หาดใหญ่โฟกัส มีโอกาสได้ลงสัมภาษณ์ คุณณรงค์ รัตนเลิศ วัย 70 ปี ทายาทรุ่นที่ 3 ผู้สืบทอดกิจการโรงงานซีอิ้วอ่องเฮียบเซ่ง เริ่มแรกตัวผมเริ่มศึกษาในโรงเรียนจีนสงขลาวิทยามูลนิธิ จบประถมปีที่ 4 จบพ.ศ 2505 แล้วไปเรียนต่อโรงเรียนถนนวิเชียรชม แล้วมาต่อที่โรงเรียนมหาวชิราวุธ สุดท้ายมาเรียนที่อัสสัมชัญ ได้ภาษาที่นั่น แต่ก็เรียนไม่จบ เพราะด้วยตอนนั้นในหัวมีแต่คำว่าอยากจะค้าขาย
โดยที่ช่วงนั้นคุณปู่ที่อพยพมามีชื่อว่า นาย หวาง ฉาง เหมี่ยว ย่า นางช่าย เสียน ปี้ (เป็นคุณย่าประเทศไทย) ส่วนคุณย่าประเทศจีน ชื่อ หวง ย่า บรรพบุรุษผู้ที่ทำให้มีทุกวันนี้
คุณณรงค์ ในวัย 70 ปี ที่ดูแข็งแรงเป็นอย่างมาก เจ้าของโรงงานซีอิ้วอ่องเฮียบเซ่ง ที่ตั้งอยู่ 351 ถนน นครนอก อำเภอเมืองสงขลา บ้านทรงหลังเก่าตั้งอยู่ริมถนนหากได้ลองเดินเข้าไปก็จะได้พบกับโอ่งบรรจุซีอิ้วที่สกัดเรียบร้อยเรียงหลาย รวมถึงการทำเต้าหู้ยี้ ด้วยวิธีธรรมตามฉบับสูตรเดิมรุ่นอากงและอาม่า ทำให้สามารถสัมผัสได้ถึงรสชาติความเค็มของซีอิ้วรวมถึงความหอม
คุณณรงค์เล่าให้ฟังว่าแรกเริ่มเลยช่วงนั้นอากงได้มาแต่งงานกับย่าไม่มีอะไรติดตัวมาเลยนอกจากเสื้อผืนหมอนใบ เดินทางมาจากฮกเกี้ยน ก่อนมาปักหลักในสงขลา
จุดเริ่มต้นของการทำซีอิ้ว ที่มาโรงงาน
- ตอนนั้นแรกเริ่มอากงของผมได้ไปเป็นลูกจ้างในโรงงานแห่งหนึ่งที่เซี่ยเหมิน ประเทศจีน โดยเป็นลุกจ้างฝึกหัดทั่วไปในวิชาการทำซีอิ้ว จึงได้กลับมาเปิดของตัวเองที่สงขลา หากให้รวมระยะเวลาทุกวันนี้ก็เป็นเวลากว่า 118 ปีแล้วครับ
เป็นรุ่นที่เท่าไหร่แล้วคะ
- ตอนนี้ผมเป็นรุ่นที่สามแล้วครับ ตัวผมเองอายุ 70 ปี แรกเริ่มโรงงานเรายังไม่ได้ตั้งอยู่ที่นี่อยู่ตรงบ้านเก่าห่างจากที่เดิมราวๆ 800 เมตร ตรงที่ตั้งในปัจจุบันผมได้ย้ายมาทีหลัง ตอนนี้ยังไม่มีคนรับช่วงลูก ๆ ผมเองทำงานกันอยู่ที่อื่น ตอนนี้ตัวผมเองก็ยังห่วงเหมือนกันว่าจะหาใครมารับช่วงต่อ ตัวผมเองมารับช่วงต่อก็ตอนเขาย้ายโรงงานมาตั้งอยู่ที่ถนนครนอกแล้วในช่วงปีพ.ศ. 2521
เล่าถึงความยากลำบากให้ฟังหน่อยได้ไหมคะ กว่าจะมีทุกวันนี้
- ตอนนั้นที่อากงจะเดินทางมาก็เจอเรือข้าวฟากอยู่ตรงสิงคโปร์ จึงได้อพยพมาที่นี่ โชคดีที่มาแต่งงานกับคุณย่าท่านก็มีทรัพย์สมบัติที่สงขลาทำให้เราได้ตั้งเนื้อตั้งตัว โดยที่ในสมัยก่อนคนข้างบ้านก็เห็นแล้วว่าอากงของผมขยันมาก จึงกล้าที่จะยกลูกสาวให้แต่งงาน ก็ทำมาหลายอย่างแล้วตั้งแต่ขายปาท๋องโก๋ ก่อนมาทำโรงงานซีอิ้ว
