) ส่วนในแดีตนั้นสงขลาจะมีร้านใดบ้าง อ้างอิงข้อมูลที่คุณ Aey Sungsuwan ได้นำมาเสนอ
เดิมทีมีเพียงร้านจ้งท้อ หน้าศาลหลักเมือง กับร้านลิจั่นของนายลิจั่น อยู่ตรงถนนพัทลุง (ตรงโรงหนังเพรซิเดนส์ ปัจจุบันลี7) แต่เลิกกิจการไปเสียนานไม่มีรายละเอียดบันทึกไว้
ร้านฉายาสงขลาตั้งอย่างเป็นกิจลักษณะโดยนายวิชญ์จอง จตุรพฤกษ์ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2478 โดยก่อนหน้านั้นได้ทำเป็นการชั่วคราว หรือเป็นงานอดิเรกมาชั่วระยะหนึ่งแล้ว และเป็นช่วงที่ร้านจ้งท้อ ลิจั่น ใกล้หยุดกิจการเพราะเจ้าของร้านแก่ชรา ร้านฉายาสงขลาเลิกกิจการเมื่อ พ.ศ. 2500
ต้องบอกก่อนจะกล่าวถึงร้านถ่ายรูปในสงขลา ผู้เขียนใคร่ขอเปรียบเทียบให้เห็นว่าในเวลาใกล้เคียงกันนั้น ที่จังหวัดอื่นๆอำเภออื่นๆมีร้านถ่ายรูปใดบ้างร้านในกรุงเทพฯ นั้นเห็นจะไม่ต้องพูดถึงเพราะมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เช่นร้านนายจิตรซึ่งตั้งเมื่อ พ.ศ. 2406 นับเป็นร้านเก่าสุด เป็นต้น
ที่เชียงใหม่ หนังสือ "กษัตริย์กับกล้อง" ของศาสตราจารย์ศักคา สิริพันธุ์ กล่าวว่า ร้านถ่ายรูปแห่งแรกชื่อร้านชัวย่งเส็ง ของนายเล่งอี้ ชุดิมา หรือหลวงอนุตรสุนทร (เกิด พ.ศ. 2410 ถึงแก่กรรมวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2447 เรื่องปีตายนี้สงสัยว่าจะพิมพ์ผิด เพราะในรูปถ่ายท่านมีอายุมากแล้ว น่าจะเป็น 2474) ร้านชัวย่งเช็งตั้งเมื่อราว พ.ศ. 2413 ถัดจากนี้จึงเป็นร้าน "ทานากาถ่ายรูป" ของชาวญี่ปุ่นชื่อ โมริโนสุเกะ ทานากา หรือ เอ็ม. ทานากา และร้านอื่น ๆ
ทางพชรบุรี ร้านถ่ายรูปเก่าแก่ (เห็นจะเป็นแห่งแรก) คือร้านเตี๋ยวที่ ของนายเอี้ยวชุน เดิมตั้งอยู่ที่ราชบุรีเมื่อ พ.ศ. 2450 จากนั้นจึงย้ายมาตั้งรกรากที่เพชรบุรี เมื่อ พ.ศ. 2460 มีลูกและหลานชื่อนายเทียม นายวิสิทธิ์ เก่าเจริญ เลิกกิจการเสียเมื่อ พ.ศ. 2500
ทางอำเภอหาดใหญ่ หนังสือกษัตริย์กับกล้องกล่าวว่าเดิมมีร้านถ่ายรูปของชาวกวางตุ้งอยู่ร้านหนึ่ง (จะเป็นร้านแรกหรือไม่ ไม่ใด้ระบุ และไม่มีรายละเอียด
ต่อมาจึงมีชาวจีนแผ่นดินใหญ่คนหนึ่งชื่อนายชื่น จงปักเกี่ยม มาเปิด ร้านชื่อ "เปาจิน" ขึ้น นายชื่นผู้นี้เคยอยู่อินโคนีเซีย และสิงคโปร์มาก่อน ได้เรียนวิชาถ่ายรูปงากคนจีนในสิงค์โปรและศึกษาลัวยตนเอง พอแต่งงานแล้วก็เข้ามาหาดใหญ่ มีกรรยาช่วยเป็นลูกมือ ปัจจุบันร้านนี้ยังคงมีอยู่ แต่เปลี่ยนชื่อจากเปาจิน เป็น โปจิน กัลเลอร์เซนเตอร์ นายสุวิชซ์ (หลานนายชื่น) เป็นผู้ดูแล ปีตั้งร้าน หนังสือกษัตริย์กับกล้องบอกว่าราว พ.ศ. 2469 แต่เมื่อดูจากงานถ่ายรูปตลาดโคกเสม็ดชุนหาดใหญ่ พ.ศ.2467 แล้ว ก็น่าจะตั้งมาก่อน พ.ศ.2467 เถ้าแก่ร้านโปจินนี้ คุณหยกสินีบอก
