หลาย ๆ คนคงรูจักกับนิกายคริสตศาสนาในประเทศไทยคริสตศาสนาเกิดจากพระเยซูคริสต์ ผู้ที่เชื่อและปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์จึงได้ชื่อว่าเป็น คริสตชน กว่าสองพันปีที่คริสตศาสนาสืบทอดมาท่ามกลางชนนานาชาติ
คริสต์ศาสนาแบ่งออกเป็นนิกายใหญ่ๆ 3 นิกาย คือ
1)โรมันคาทอลิก ใช้ภาษาลาตินเป็นหลัก มีสมเด็จพระสันตะปาปาเป็นประมุขสูงสุด อยู่ที่กรุงโรม มีพระสงฆ์ นักบวชชายหญิง
2) ออร์โธด๊อก ใช้ภาษากรีก มีผู้นำสูงสุดของแต่ละประเทศ เรียกว่าพระอัยกา (Patriarch) ไม่มีผู้นำสูงสุดระดับสากล
3) โปรเตสแตนท์ ซึ่งเป็นชื่อรวมของนิกายต่างๆ ที่แยกตัวออกมา ในช่วงแรกๆ มีนิกายลูเทอร์รัน นิกายอังกรีกันท์ ต่อมาเกิดนิกายอื่นๆ อีก เช่น นิกายเพรสไบทีเรียน นิกายแบ๊บติสต์ นิกายเม็ทโทดิส นิกายเพ็นเตคอส นิกายดิสไซเบิล และนิกายเซเว่นเดย์แอ็ดเวนติส เป็นต้น
สำหรับนิกายโปรเตสแตนท์ เข้ามาครั้งแรกในสมัยอยุธยา แต่เข้ามาทำงานเผยแพร่จริงจังในสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งแต่ปีพ.ศ.2371(ค.ศ.1828) กลุ่มมิชชันนารีที่เข้ามาเป็นกลุ่มจากประเทศอังกฤษ เยอรมันและสหรัฐอเมริกา เช่น กลุ่มลอนดอนมิชชันนารีโซไซเอ็ทตี้ กลุ่มอเมริกันเพรสไบทีเรียนฯลฯ ซึ่งต่อมากลุ่มมิชชันนารีนี้จัดตั้งเป็นสภาคริสตจักรในประเทศ ในปีพ.ศ.2477(ค.ศ.1934)
(คริสต์จักรเซเว่นเดย์แอดเวนดิสต์) หาดใหญ่ ตั้งอยู่ที่โชคสมาน 4
นอกจากนั้นยังมีกลุ่มมิชชันนารีอื่นๆ ที่เข้ามาแล้วจัดตั้งเป็นองค์การอีก 3 กลุ่มคือ สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทยในปีพ.ศ.2499 (ค.ศ.1956) สหคริสตจักรแบ๊บติสต์ในปีพ.ศ.2492 (ค.ศ.1949) และคริสตจักรวันเสาร์(เซเว่นเดย์แอดเวนดิสต์) ปีพ.ศ.2449(ค.ศ.1906) ในปี พ.ศ.2513(ค.ศ.1970) ได้มีการประชุมเพื่อประกาศพระกิตติคุณครั้งที่ 1 ของ 3 องค์การแรก และตัดสินใจก่อตั้งคณะกรรมการเพิ่มพูนคริสตจักรในปีค.ศ.1972 ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะกรรมการประสานงานคริสตจักรโปรเตสแตนท์ในประเทศไทย (กปท.) ในปี พ.ศ.2531(ค.ศ.1988) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมมือในการทำพันธกิจและศาสนกิจ เสริมสร้างความเป็นเอกภาพ และเป็นองค์การกลางในการประสานงานกับภาครัฐและภาคเอกชนอื่น
ซึ่งในอำเภอหาดใหญ่ก็มีโบถ์นิกายโบสถ์โปรแตสแตนท์ของอำเภอหาดใหญ่ ในปี2478 เป็นภาพของโบสถ์ที่มีความสวยงาม ตัวอาคารสร้างด้วยไม้ ลักษณะโดดเด่นแฝงด้วยงานศิลปะของต่างประทศ อีกทั้งภายใต้ถุนโบสถ์ยังมีรภสามล้อที่ในสมัยก่อนชาวหาดใหญ่ใช้สัญจร หรือรับจ้างอาชีพขับสามล้อจะมีให้เห็นกันอย่างคับคั่ง ทังนี้ตัวโบสถ์ดังกล่าวไม่ทราบที่ตั้งแน่ชัด หากใครมีประวัติข้อมูลเพิ่มเติมก็สามารถบอกเล่าต่อกันได้นะครับ
ขอบคุณภาพจาก : Dr.Robert L. Pendleton, UWM. Libraries , Kuhakan Pornchai
ศาลาตาเล่อเท่อ ที่พึ่งของชาวบ้านเมื่อของสำคัญสูญหาย
27 เมษายน 2568 | 221จากอดีตบ้านทุ่งเหม็นขี้ สู่บ้านทุ่งขมิ้น(นาหม่อม)
27 เมษายน 2568 | 205บุกป่าหาน้ำตกลับ...น้ำตกโตนหน้าผี ณ เขาพระ อ.รัตภูมิ
27 เมษายน 2568 | 267ศาลเจ้าแม่กวนอิมสวนหมาก ศาลเจ้าแห่งแรกที่ริเริ่มทำโรงทานเจในสงขลา
20 เมษายน 2568 | 257พาชม...บ้านขุนตระการตะเครียะเขต บ้านเก่าโบราณนับร้อยปี "บ้าน 108 เสา"
30 มีนาคม 2568 | 934รู้หม้ายว่า? สงขลาเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีวันประจำจังหวัด
30 มีนาคม 2568 | 727เปิดตำนานความเชื่อ พ่อปู่ภุชงค์-แม่ย่าทองคำ วัดโคกเปี้ยว สงขลา
30 มีนาคม 2568 | 584ศาลเจ้าพ่อทวดหมอน สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ตำบลคูขุด อ.สทิงพระ
2 มีนาคม 2568 | 860