สูตรของซีอิ้วมีอะไรบ้าง เรามีปรับยังไงบ้าง
-ส่วนใหญ่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เท่าที่ผมจำได้ก็แบบเดิม ตอนนี้มี 4 ชนิด เต้าหู้ยี้ เต้าเจี้ยว ซีอิ้วหวาน ซีอิ้วขาวเเบบเค็ม หรือว่าซอสถั่วเหลือง ทุกวันนี้เน้นการขายส่ง ขายหน้าร้านมีน้อยมาก เมื่อก่อนจะมีอีกอย่างนึงเต้าซี่ถั่วเหลืองผิวดำ มันเป็นถั่วเหลืองนี่แหละครับแค่เปลือกมันมีสีส้ม เมื่อกระเทาะเปลือกออกก็จะมีสีเหลือง เดี๋ยวนี้ไม่มีพันธุ์ เดี๋ยวนี้ก็จะมีการขายส่งแบบแห้งมากกว่าครับ
เล่าถึงชีวิตตนเองให้ฟังหน่อยได้ไหมมคะ
-ตอนที่ผมบอกว่าเรียนไม่จบ ออกมาเพื่อที่จะค้าขายตอนนั้นผมไปช่วยเตี่ยทำงาน เพราะเตี่ยมีกงสี ไปลุงทุนกงสีขายเครื่องเหล็กที่หาดใหญ่สหสิน ขายอุปกรณ์จำพวกเครื่องเหล็กเครื่องก่อสร้าง ช่วงนั้นทำอยู่ที่กงสีโรงเหล็กประมาณ 4 ปี พอแต่งงานก็ต้องกลับมาอยู่บ้านในปีพศ.2521 ตัวผมเองก็มีความรู้ด้านเหล็กอยู่เหมือนกัน เราต้องเดินทางไปทุกจังหวัดอย่างมากในช่วงนั้น เพื่อไปขายเหล็ก ต้องบอกว่าผ่านอะไรมาเยอะมากครับ ผมรักและผูกพันธ์กับสิ่งพวกนี้อย่างมาก
หากใครได้ฟังเรื่องราวของคุณณรงค์แล้ว ก็อย่าลืมแวะเวียนไปชมโรงงานซีอิ้วของแกกันได้ตามพิกัดที่ระบุไว้ข้างต้น หรืออยากจะช่วยอุดหนุนซีอิ้วของเมืองเก่าสงขลาก็สามารถติดต่อได้ที่เบอร์ 081-7383321
เปิดประวัติชีวิต" ปลัดแป้น" จากนักปกครองสู่ว่าที่นายกหาดใหญ่ ชีวิตที่ไม่ง่ายหลังลงสมัครนายกกว่า 2 สมัย
15 พฤษภาคม 2568 | 181"พี่ปุ้ย" สาวสองสู้ชีวิตผู้มีลีลาสาธิตการขายร่ม จนเป็นกระแสดังในโซเชียลทั้งไทยและมาเลย์
6 พฤษภาคม 2568 | 753"ครูทอง" ทายาทรุ่นที่ 3 ผู้สืบทอดภูมิปัญญาการปั้นหม้อยาวนานกว่า 100 ปี ของบ้านสทิงหม้อ อ.สทิงพระ
24 มีนาคม 2568 | 954“เชือกกล้วยตานี” จากของเหลือทิ้ง สู่ผลิตภัณฑ์สร้างรายได้ให้ชุมชนคูเต่า ภายใต้ชื่อ “กอร์ตานี”
19 มีนาคม 2568 | 1,020ชีวิตหลังเกษียณของอดีตฯ ผู้ว่าฯ สงขลา ผันตัวเองป็นเกษตรกรสวนทุเรียนกว่า 400 ต้น
3 มีนาคม 2568 | 23,167ตาผิน ผู้ประดิษฐิ์สิ่งของจากวัสดุธรรมชาติ สู่สินค้าโอท็อปประจำอำเภอรัตภูมิ
2 มีนาคม 2568 | 735"ธนกร"กุ้ยช่าย สูตรลับจากคุณแม่ที่ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน เลี้ยงครอบครัวกว่า 45 ปี ออเดอร์ไกลถึงสหรัฐฯ
6 กุมภาพันธ์ 2568 | 739"เกียว"เบเกอรี่จากรุ่นแม่สู่คุณลูก กว่า 30 ปี ร้านขนมปังเล็กๆที่ไม่ธรรมดาในสะเดา
8 ธันวาคม 2567 | 2,532