-จังหวัดตราด ร้านถ่ายรูปเก๋าแก่ที่สุดชื่อร้านเยี้ยนเหยียน ของนายก๊กใช้ ตั้งเมื่อราว พ.ศ. 2465 ภายหลังย้ายไปจันทบุรี ส่วนร้านที่เก่ารองลงมาชื่อร้านวิไลศิลป์ ของนายวิไล รุ่งรัตนะ เปิดเมื่อประมาณ พ.ศ.2475 นายวิไล ไปเรียนถ่ายภาพมาจากเมืองชัวเถาประเทศจีนเนื่องจากพ่อและเม่เป็นจีนปัจจุบันได้เช้งต่อให้แก่ลูกน้อง
-นครสวรรค์ มีร้านถ่ายรูปชื่อ ศรีศิลป เปิดเมื่อประมาณ พ.ศ. 2481 โดยนายซื้อเขี้ยง แช่เอี้ย ชาวชลบุรีนายจื้อเขี้ยงเคยเป็นช่างในร้านเฮี๊ยะมุ้ย จังหวัดอุทัยธานี เมื่อแต่งงานแล้วจึงย้ายไปตั้งร้านที่นครสวรรค์ พอถึงปี พ.ศ.2500ก็เริ่มทำกล้องถ่ายรูปไม้สักออกจำหน่าย โดยเลียนแบบจากกล้องญี่ปุ่น เป็นที่นิยมใช้กันตามห้องภาพต่างๆ ปัจจุบันทายาทที่ยังทำกล้องอยู่คือนายประเสริฐ สังสิทธิยาพร
ส่วนในสงขลานั้นเริ่มรู้จักวิชาถ่ายรูปและบุกเบิกการถ่ายรูปก็คือ หลวงวิเศษภักดี หรือ พระยาวิเชียรคิรี(ชม ณ สงขลา) นั้บแต่ พ.ศ.2413 เป็นต้นมา
ร้านถ่ายรูปทันใจแห่งแรกของแหลมสมิหลาร้านไทยศิลปัโดย นายสวัสดิ์ เชิญสวัสดิ์ (โกขาว) เปิดที่หาดสมิหลาเป็นร้านแรกเมื่อราว พ.ศ. 2494 นับเป็นร้านถ่ายรูปแบบรอรับได้เลยร้านแรกของหาดสงขลา จากการถ่ายรูปบุคคลที่มาท่องเที่ยวแบบธรรมดา ๆ ต่อมาคุณขาวก็คิดทำรูปสนุก ๆ เป็นงานศิลป เรียก รูปลอบตัว ให้บริการ ดังได้ยกตัวอย่างแต่ต้น ทำให้นักท่องเที่ยวชอบใจและนิยมถ่ายกันมาก คิดราคาได้สูงกว่าภาพถ่ายทั่วไป ความคิดในการทำรูปตลก ๆ เข้าใจว่าจะมาจากการดูภาพยนตร์อินเดีย
ซึ่งมีการเหาะเหินเดินอากาศน่าอัศจรรย์ใจคุณขาวในฐานะช่างภาพเมื่อดูแล้วก็พอจะนึกวิธีการประดิษฐ์รูปได้ ช่างภาพเรียกเทคนิดนี้ว่าเทนิคช้อนรูปสมมุติว่าจะถ่ายคนอื่นมือออกไป บนฝ่ามือมีขวดโหล ในขวดโหลมีตัวคนคนนั้นนั่งอยู่ วิธีทำต้องถ่ายคนนั่ง (ใช้ฉากที่ไม่มีลวดลายข้างหลังจะดีที่สุด เช่นท้องฟ้า) รูปหนึ่ง กับถ่ายคนทำท่ายื่นมือ มีขวดโหลในมือ อีกรูปหนึ่ง เสียก่อน ต่อจากนั้นเอาฟิล์มมาล้างในห้องมืด วางกระดาษอัดรูปให้มั่นคงอย่าให้เคลื่อน อัดรูปคนบนมือลงไปก่อน แล้วทำเครื่องหมายหรือจดจำบริเวณที่เป็นส่วนขวดโหลเอาไว้ให้ดี
