กลับมาพบกันในปลายเดือนมิถุนายน กับเรื่องราวแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิต การตั้งความสำเร็จจนสามารถไปถึงฝั่งฝัน ล่าสุดหาดใหญ่โฟกัส มีโอกาสได้สัมภาษณ์ ผศ.ดร.พรไทย ศิริสาธิตกิจ (อาจารย์หนุ่ม) อายุ 48 ปี ถึงจุดผันในชีวิต และเส้นทางการเดินสู่ตำแหน่งหน้าที่การงานจนสำเร็จมาจนถึงทุกวันนี้
ประวัติอาจารย์หนุ่ม ตอนนี้ตำรงตำแหน่งผู้ช่วยอธิการฝ่ายสื่อสารองค์กรและองค์กรสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
พ.ศ. 2558 ปรด.(พัฒนศึกษา) มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2547 ศศม.(รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
พ.ศ. 2541 ศศม.(ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
พ.ศ. 2538 นศบ.(วิชาเอกการหนังสือพิมพ์ วิชาโทรัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรังสิต
สำหรับเส้นทางในชีวิตวัยเด็ก
-ผมเกิดในตำบลเขานิพันธ์ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ความทรงจำของผมต่อบ้านเกิดนับแต่จำความได้คือ บ้านผมเป็นพื้นที่ของการต่อสู้ระหว่างรัฐบาลกับคอมมมิวนิสต์ พ่อกับแม่ผมซึ่งเป็นครูทั้งคู่ จึงส่งผมและพี่ ๆ ไปเรียนอนุบาลที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งแต่อนุบาล โดยมียายเป็นคนดูแล เมื่อสถานการณ์ต่อสู้สงบลงผมจึงกลับไปเรียนต่อประถมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนเขานิพันธ์ ป.1-ป.6 เพื่อร่วมชั้นผมอ่านหนังสือด้วยตะเกียงนำมันก๊าด หลังจากที่ผมจบ ป.6 ผมเข้าไปเรียนมัธยมที่อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ่อกับแม่ต้องการให้ผมเรียนรู้ที่รับผิดชอบตัวเองมากขึ้น ผมเลยตัดสินใจตามที่ท่านต้องการจึงได้ย้ายผมไปเรียนที่โรงเรียนศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
เส้นทางวัยมหาวิทยาลัย
-ในช่วงนั้นเองผมจบมัธยมปลายด้วยเกรดเฉลี่ยนไม่ถึง 2.00 เกรดเฉลี่ย บอกถึงความตั้งใจเรียนของผมได้ดีว่ามันน้อยมาก แม่จึงให้ผมไปเรียนที่มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีคุณภาพ หากแต่ค่าเทอมสูงมากแม่จึงต้องหยิบยืมเพื่อน ๆ มาจ่ายค่าเทอมให้ผมหลาย ๆ ครั้ง ผมรับรู้ความลำบากของแม่มาตลอด จึงเริ่มปรับตัวเองนับตั้งแต่ปี 1 เทอม 2 จนถึง ปี 4 ผมตั้งใจเรียนอย่างมาก เพราะหนึ่งก็เกรงใจแม่ที่สนับสนุนผมอย่างเต็มที่ ผมเลยเต็มที่กับการเรียนที่มหาวิทยาลัยรังสิต ในการเรียนนั้นผมที่มีโอกาสได้ปฏิบัติจริง
จนมาถึงในวันที่ผมมวันที่ผมรับปริญญาตรี ช่วงนั้นเองแม่ผมโล่งใจมากซึ่งในตลอด 4 ปีที่ผ่านมา คุณแม่เขียนจดหมายให้กำลังใจและแสดงถึงความเชื่อมั่นในตัวผมมาก
จุดเปลี่ยนในชีวิต สู่การทำงาน
