หาดสมิหลาก่อนมีรูปปั้นนางเงือกสภาพชายหาดสมิหลาและเกาะหนู เกาะแมว ถ่ายเมื่อเดือน เมษายน ปี 2508 หาดสมิหลาในยุคนี้ยังเงียบสงบ ไม่พลุกพล่าน ยังไม่มีการสร้างรูปปั้นนางเงือก ที่ต่อมาได้กลายเป็นสัญญลักษณ์อันลือชื่อของหาดสมิหลาและจังหวัดสงขลา
รูปปั้นนางเงือกได้ถูกสร้างขึ้นในปี 2509นักปกครองหนุ่มวัย 40 ปี ผู้มีวิสัยทัศน์ก้าวไกล"นายชาญ กาญจนาคพันธุ์" ปลัดจังหวัดสงขลา ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองสงขลาด้วย เป็นผู้ริเริ่มในการสร้างสัญญลักษณ์ทางวัตถุของเมืองสงขลา ให้ผู้คนได้รู้จัก นอกเหนือสัญญลักษณ์ทางธรรมชาติ "เกาะหนู เกาะแมว"
โดยในวัยเด็กปลัดชาญ มักได้ยินคุณพ่อ"ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) "(นักคิด นักค้นคว้า และนักเขียนสำคัญคนหนึ่งของ ยุครัตนโกสินทร์) เล่านิยายปรัมปราเกี่ยวกับนางเงือก ไว้ว่า" ในวันดีคืนดีนางเงือกจะมานั่งหวีผม บนชายหาดด้วยหวีทองคำ วันหนึ่งบังเอิญว่ามีชายชาวประมงเดินผ่านมา ทำให้นางเงือกตกใจ รีบหนีลงทะเลไปโดยลืมหวีทองคำไว้ ฝ่ายชาวประมงเห็นดังนั้นก็เก็บหวีทองคำไว้และเฝ้าคอยนางเงือกที่หาดนั้นเสมอ แต่นางเงือกก็ไม่เคยปรากฏกายให้เห็นอีกเลย"
ด้วยเรื่องที่พ่อเล่าให้ฟังตั้งแต่เด็ก จึงเป็นที่มาที่จะสร้างรูปปั้นนางเงือก ในท่าที่กำลังหวีผม เพื่อเป็นสัญญลักษณ์ของเมืองสงขลา ใช้งบประมาณของเทศบาล 60,000 บาทในการสร้าง โดยให้ศิลปินนักปั้นชั้นครูเมืองหนึ่งของเมืองไทยในสมัยนั้น"อาจารย์จิตร บัวบุศย์" อาจารย์ใหญ่โรงเรียนเพาะช่าง (ผู้ที่มีผลงาน การปั้นพานรัฐธรรมนูญ บนอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อปี พ.ศ.2483) เป็นผู้ออกแบบ หล่อและปั้นรูปนางเงือก
ด้วยสถานที่มีธรรมชาติสวยงามบริเวณแหลมสมิหลา รูปปั้นนางเงือกนั่งแปรงผมยาวสลวยอยู่บนโขดหินธรรมชาติ ได้อย่างเหมาะเจาะพอดีกับทุกสิ่งทุกอย่างในบริบทนั้น บนหาดสวย ริมทะเลงาม มีเกาะหนู เกาะแมว เป็นฉากหลัง เพราะฉะนั้นผู้ที่มาเยือนเมืองสงขลา ต้องไม่พลาดที่จะมาถ่ายรูปคู่กับนางเงือกทองสงขลา แห่งนี้
ขอบคุณภาพข้อมูล : คุณพันธศักดิ์ บุญช่วย ,กลุ่มภาพเก่าใอดีต
ย้อนชมภูมิปัญญาการทำขวัญข้าว สู่การสร้างวงเวียนพระแม่โพสพ ศูนย์รวมจิตใจชาวระโนด
8 มิถุนายน 2568 | 582เปิดที่มาชุมชนประวัติศาสตร์ บ้านควนจง (นาหม่อม)
8 มิถุนายน 2568 | 916วิถีมุสลิมบ้านดอนขี้เหล็ก "ประเพณีการทูนพานอาหาร" ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 100 ปี
8 มิถุนายน 2568 | 632เปิดตำนาน...ที่มาชื่อบ้านบ่อแดง อ.สทิงพระ
25 พฤษภาคม 2568 | 1,340ของดีของหรอยท่าเลออก ตลาดริมทางของผู้สัญจรผ่าน ณ สามแยกบ่อทราย (ปากรอ)
25 พฤษภาคม 2568 | 3,661ตำนานทวดเข้...ทวดขุนดำ-ทวดแขนลาย แห่งสายน้ำคลองท่าม่วง อ.ควนเนียง
25 พฤษภาคม 2568 | 2,219ร่องรอยจากอดีต พิพิธภัณฑ์วัดท่าช้าง(บางกล่ำ)
18 พฤษภาคม 2568 | 949เจ้าบ่าวน้อยแห่งควนเขาสูง : วีรบุรุษชุมชนท้องถิ่น บ้านพรุเตาะ ต.ทุ่งใหญ่
18 พฤษภาคม 2568 | 2,394