จากนั้นอัดรูปคนนั่ง (ย่อให้เล็กพอเหมาะที่จะอยู่ในขวด) ซ้อนลงไปเกลี่ยแสงให้ดี (ใช้ความชำนาญ) นำไปล้าง ก็จะได้ภาพคนอยู่ในขวดโหลตามที่ต้องการ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ช่างต้องมีความแม่นยำชำนาญจริง ๆ ไม่เช่นนั้น ก็จะได้ภาพที่ดูไม่สมจริง แลเห็นเป็นรูปตัดต่อ ไม่มีฝีมือ ค่าถ่ายรูปแบบนี้ โดยทั่วไปคิดอัตราคู่ละ 30 บาทด้วยฝีมืออันประณีต และความเป็นหนึ่งเดียวไม่เหมือนใคร
จึงทำให้ร้านไทยศิลปัมีลูกค้ามาอุดหนุนกัน มากมาย กระทั่งต้องมีลูกมือช่วยถ่ายเป็นร้อยคน บางคนมาเรียนรู้วิธีแล้วก็ออกไปตั้งร้านใหม่ประสบความสำเร็จบ้างไม่สำเร็จบ้างขึ้นอยู่กับฝีมือของแต่ละคน บางคนก็นำความรู้ไปหากินในท้องถิ่นอื่นเช่น บางแสน ดอยสุเทพ หรือแม้ในเขาดิน ซึ่งเป็นแหล่งที่คุณขาวไปเรียนวิชาถ่ายภาพมา ทำให้คุณขาวมีลูกศิษข์ลูกหาทั่วไป ปีหนึ่ง ๆ ก็แวะเวียนมาเยี่ยมกันหลายสิบคน
ร้านวิมลลักษณ์ ถนนนางงาม โดยนายเซ่งคี้ วิมล วัฒนธรรม (เคยทำงานกับร้านฉายา) เป็นอีกร้านหนึ่งที่แยกตัวไปเปิดหลังมีครอบครับ และรับถ่ายฟิมล์ภาพยนต์ 16 ม.ม.ด้วย นอกจากนี้ก็ยังมี ร้านลิจั่น คลื่นศิลป์ ฮาวาย จิงจิง ฯลฯ
เห็นได้ว่าสงขลาเรามีความทันสมัยมาตั้งแต่อดีตเนื่องจากเป็นเมืองท่าในการขนส่งและค้าขายทำให้นำพาเทคโนโลยีก็เข้ามาในบ้านเรา ในทุกๆยุคสมัยทำให้สงขลาเป็นเมืองที่มีศิลปมากมายแฝงเร้นในทุกคนได้คนหาและชื่นชม
เป็นอย่างไรกันบ้างชาวหาดใหญ่-สงขลา พอได้เห็นภาพความประทับใจจากร้านถ่ายรูปในสงขลากันแล้ว ท่านใดเคยไปใช้บริการกันแล้วก็คอมเม้นต์บอกได้เลยนะคะ เผื่อจะได้มีภาพมาเล่าต่อกันให้คนรุ่นหลังได้ฟังรับรู้กันบ้าง แต่ละภาพก็จะมีเสน่ห์ที่แตกต่างกันออกไปตามลำดับ
ขอบคุณข้อมูลภาพบทความ : Aey Sungsuwan
ร่องรอยจากอดีต พิพิธภัณฑ์วัดท่าช้าง(บางกล่ำ)
18 พฤษภาคม 2568 | 325เจ้าบ่าวน้อยแห่งควนเขาสูง : วีรบุรุษชุมชนท้องถิ่น บ้านพรุเตาะ ต.ทุ่งใหญ่
18 พฤษภาคม 2568 | 328หรางเมืองสงขลาในอดีต ครั้นย้ายเมืองสงขลามาฝั่งบ่อยาง
18 พฤษภาคม 2568 | 374บัวของคนภาคใต้...ที่ไม่ได้หมายถึงดอกบัว
11 พฤษภาคม 2568 | 432ร่องรอยเจดีย์บนเกาะหนู โบราณสถานสำคัญสมัยอาณาจักรอยุธยา
11 พฤษภาคม 2568 | 699ศาลาตาเล่อเท่อ ที่พึ่งของชาวบ้านเมื่อของสำคัญสูญหาย
27 เมษายน 2568 | 1,052จากอดีตบ้านทุ่งเหม็นขี้ สู่บ้านทุ่งขมิ้น(นาหม่อม)
27 เมษายน 2568 | 609บุกป่าหาน้ำตกลับ...น้ำตกโตนหน้าผี ณ เขาพระ อ.รัตภูมิ
27 เมษายน 2568 | 962