หลังจากที่ผมเรียนจบปริญญาตรี มีบริษัทและองค์กรด้านข่าวได้ติดต่อให้ผมไปทำงานด้วยทันที แต่ทว่าความคิดผมเริ่มเปลี่ยนผมอยากเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยจึงปฏิเสธคำชวนจากรุ่นพี่เลือกมาเรียนต่อปริญญาโท เริ่มเป็นอาจารย์ผู้ช่วยสอนที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยตาปี
ต่อด้วยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ จึงหันมาสอนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช อยู่ประมาณ 5 ปี จากนั้นผมจึงสอบเรียนต่อปริญญาเอก พร้อมกับลาออกมาเรียนแบบเต็มเวลาผมเรียนทุนส่วนตัวไป 2 ปี จนได้รับทุนอุดหนุนจากโครงการพัฒนาอาจารย์และบุคลากรสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในเขตพัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้ (บุคคลทั่วไป) โดยมีมหาวิทยาลัยทักษิณรับเป็นหน่วยในการรับเข้าทำงานหากจบการศึกษา และเมื่อจบการศึกษาผมจึงเข้าทำงานที่มหาวิทยาลัยทักษิณ มาจนถึงปัจจุบัน
แรงกดดัน และแรงบันดาลใจ ในการใช้ชีวิต
-ผมผ่านการเรียนปริญญาเอก มาถึง 2 มหาวิทยาลัย ถึงจะจบการศึกษา แรงกดดันตอนเรียนปริญญาเอกหากเรียนไม่จบผมจะต้องตกงานและต้องใช้ทุนคืน ซึ่งถือว่าหนักมากสำหรับคนที่มีครอบครัวแล้วแถมยังมีลูที่กยังเล็ก ผมจึงฮึดสู้จากกำลังใจของครอบครัว เพื่อน ๆ และอาจารย์ที่ปรึกษา บทเรียนและแรงกดดันในขณะนั้นทำให้ผมเรียนรู้ที่จะหาทางออก มีความอดทนสูง และเรียนรู้ว่าชีวิตเราขาดการช่วยเหลือและแบ่งปันกันไม่ได้ หลักการนี้นผมนำมาใช้กับการทำงานบริหารด้วยครับ
อะไรคือจุดมุ่งหมายสำคัญ ที่ทำให้เรามีวันนี้
-สำหรับผมแล้ว ผมคิดว่าลึก ๆ แล้ว 4 จุดมุ่งหมายสำคัญที่แยกออกจากกันไม่ได้ ของผมคือ
1.ความฝันและเป้าหมายของตัวเอง
2. ครอบครัวมีความสุข
3.องค์กรของเรามีชื่อเสียงและเป็นที่พึ่งของสังคม
4. ผู้คนในประเทศของเรามีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้ง 4 เป้าหมายนี้ผมเชื่อว่าเราทำลำพังไม่ได้ ต้องช่วยกันทำ ความสำเร็จส่วนตัวจึงต้องเชื่อมกับความสำเร็จ ของสังคมด้วย
ในฐานะที่อาจารย์เป็นอาจารย์ที่สอนหนังสือเด็ก ๆ ในช่วงโควิด-19 ระบาด อยากให้อาจารย์ช่วยเสนอแนะวิธีการปรับตัวในการเรียนออนไลน์ ให้น้อง ๆ หลาย ๆ คนได้เข้าใจหน่อยค่ะ
-สถานการณ์โควิด 19 ทำให้เราเห็นอย่างน้อย 2 มุม ที่เชื่อมกับการเรียนออนไลน์ มุมแรกผมคิดว่า มุมของการเรียนรู้ท่ามกลางความเหลื่อมล้ำ เราได้เห็นว่าสังคมไทยนั้นเป็นสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำทุกมิติ ในมิติการศึกษาก็มีความเหลื่อมล้ำ เช่นกันการเรียนออนไลน์ ในยุคโควิด 19 ยิ่งตอกย้ำความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่แล้ว เช่น