วัดคงคาวดีเดิมชื่อ“วัดปากบางภูมี” หรือหลาย ๆ คนเรียกว่า วัดหลวงพ่อสงค์ ตามชื่อเดิมของหมู่บ้านมีหลวงปู่สงค์ ศรีสุวรรณโณ ผู้มีชื่อเสียงในด้านคงกระพันชาตรีและเมตตามหานิยมเป็นเกจิอาจารย์ที่เป็นที่เคารพของชาวบ้าน วัดคงคาวดี ตั้งอยู่บนทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4053 (ควนเนียง-ปากบาง) หมู่ 3 บ้านปากบาง ตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
วัดคงคาวดีได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2455 วัดนี้มีสิ่งน่าสนใจอยู่ที่จิตรกรรมฝาผนังในศาลาการเปรียญหลังใหม่ซึ่งวาดโดยครูจูหลิง ปงกันมูลกับครูและเพื่อนนิสิตรวม ๗ คนเมื่อ พ.ศ. 2545 ในช่วงก่อนที่ครูจูหลิงจะสอบบรรจุเป็นครูศิลปะในจังหวัดนราธิวาสได้ วัดคงคาวดี มีจิตรกรรมทั้งในโบสถ์และในศาลาการเปรียญโดยเขียนไว้บนผนังด้านในบริเวณเหนือหน้าต่างทั้งสี่ด้าน
พ่อท่านสงค์ เป็นศูนย์รวมจิตใจที่ดึงดูดให้พุทธศาสนิกชนแวะมาทำบุญที่วัดแห่งนี้ไม่ขาดสาย ส่วนใหญ่มาขอพรและบนบานเรื่องต่างๆ วัดแห่งนี้ร่วมรื่นด้วยต้นไม้และมีศาลากลางน้ำที่สามารถให้อาหารปลา โดยจะทอนที่วัดหรือซื้อขนมปังต่างๆ มาจากข้างนอกก็ได้ ส่วนเรื่องแมวห้ามออกจากวัด ถึงขั้นติดป้ายไว้เลยทีเดียวเพราะมีการเล่าต่อกันมาว่า แมวคือสัตว์เลี้ยงที่หลวงพ่อรักมากและถ้าทุกคนที่ไปวัดก็จะเจอรูปปั้นน้องแมวเต็มไปหมด ฉะนั้นก่อนใครจะเอาออกไปต้องมีการบอกหรือถามก่อนเท่านั้น
หลวงพ่อสงค์ ศรีสุวรรณโณ (พ.ศ. 2470 - 2509) แห่งวัดคงคาวดี (ปากบางภูมิ) อ.ควนเนียง จ.สงขลา วัดคงคาวดี เดิมชื่อวัดปากบางภูมิ ตั้งอยู่ ต.รัตภูมิ อ.ควนเนียง จ.สงขลาสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2440 มีพระครูวิทยานุกูลกิตติมศักดิ์ (พ่อท่านสงค์ ศรีสุวรรณโณ) เจ้าอาวาสรูปที่ 4 เมื่อ พ.ศ. 2470 ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เดิมที่ท่านสงค์ก่อนอุปสมบทเป็นเสมียนอยู่ที่อำเภอหาดใหญ่ตั้งใจจะบวชเพียง 1 พรรษา โดยมีพระครูปราการศิลประกฤต (ท่านพระอาจารย์จูลิ่ม) แห่งวัดบางทิงเป็นพระอุปัชฌาย์
ท่านเป็นพระนักพัฒนาจะเห็นได้จากการสร้างถนน และโรงเรียนภายในวัดคงคาวดี โดยถนนเข้าวัดได้มีการร่วมมือกับชาวบ้านทำถนนระยะทาง 7 กิโลเมตร จากตลาดควนเนียงจนถึงวัดเพื่อให้บุตรหลานมาเล่าเรียนที่โรงเรียนวัดคงคาวดี โดยที่ท่านได้สร้างประโยชน์ให้วัดคงคาวดีตลอดมา และได้เลื่อนเป็นเจ้าคณะอำเภอรัตภูมิ และเป็นพระอุปัชฌาย์
พ่อท่านสงค์ มรณภาพวันที่ 5 มีนาคม 2509รวมอายุของพ่อท่านได้ 72 ปี รวมอยู่ในพรรษา 44 พรรษา สำหรับวัตถุมงคลที่พ่อท่านสงค์สร้างได้แก่ เหรียญรุ่นแรก ,ผ้ายันต์ ,พระรูปเหมือนเนื้อชันโรง พระขุนแผนเนื้อชันโรงหลังฝังใบลาน, พระขุนแผนหลังยันต์และพระสมเด็จ เนื้อว่านผสมกระดูกผี 7 ป่าช้า และ พระรูปเหมือนเนื้อว่าน ใต้ฐานยันต์อุณาโลม เป็นต้น
ขอบคุณภาพข้อมูล : เพจทางผีบอก
ย้อนเหตุการณ์...พิธีสมรสหมู่ ณ เมืองพัทลุง
10 พฤศจิกายน 2567 | 33ตามรอย 3 โรงสี เมืองสงขลา(บ่อยาง)
10 พฤศจิกายน 2567 | 52อีก 1 ตำนานเมืองหาดใหญ่ ตลาดสันติสุข-แผงทอง สวรรค์ของนักช็อปตัวยง
10 พฤศจิกายน 2567 | 78นกกรงหัวจุก สัตว์เลี้ยงคู่ใจของชาวปักษ์ใต้
3 พฤศจิกายน 2567 | 200ย้อนรอยโบราณ วัดโรงน้อยขึ้นพะโคะ สู่วัดโรง อ.กระแสสินธุ์
3 พฤศจิกายน 2567 | 158ตำนานแห่งสายน้ำ...การแข่งขันประเพณีเรือยาว (บางกล่ำ)
3 พฤศจิกายน 2567 | 176ชุมชนรังมดแดงสู่บ้านรำแดง(สิงหนคร)
20 ตุลาคม 2567 | 224ความทรงจำข้างกำแพงเมือง...182 แห่งการสถาปนาเมืองสงขลา(บ่อยาง)
20 ตุลาคม 2567 | 219