เคยสังเกตกันไหม ? ศาลาไม้ที่พักริมทาง ต.ทุ่งหวัง เมืองสงขลา ตั้งอยู่คู่กับบ่อน้ำโบราณ ศาลาเป็นไม้ทั้งหลังเปิดโล่งหลังคากระเบื้องดินเผา จากตลาดทุ่งหวัง ไป วัดทุ่งหวังใน ศาลาตั้งอยู่สามแยกไปวัดเขาราม ก่อนอื่นต้องขอเท้าความของประวัติแห่งนี้กันอีกสักรอบ ตำบลทุ่งหวังหรือบ้านทุ่งหวัง เชื่อว่าเป็นการเรียกคนชื่อ นายหวัง เป็นมุสลิมที่อพยพหนีทัพมาจากการยกทัพของเจ้าเมืองปัตตานีมาตีเมืองสงขลา พอเสร็จศึก มุสลิมกลุ่มหนึ่งอพยพหนีทัพมาทำกินในบริเวณบ้านสวนใต้ (หมู่ที่ 2 ในปัจจุบัน) และอพยพต่อไปบริเวณเขาวัง
(หมู่ที่ 7 บ้านทรายขาว) ซึ่งเป็นที่ทำ มาหากินของมุสลิมบ้านทรายขาวในปัจจุบัน เดิมนายหวังเป็นชื่อของแม่ทัพแขก ตอนยกทัพมาตีเมืองสงขลาแต่ตีไม่สำเร็จ และถูกปราบปรามจึงหนีการจับกุมและ นำพรรคพวกมาตั้งรกรากขึ้น ที่ตั้งและอาณาเขต องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหวัง จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2538 เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 บ้านชายควน ถนนทุ่งหวัง - ทรายขาว
จากภาพหากเราสังเกตศาลาแห่งนี้มีความเก่าแก่เป็นอย่างมาก ตั้งอยู่เด่นมีขนาดใหญ่ ทำจากกระเบื้องดินเผาอย่างดี โดยชาวสงขลาจะเรียกว่า อิฐ ทั้งสิ้น แต่คำว่ากระเบื้องดินเผาเมืองสงขลาในที่นี้ หมายเอาตามชื่อที่ปรากฎในเอกสารของทางการ สมัยตันกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งคลุมถึงกระเบื้องสำหรับมุงหลังคาและกระเบื้องสำหรับปูพื้น ซึ่งภาษากลางเรียกว่า กระเบื้องหน้าวัว (ชาวสงขลาเรียก อิฐหน้าวัว)
ซึ่งกระเบื้องดินเผาเมืองสงขลา เป็นหัตถกรรมพื้นเมืองสงขลามาตั้งแต่สร้างเมือง มีความหลากหลายในรูปแบบ ตามลักษณะการใช้งาน มีการทำเป็นอาชีพเลี้ยงปากท้องกันเป็นชุมชนในอดีต เบื้องสงขลา เป็นกระเบื้องทีมืชื่อเสียง คุณภาพดีอิฐลายมีเอกลักษณ์ในเนื้อ มาเป็นเวลานาน มีรูปแบบและคุณสมบัติเหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศของภาคใต้ มีความทนทานใช้งานได้หลายสิบปี (จนถึงทุกวันนี้ หลายร้อยปี ทีเดียว) เช่เดียวกับอายุของศาลาแห่งนี้
ส่วนบ่อน้ำโบราณ ชาวสงขลาจะพบเห็นอย่างมากอย่างคำที่ว่า "สงขลาเมืองมีบ่อ" ทั้งนี้เพราะสงขลาอยู่ติดทั้งทะเลสาบและทะเลใหญ่ (อ่าวไทย) จึงต้องขุดบ่อเพื่อหาน้ำจืดมาดื่มหรือทำการเกษตรและไว้ใช้ในครัวเรือน ทีนี้เราเห็นแล้วใช่ไหมคะว่าบ่อน้ำมีประโยชน์กับชาวสงขลามาตั้งแต่ไหนแต่ไร แล้วสงขลามีความอุดมสมบูรณ์มากและเด่นทางด้านประวัติศาสตร์ ลักษณะของบ่อน้ำจึงเป็นบ่อน้ำที่มีความโบราณและมีความสวยงามของลักษณะบ่อที่ไม่เหมือนภาคใด เป็นไปได้ชาวสงขลาเองจึงต้องรักษาให้คงสภาพเช่นเดิม
ขอบคุณภาพ : พันธ์ศักดิ์ บุญช่วย
กัปตันวอสเบียน : ผู้ให้กำเนิดจักรยานพ่วงข้างคันแรกของปักษ์ใต้ ณ เชิงเขาตังกวน (สงขลา)
6 กรกฎาคม 2568 | 1,191ที่มาชื่อบ้านท่าช้าง อ.บางกล่ำ ย้อนรอยชม "เสาหงส์" ครั้งพม่ายกทัพตีหัวเมืองภาคใต้
6 กรกฎาคม 2568 | 239ย้อนตำนานเมื่อครั้งอดีต วงเวียนแยกหลาลุงแสง 3 ยุคสมัย 3 รูปแบบ
6 กรกฎาคม 2568 | 4,506ย้อนชมภูมิปัญญาการทำขวัญข้าว สู่การสร้างวงเวียนพระแม่โพสพ ศูนย์รวมจิตใจชาวระโนด
8 มิถุนายน 2568 | 1,016เปิดที่มาชุมชนประวัติศาสตร์ บ้านควนจง (นาหม่อม)
8 มิถุนายน 2568 | 1,171วิถีมุสลิมบ้านดอนขี้เหล็ก "ประเพณีการทูนพานอาหาร" ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 100 ปี
8 มิถุนายน 2568 | 968เปิดตำนาน...ที่มาชื่อบ้านบ่อแดง อ.สทิงพระ
25 พฤษภาคม 2568 | 1,549ของดีของหรอยท่าเลออก ตลาดริมทางของผู้สัญจรผ่าน ณ สามแยกบ่อทราย (ปากรอ)
25 พฤษภาคม 2568 | 3,803