การเข้าถึงอุปกรณ์การเรียน การเข้าถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ต สถานที่ในการเรียนก็จำกัด หลายครัวเรือนการไปโรงเรียนคือการเข้าถึงอาหาร แต่เมื่อเรียนที่บ้าน อาหารของครอบครัวก็ไม่เพียงพอ สภาวะแบบนี้ละครับที่เราต้องยอมรับให้ได้ก่อน เพื่อให้เราจัดลำดับของความสำคัญในการจัดสรรทรัพยากรของประเทศที่ถูกต้อง ไม่ปล่อยภาระการเรียนรู้เป็นเพียงของประชาชน
ส่วนมุมที่สอง มุมของโอกาส ในช่วงโควิด การเรียนรู้เพื่อพัฒนาพลเมืองของประเทศให้เป็นพลเมืองดิจิทัล นั้น ทำได้รวดเร็วขึ้น อย่างชัดเจน การสร้างสังคมการสื่อสารออนไลน์ การใช้สื่อและเนื้อหาการสอนแบบออนไลน์ การสร้างระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ การลงทุนกับระบบไร้สายขนาดใหญ่ การใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจถูกทำขึ้นและนำมาใช้มากขึ้น ว่าไปแล้วส่งเหล่านี้เราหวังให้เกิดขึ้นในประเทศเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมดิจิทัลที่ก่อตัวขึ้นทั่วโลกแล้ว
สถานการณ์โควิด-19 จึงเป็นตัวเร่งความเร็วให้สิ่งเหล่านี้เกิดเร็วขึ้นอย่างคาดไม่ถึง สังคมที่เราเรียกว่า New Normal กลายเป็น Now Normal ที่ทำไม่ได้ และในมุมนี้จะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตคนไทยตลอดไปแม้ว่าโควิดจะจบแล้วก็ตาม ดังนั้นผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้จะบังคับให้เกิดการปรับตัวขนาดใหญ่เรื่องการจัดการเรียนรู้รวมทั้งการออกแบบหลักสูตร และวิธีการเรียนรู้ในอนาคตด้วยครับ
"งี่เที่ยนถ่อง" ร้านยาสมุนไพรไทย-จีน ที่ก้าวผ่านยุคสมัยกว่า 4 เจนเนอเรชั่น บนถนนสายประวัติศาสตร์ย่านเมืองเก่าสงขลา
20 มิถุนายน 2568 | 508เปิดประวัติชีวิต" ปลัดแป้น" จากนักปกครองสู่ว่าที่นายกหาดใหญ่ ชีวิตที่ไม่ง่ายหลังลงสมัครนายกกว่า 2 สมัย
15 พฤษภาคม 2568 | 2,319"พี่ปุ้ย" สาวสองสู้ชีวิตผู้มีลีลาสาธิตการขายร่ม จนเป็นกระแสดังในโซเชียลทั้งไทยและมาเลย์
6 พฤษภาคม 2568 | 2,854"ครูทอง" ทายาทรุ่นที่ 3 ผู้สืบทอดภูมิปัญญาการปั้นหม้อยาวนานกว่า 100 ปี ของบ้านสทิงหม้อ อ.สทิงพระ
24 มีนาคม 2568 | 2,753“เชือกกล้วยตานี” จากของเหลือทิ้ง สู่ผลิตภัณฑ์สร้างรายได้ให้ชุมชนคูเต่า ภายใต้ชื่อ “กอร์ตานี”
19 มีนาคม 2568 | 2,418ชีวิตหลังเกษียณของอดีตฯ ผู้ว่าฯ สงขลา ผันตัวเองป็นเกษตรกรสวนทุเรียนกว่า 400 ต้น
3 มีนาคม 2568 | 23,403ตาผิน ผู้ประดิษฐิ์สิ่งของจากวัสดุธรรมชาติ สู่สินค้าโอท็อปประจำอำเภอรัตภูมิ
2 มีนาคม 2568 | 893"ธนกร"กุ้ยช่าย สูตรลับจากคุณแม่ที่ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน เลี้ยงครอบครัวกว่า 45 ปี ออเดอร์ไกลถึงสหรัฐฯ
6 กุมภาพันธ์ 2568 | 989