หลาย ๆ คนสงสัยกันไหมหาดใหญ่มีสะพานข้ามกันตั้งหลายแห่ง แต่ใครในที่นี้จะรู้บ้างว่า สะพานเส้นใดคือสะพานเส้นแรกของหาดใหญ่ "สะพานหาดใหญ่" หรือ "สะพานข้ามทางรถไฟ" ที่เราชาวหาดใหญ่คุ้นเคย หนึ่งในสิ่งปลูกสร้างที่อยู่คู่กับชาวหาดใหญ่มากว่าครึ่งศตวรรษ ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2511 ซึ่งเป็นการก่อสร้างสะพานแห่งแรกของอำเภอหาดใหญ่ สร้างโดยบริษัท "สง่าพาณิชย์จำกัด" ด้วยวงเงิน 5 ล้าน 7 แสนบาทและต่อมามีการสร้างสัญญาณไฟแดงที่บริเวณนั้นชาวบ้านจึงเรียกว่า "สี่แยกสะพานลอย" ส่วนบางคนที่เรียกว่า สี่แยกโรงแรมวีแอล เนื่องจากมีโรงแรมวีแอลซึ่งตั้งโดดเด่นอยู่ในสี่แยกนี้
สะพานข้ามทางรถไฟแห่งแรกของอำเภอหาดใหญ่ บ้างก็ว่าเป็นสะพานข้ามทางรถไฟแห่งแรกของประเทศไทย (อันนี้ไม่ทราบได้) สะพานลอยแห่งนี้เปิดใช้ในปี พ.ศ.2512 ซึ่งในสมัยนั้นสะพานคงเป็นสิ่งที่แปลกใหม่ ตื่นตาตื่นใจต่อผู้พบเห็น มีคนเล่าให้ฟังว่าสมัยก่อนมีบางคนนั่งรถไฟมาจากต่างจังหวัดเพื่อที่จะมาดูสะพานลอยแห่งนี้ ซึ่งเปรียบดั่งมหรสพ ณ ขณะนั้นเลยทีเดียว
ในปัจจุบันข้างใต้สะพานลอยแห่งนี้กลายเป็นร้านค้า ร้านขายของเก่า ร้านซ่อมของต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นร้านซ่อมกางเกงยีนส์ ร้านซ่อมรองเท้า ร้านอัดกรอบพระ ฯลฯ ซึ่งเรียกได้ว่ากลายเป็นอีกหนึ่งชุมชนเลยทีเดียว เพราะผู้ใหญ่หลายๆคนเวลาเที่ยงๆ มักจะขับรถมานั่งคุยกับเซียนพระ มาส่องพระ จิบน้ำชากาแฟ ณ บริเวณแห่งนี้อยู่เป็นประจำ ใกล้ๆสะพานดำมีร้านชาทอง ร้านน้ำชากาแฟเก่าแก่ที่เปิดขายมาตั้งแต่ พ.ศ.2500 เป็นเวลากว่า 60 ปีแล้ว (ไม่รู้ปิดยัง)
ทุกวันนี้สะพานข้ามทางรถไฟแห่งแรกของหาดใหญ่ ที่เราบางคนเรียกว่า "สะพานดำ" ยังคงวางอยู่ ณ จุดๆเดิมเป็นระยะเวลากว่า 50 ปี แม้ว่าจะมีการปรับปรุงอยู่บ่อยครั้ง แต่เจ้าสะพานคู่เมืองแห่งนี้ยังไม่เคยทรุดพังลงมาแต่อย่างใด มันยังตั้งอยู่ตรงนั้นในฐานะฑูตเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง ฝั่งพระนคร (หาดใหญ่) กับฝั่งธน (หาดใหญ่ใน) ได้เชื่อมต่อกันเป็นปึกแผ่นเดียวกันนั้นเอง...
ความจริงของสะพานดำ หรือสะพานดำจริงๆอยู่ตรงไหน? แท้จริงแล้วสะพานดำตั้งอยู่บริเวณสี่แยกถนนราษฏร์อุทิศ (พลัสคอนโด) ซึ่งในอดีตบริเวณนั้นเป็นป่ารกทึบ มีหนองบึงเล็กๆ และมีสะพานไม้สีดำพาดผ่าน คนแถวนั้นจึงเรียกว่า "สะพานดำ" ต่อมาบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป เมืองหาดใหญ่ขยายตัวกว้างใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
สะพานไม้สีดำถูกแปรเปลี่ยนเป็นบ้านเรือน ถนน และคอนโด ส่งผลให้ "สะพานดำ" หายไป ต่อมามีการสร้างสะพานลอยข้ามทางรถไฟ โดยใช้ยางมะตอยราด คนจึงเรียกสะพานแห่งนี้ว่า "สะพานดำ" ประกอบกับบริเวณสะพานไม้สีดำ (เดิม) อยู่ใกล้ๆ ก็จึงเรียกกันต่อๆมา และเพี้ยนกันมาจนทุกวันนี้..
ศาลาตาเล่อเท่อ ที่พึ่งของชาวบ้านเมื่อของสำคัญสูญหาย
27 เมษายน 2568 | 305จากอดีตบ้านทุ่งเหม็นขี้ สู่บ้านทุ่งขมิ้น(นาหม่อม)
27 เมษายน 2568 | 279บุกป่าหาน้ำตกลับ...น้ำตกโตนหน้าผี ณ เขาพระ อ.รัตภูมิ
27 เมษายน 2568 | 338ศาลเจ้าแม่กวนอิมสวนหมาก ศาลเจ้าแห่งแรกที่ริเริ่มทำโรงทานเจในสงขลา
20 เมษายน 2568 | 265พาชม...บ้านขุนตระการตะเครียะเขต บ้านเก่าโบราณนับร้อยปี "บ้าน 108 เสา"
30 มีนาคม 2568 | 1,006รู้หม้ายว่า? สงขลาเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีวันประจำจังหวัด
30 มีนาคม 2568 | 799เปิดตำนานความเชื่อ พ่อปู่ภุชงค์-แม่ย่าทองคำ วัดโคกเปี้ยว สงขลา
30 มีนาคม 2568 | 658ศาลเจ้าพ่อทวดหมอน สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ตำบลคูขุด อ.สทิงพระ
2 มีนาคม 2568 | 933